การวิจัยเรื่อง ภาพสะท้อนสังคมไทยในรวมเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลของจำลอง ฝั่งชลจิตร มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมไทยในรวมเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลของจำลอง ฝั่งชลจิตร และเพื่อวิเคราะห์ปัญหาสังคมไทยและแนวทางแก้ไขปัญหาสังคมไทยในรวมเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลของจำลอง ฝั่งชลจิตร โดยศึกษาวิเคราะห์รวมเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลของจำลอง ฝั่งชลจิตร จำนวน 4 เล่ม รวม 48 เรื่อง และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ในรวมเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลของจำลอง ฝั่งชลจิตร สะท้อนภาพสังคมไทย 2 ด้าน ได้แก่ 1) ภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ พบว่า 1.1) ที่อยู่อาศัยของคนไทยในเมืองเป็นลักษณะทาวน์เฮ้าส์ ส่วนชนบทมีลักษณะเป็นบ้านหลังเดี่ยว 1.2) การประกอบอาชีพมีความหลากหลาย 1.3) การคมนาคมของไทยมีความพร้อมและสะดวกสบาย 1.4) จริยธรรม คนไทยมีจริยธรรมที่ดี คือ มีความกตัญญูและมีน้ำใจ 1.5) ครอบครัวไทยปัจจุบันมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น 2) ภาพสะท้อนด้านวัฒนธรรม พบว่า 2.1) อาหารไทยมีความหลากหลายของรสชาติ 2.2) ค่านิยมคนไทยมีความนิยมการทำบุญ รักชาติ และรักพระมหากษัตริย์ 2.3) ศาสนานับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก 2.4) ประเพณีไทยที่พบ ได้แก่ ประเพณีเกี่ยวกับสังคม ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ประเพณีท้องถิ่น และประเพณีหลวง 2.5) มารยาทไทย-การไหว้ เป็นเอกลักษณ์และเป็นมรดทางวัฒนธรรมของคนไทย ปัญหาสังคมไทยและแนวทางแก้ไขปัญหาสังคมไทยในรวมเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลของจำลอง ฝั่งชลจิตร พบว่า ปัญหาสังคมไทยมี 6 ด้าน ได้แก่ 1) ปัญหาด้านการจราจร มีปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหาอุบัติเหตุจากการผิดกฎจราจร และปัญหารถแท็กซี่ปฏิเสธผู้โดยสาร 2) ปัญหาครอบครัวไทย มีปัญหาเด็กถูกทอดทิ้ง ปัญหาการนอกใจคู่สมรส และปัญหาความยากจน 3) ปัญหาด้านการศึกษา มีปัญหาของนักเรียนและปัญหาของครูอาจารย์ 4) ปัญหาด้านอาชญากรรม มีปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ ปัญหาการโจรกรรมทรัพย์สิน และปัญหาการทำร้ายร่างกาย 5) ปัญหาด้านการเมือง มีปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นและปัญหาสงครามสีเสื้อ 6) ปัญหาการเล่นพนันมีผลกระทบต่อสังคมสูง ด้านแนวทางแก้ไขปัญหาสังคมไทยค่อนข้างน้อยมีแนวทางการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในการจราจร แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน แนวทางการแก้ไขปัญหาของนักเรียน แนวทางการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม และแนวทางแก้ไขปัญหาปัญหาสงครามสีเสื้อ ส่วนมากนักเขียนทิ้งปัญหาไว้ให้ผู้อ่านคิดหาแนวทางแก้ไขเอง ภาพสะท้อนสังคมดังกล่าวได้แสดงให้เห็นวิธีคิดของนักเขียนเกี่ยวกับสังคมที่อยู่กึ่งกลางระหว่างสังคมแบบเดิมกับสังคมสมัยใหม่ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปโดยยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เป็นอย่างดี ซึ่งแนวคิดนี้สัมพันธ์กับช่วงเวลาในยุคสมัยที่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น
This research of Reflections of Thai Society in the Collections of Awarded Short Stories of Chamlong Fangcholjitr aimed to analyze the reflections of Thai society, social problems and the solutions presented in Chamlong Fangcholjitr's awarded short stories. Four books of collections of the writer's awarded short stories, including 48 stories, were studied, and the findings were reported as a descriptive analysis. Reflections found in the study could be grouped into two areas, which were 1) ways of living and 2) the culture. Relating to ways of living, the writer reflected that most urban people lived in a townhouse, while rural people usually lived in a single house. The writer related to many carries of people and the convenient transportation. The outstanding Thai ethic, gratitude and consideration, and the trend of a single family were also presented. For the culture, five aspects were mentioned, which were: the tasteful Thai food; Thai values of making merits, patriotism, and royalism; the major religion of Buddhism; Thai traditions of the public, lives, the local, and the royal court; and the Thai etiquette of "Wai", a unique way of paying respect to others, which is a heritage and identity of Thai people. For social problems and the solutions in the short stories studied, six areas of problems were reflected, including 1) the serious struck of traffic; accidents caused by traffic rules offences; and passenger abundances by the taxi. 2) Family problems, which were abundant children; marital infidelity; and poverty. 3) Educational problems dealing with students and teachers. 4) Criminal problems, including sexual abuses; properties thefts; and bodily harms. 5) Political problems, which were corruptions and the colored-shirts protest. And 6) gambling, which highly affected the society. Dealing with the solutions, the writer mostly mentioned the problems and leaved the topics for readers to consider the ways out. However, some alternatives were suggested, such as traffic accidents; the problem of poverty; problems of students; criminal problems; and the colored-shirts protest. All reflections showed ideas of the writer toward the changing society from the old style to the modern one. The writer seemed agreeable with the rapidly changing society of the present days.