This study aims to investigate the compliment responses strategies employed by Myanmar in the United States of America (MA), the Republic of Singapore (MS) and the Republic of the Union of Myanmar (MM) under Kachru's Three Concentric Circles of English and to observe the similar and different use of strategies among three groups of Myanmar. A Discourse Completion Test is used as a research instrument, composed of 9 scenarios was distributed to three groups of 45 Myanmer participants in total to collect data. The study revealed that all three groups of Myanmar mostly accept the compliments. Individually, MA is the highest in accepting compliments while MM is the highest group in rejectingm evading ang giving any response. Lastly, MS is the highest in using non-verbal responses. The findings show that three strategies, "Returning Complimeent", "Question Accuracy" and "Request Reassurance" are used similarly by all participants. On the other hand, there are altogether six strategies, "Appreciation Token", "Agreeing Utterance", "Disagreeing Utterance" "Downgrading Qualifying Utterance", "Informative Comment" and "Non-Verbal Response" are differently employed by the participants. Three strategies, "Challenging Sincerity", "Shift Cresit" and "No Response" are regarded as special strategies that are unusally found in a few cases. This study aims to help people understand and learn more aboit Myanmer people and their use of compliment responses strategies which reflect Myanmar cultural and social value and to grease social harmony in communication with Myanmar people.
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการตอบรับคำชมของชาวพม่าที่อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ในวงภาษาอังกฤษทั้ง 3 กลุ่มของแคครู และเพื่อสังเกตกลวิธีการตอบคำชมที่เหมือนกัน และที่แตกต่างกันของชาวพม่าทั้ง 3 กลุ่ม ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดเติมบทสนทนา (DCT) ซึ่งประกอบด้วยสถานการณ์ 9 สถานการณ์ เก็บข้อมูลจากชาวพม่ากลุ่มละ 15 คน รวมทั้งหมด 45 คน โดยนำกรอบวิธีการตอบรับคำชมของโฮมส์ (1986, 1988) มาปรับใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล จากการศึกษา พบว่าชาวพม่าทั้ง 3 กลุ่มส่วนมาใช้กลวิธีการตอบรับ โดยชาวพม่าในประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้กลวิธีตอบรับสูงมากที่สุด ในขณะที่ชาวพม่าในสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าใช้กลวิธีการปฏิเสธ กลวิธีการหลีกเลี่ยง และกลวิธีไม่โต้ตอบ ชาวพม่าในสาธารณรัฐสิงคโปร์ใช้กลวิธีที่เป็นอวัจนภาษา นอกจากนี้ยังพบว่ากลวิธีที่ทั้ง 3 กลุ่มใช้เหมือนกัน คือ กลวิธีการชมกลับ การถามคำถามเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง การขอความมั่นใจ ขณะเดียวกันกลวิธีที่ทั้ง 3 กลุ่มใช้แตกต่างกัน คือ กลวิธีแสดงความซาบซึ้ง กลวิธีแสดงความเห็นด้วย กลวิธีแสดงความไม่เห็นด้วย กลวิธีการลดระดับความสำคัญของถ้อยความ กลวิธีแสดงความคิดเห็นต่อข้อมูล และกลวิธีการไม่ตอบสนอง นอกจากนี้ยังพบกลวิธีแสดงความจริงใจ และกลวิธีการให้ความเชื่อถือ การศึกษาครั้งนี้ ช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับชาวพม่า และการใช้กลวิธีการตอบรับคำชมซึ่งสะท้อนให้เห็นคุณค่าทางสังคม วัฒนธรรม และการสื่อสารกับชาวพม่า