DSpace Repository

การสืบทอดและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอ : กรณีศึกษา บ้านท่าฮ่อ ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

Show simple item record

dc.contributor.advisor อิมธิรา อ่อนคำ
dc.contributor.advisor Imthira Onkam
dc.contributor.author Sun, Shulei
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
dc.date.accessioned 2022-09-27T03:55:49Z
dc.date.available 2022-09-27T03:55:49Z
dc.date.issued 2022
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/759
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2565 th
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอบ้านท่าฮ่อ ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และวิเคราะห์การสืบทอดและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอบ้านท่าฮ่อ ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลทั้งจากเอกสารและการลงภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอบ้านท่าฮ่อรวมทั้งสิ้น 30 คน และนำเสนอผลการศึกษาวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอบ้านท่าฮ่อแบ่งเป็น 1) วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอบ้านท่าฮ่อ ซึ่งพวกเขายังคงรักษาและสืบทอดวิถีชีวิตตามแบบบรรพบุรุษของตนเอง เช่น ภาษา อาหารการกิน การแต่งกาย เป็นต้น แต่ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสังคมไทย 2) วัฒนธรรมด้านความเชื่อ รวมไปถึงความเชื่อเรื่องการเรียกขวัญ ความเชื่อเรื่องศาลผีประจำหมู่บ้าน ความเชื่อเรื่องผีหมอบ้าน และความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ซึ่งชาวลีซอกลุ่มนี้ยังคงนับถือและปฏิบัติตามความเชื่อเหล่านี้ได้อย่างเข้มแข็งในปัจจุบัน 3) วัฒนธรรมด้านประเพณี ชาวลีซอกลุ่มนี้ยังคงปฏิบัติตามประเพณีชีวิตและประเพณีสังคมจนถึงปัจจุบัน เช่น ประเพณีการเกิด การแต่งงาน ประเพณีที่เกี่ยวกับการตาย และประเพณีปีใหม่ลีซอ 4) วัฒนธรรมด้านภูมิปัญญาพื้นบ้าน ชาวลีซอยังคงสามารถรักษาศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพ การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงและเครื่องดนตรีประจำท้องถิ่นไว้ได้อย่างดี ส่วนการสืบทอดและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอบ้านท่าฮ่อประกอบไปด้วย 3 ด้าน คือ 1) การสืบทอดและการเผยแพร่วัฒนธรรมได้รับความร่วมมือจากครอบครัว ชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน สถานศึกษา และหน่วยงานภาครัฐ อีกทั้งโซเชียลมีเดียยังได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยสืบทอดและการเผยแพร่วัฒนธรรมด้วย 2) การเปลี่ยนแปลงและการผสมผสานวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอบ้านท่าฮ่อ พบว่า เนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปและการดำรงชีวิตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน จึงทำให้มีการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอกับสังคมไทยรวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์อื่นด้วย 3) ปัจจัยที่ทำให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงประกอบไปด้วย 5 ด้าน คือ นโยบายภาครัฐ การพัฒนาของเทคโนโลยี การศึกษา การประกอบอาชีพ การแต่งงานและการย้ายถิ่น ถึงแม้สังคมจะเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แต่กลุ่มชาติพันธุ์ลีซอบ้านท่าฮ่อยังคงรักษาและสืบทอดวัฒนธรรมของตนเองให้คงอยู่ได้ในปัจจุบัน th
dc.description.abstract This research article aims to study the cultural inheritance and cultural transformation of the Lisu ethnic group at Ban Thahor, Sai Khaaw Subdistrict, Phan District, Chiang Rai Province. This research is a qualitative study that examines document data, fieldwork research and uses participant and non-participant observation methods. The research used in-depth interviews from a sample of 30 people and presented the research results by descriptive analysis. The results showed that the culture of the Lisu ethnic group of Ban Thahor is divided into 1) The way of life of the Lisu ethnic group, Ban Thahor which they still maintain and inherit the way of life according to their own ancestors such as language, food, dress, etc., but at present, there has been a change in Thai society. 2) Belief culture including Belief in calling soul, The village spirit shrine, Doctor house ghost and Ancestor ghost. This group of Lisu people still strongly respect and practice these beliefs today. 3) Traditional culture, These Lisu people still follow life traditions and social traditions to the present day such as birth, marriage, death traditions and the Lisu New Year tradition. 4) Indigenous wisdom culture, Lisu people can still maintain folk arts and crafts, professional tools, folk games, performance and local musical instruments are well preserved. As for the inheritance and cultural change of the Lisu ethnic group, Ban Thahor consists of 3 aspects: 1) The inheritance and dissemination of culture have been made through the cooperation of families, communities, local scholars, educational institute and government agencies. Social media also plays an important role in helping to inherit and spread the culture. 2) The change and cultural integration of the Lisu ethnic group of Ban Thahor found that Due to the changing era and the way of living in the same area Therefore, there was a cultural integration between the Lisu ethnic group and Thai society, including other ethnic groups. 3) The factors that caused the change consisted of five areas: government policy, technology development, education, occupation, marriage, and migration. Even though today's society has changed and developed rapidly. But this Lisu ethnic group is still able to maintain and inherit their own culture today. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject ชนกลุ่มน้อย -- ไทย (ภาคเหนือ) th
dc.subject Minorities -- Thailand, Northern th
dc.subject กลุ่มชาติพันธุ์ -- ไทย (ภาคเหนือ) th
dc.subject Ethnic groups -- Thailand, Northern th
dc.subject ลีซอ -- ความเป็นอยู่และประเพณี th
dc.subject Lisu (Southeast Asian people) -- Social life and customs th
dc.subject พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม th
dc.subject Rites and ceremonies th
dc.subject การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม th
dc.subject Cultural change th
dc.subject บ้านท่าฮ่อ (เชียงราย) th
dc.subject Ban Thahor (Chiangrai) th
dc.title การสืบทอดและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอ : กรณีศึกษา บ้านท่าฮ่อ ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย th
dc.title.alternative Cultural and Inheritance Change of Lisu Ethnic Group : A Case Study of Banthahor, Saikhaaw Subdistrict, Phan District, Chiangrai Province th
dc.type Thesis th
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account