DSpace Repository

การศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมการเล่นหนังชักเงา : กรณีศึกษา หนังชักเงาภาคใต้ของไทยและหนังผีหญิ่งที่เถิงชง ยูนนานของจีน

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรพรรณ จันทโรนานนท์
dc.contributor.advisor Pornpan Juntaronanon
dc.contributor.advisor 刘丽芳
dc.contributor.author Yang, Rui
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
dc.date.accessioned 2022-09-03T16:19:42Z
dc.date.available 2022-09-03T16:19:42Z
dc.date.issued 2016
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/667
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2559 th
dc.description.abstract การวิจัยนี้ศึกษาการเปรียบเทียบวิธีการเล่นหนังตะลุงภาคใต้ของไทยและหนังผีหญิ่งที่เถิงชง ยูนนานของจีน และศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของการเล่นหนังชักเงาภาคใต้ของไทยและหนังผีหญิ่งที่เถิงชง ยูนนานของจีน โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารตำนานและบันทึกของการบอกเล่า รวมทั้งเก็บข้อมูลภาคสนามในเขตพื้นที่หมู่บ้านหลิวเจียจ้าย ตำบลกู้ตง อำเภอเถิงชง มณฑลยูนนานของจีน ระหว่างปี พ.ศ. 2557-2558 หนังชักเงาทั้งไทยและจีนเป็นมหรสพที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในจังหวัดภาคใต้ของไทยและเถิงชงยูนนานของจีน ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านประวัติและพัฒนาการ ผีหญิ่งของจีนมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 2,000 ปี ในสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ. 1911-2187) การเล่นผีหญิ่งเริ่มแพร่กระจายเข้าสู่เมืองเถิงชง พร้อมกับเหล่าทหารที่ไปปกป้องชายแดนของเมืองเถิงชง จากนั้นจนถึงปัจจุบันนี้ เหลือคณะเล่นอยู่เพียงคณะเดียวในมณฑลยูนนาน คือ คณะหลิวเจียจ้าย ที่ตำบลกู้ตง ซึ่งสืบทอดการเล่นผีหญิ่งมายาวนานกว่า 600 ปี ในส่วนของหนังตะลุงของจังหวัดภาคใต้ของไทยมีประวัติความเป็นมาประมาณ 200 ปี 2) ด้านประเภท หนังตะลุงของประเทศไทยได้แบ่งเป็น การเล่นหนังตะลุงเพื่อความบันเทิงและการเล่นหนังตะลุงเพื่อประกอบพิธีกรรม 2 ประเภท หนังผีหญิ่งหลิวเจียจ้าย ได้แบ่งเป็นตงเชียง (dong qiang) และซีเชียง (Xi chang) 3) ด้านวิธีการเล่นของหนังชักเงา ซึ่งนักวิจัยได้เปรียบเทียบจาก การตั้งโรงและจอ อุปกรณ์การเล่น เรื่องที่เล่น ดนตรี ช่วงเวลาที่เล่นและค่าจ้าง 6 ด้าน นอกจากนั้น หนังชักเงามีคุณค่าทำให้ชาวไทยและชาวจีนได้พักผ่อนหย่อนใจ ช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมและความรู้ ช่วยชาวบ้านได้เพิ่มรายได้ และช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ไทยจีนด้วย แต่ว่า เสื่อมความนิยมไปตามกาลเวลาอย่างรวดเร็ว เพราะปัจจัยต่างๆ เช่น วิถีบันเทิงที่เกิดขึ้้นใหม่ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ความเจริญทางเทคโนโลยี ความสามารถของนายหนังต่างๆ ทำให้การแสดงหนังชักเงาก็เริ่มน้อยลงไป th
dc.description.abstract This research was a comparative of shadow play cultures between Thai shadow play, Ta-loong, in southern provinces of Thailand and Chinese shadow play, Pi-yin, of Teng Chong District in Yunnan Province of People's Republic of China. Document of legends and oral records about these shadow plays were studied. Also, fiel trip interviews were made, during 2014-2015, in the area of Liu-jia-zhai village of Gu-dong Sub-district in Teng Chong, Yunnan of China. The findings were reported in three topics, which are: 1) History and development, which the origin of Pi-yin could be traced back over 2,000 years to Ming Dynasty (1368-1644 AD), while Ta-Loong had much shorter history, about 200 years, and was adopted from India. 2) Types or styles of the play, generally Ta-loong in southern provinces of Thailand had been performed in two occasions, for entertaining and being a part of ritual practices, while Pi-ying was distinguished as Dong-qiang (eastern accent) and Xi-qiang (western accent). 3) Techniques of performance, including stage or screen setting, props, plots, music, seasons of playing, and the commission. From their virtuous aspect, both Ta-loong and Pi-ying had been a type of Thai and Chinese recreations. They also played a part in acculturation, promoted cultural tourism, bringing incomes to the folks, and strengthened Thai-Chinese relationship as well. However, as fast changing technologies bombard lifestyles of nowadays people and skillful masters of these shadow plays are rate, the future of these artistic plays seem declining. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การละเล่น -- ไทย (ภาคใต้) th
dc.subject หนังตะลุง th
dc.subject เถิงชง (ยูนนาน) th
dc.subject Shadow Play th
dc.subject Ta-loong th
dc.subject หนังผีหญิ่ง th
dc.subject Pi-yin th
dc.title การศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมการเล่นหนังชักเงา : กรณีศึกษา หนังชักเงาภาคใต้ของไทยและหนังผีหญิ่งที่เถิงชง ยูนนานของจีน th
dc.title.alternative A Comparative Study of Shadow Play Cultures : A Case Study of Shadow Play in the Southern of Thailand and Teng Chong Yun Nan of China th
dc.type Thesis th
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account