การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมเมือง ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาสังคมเมืองในละครโทรทัศน์ซิทคอม สุภาพบุรุษสุดซอย พ.ศ. 2561-2563 จำนวนทั้งหมด 139 ตอน และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า ภาพสะท้อนสังคมเมืองในละครโทรทัศน์ซิทคอม สุภาพบุรุษสุดซอย พ.ศ. 2561-2563 ทั้งหมดมี 5 ด้าน ได้แก่ 1) ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในสังคมเมืองที่อยู่อาศัยเป็นทาวน์เฮ้าส์ทันสมัยตามสไตล์ตะวันตก แสดงว่าคนในสังคมเมืองเป็นบุคคลที่มีฐานะปานกลาง มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี การแต่งกายของคนในสังคมเมืองมีการรับวัฒนธรรมการแต่งกายจากตะวันตก การแต่งกายตามแฟชั่นนิยม การแต่งกายยังเป็นการให้เกียรติ คนอื่น และการแต่งกายมีการผสมทางวัฒนธรรม มีการใช้ผ้าขาวม้าร่วมกับการใส่เสื้อเชิ้ตเพื่อแสดงการยอมรับวัฒนธรรมอื่นและขณะเดียวกันก็รักษาอัตลักษณ์ของตน การประกอบอาชีพในสังคมเมือง มีลักษณะเป็นไปตามความสามารถและการศึกษา มีทางเลือกมาก มีการแข่งขันที่สูง การคมนาคมสะดวกด้วยการเลือกได้หลายเส้นทาง ความบันเทิงของคนในสังคมเมืองสามารถหาได้ง่ายจากเทคโนโลยี ของเล่นสำเร็จรูป การท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และต่างประเทศ และงานเลี้ยงสังสรรค์ในหมู่เพื่อนและญาติมิตร 2) ความสัมพันธ์ของคนไทยในสังคมเมืองมีทั้งด้านดีและไม่ดี โดยนำเสนอผ่านครอบครัวตัวละครหลักและครอบครัวตัวละครรอง ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ที่ดีจากความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และใกล้ชิดกัน ที่ไม่ดีจากการไม่จริงใจและห่วงผลประโยชน์ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างครูกับลูกศิษย์ที่ดีจากความใกล้ชิดและจริงใจต่อกัน 3) วัฒนธรรมไทยในสังคมเมือง ความเชื่อยังเป็นแนวทางการกระทำของคนในสังคมเมือง และรูปแบบการจัดประเพณีเทศกาลง่ายขึ้น 4) คุณธรรมจริยธรรมของคนไทยในสังคมเมือง มีความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ มีความกตัญญูต่อพ่อแม่ มีความซื่อสัตย์ และใช้ชีวิตแบบพอเพียง และ 5) ค่านิยมของคนไทยในสังคมเมืองมีนิยมการศึกษาสูง การบริโภคนิยม นิยมรักความอิสระ และนิยมตัดสินคนจากภายนอกปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาสังคมเมืองในละครโทรทัศน์ซิทคอม สุภาพบุรุษสุดซอย พ.ศ. 2561-2563 ปัญหาสังคมเมืองได้พบทั้งหมด 3 ปัญหา ได้แก่ 1) ปัญหาสังคม 2) ปัญหาด้านคุณธรรม 3) ปัญหาของเด็กและเยาวชนแนวทางแก้ไขปัญหาสังคมเมืองได้พบทั้งหมด 6 แนวทาง ได้แก่ 1) การอธิบายสร้างความเข้าใจ 2) การใช้กฎระเบียบข้อบังคับ 3) การใช้สื่อมวลชน 4) การไม่เรียกร้องขอความรับผิดชอบ 5) การใช้หลักฐาน และ 6) การไม่ยอมแพ้
This research aimed to analyze problems and solutions of urban society reflected in the television sitcoms of The Gentleman at the End of the Alley broadcasted during 2018 – 2020, 139 episodes. Research findings were reported as a descriptive analysis. Five aspects of urban society presented in the sitcoms studied were 1) lifestyles of urban people, living in western style town-houses reflecting wellbeing middle class people; wearing fashionable western styles of clothes along with Thai local clothing showing the compromise between other culture adoption and conservation of Thai identity; high opportunity and competitiveness in professions; having convenient transportation; and easy acquiring of entertainment from technology, travelling and socializing. 2) Relationships, presented both positively and negatively between family members; friends; employers and employees; and teachers and students. The good relationships were caused by coordination, closeness and honesty, while the negative ones were spoiled by insincerity and advantages. 3) Urban Thai culture, beliefs could be seen in actions of urban people ,while traditional practices were conveniently performed. 4) Moral and ethics, compassion of urban people was shown through fellow creatures and animals; gratitude for parents, honesty, and sufficient ways of life were also presented. 5) Social values, high education; materialism; independence; and physical appearance were valued by urban people. For problems and solutions in urban society reflected in the sitcoms studied, three major problems were observed, including 1) social problems; 2) moral problems; and 3) children and juvenile problems. Six solutions for the problems were presented, including 1) understanding forming by discussion; 2) rules and regulations enforcement; 3) application of media; 4) no demanding for responsibility; 5) applying of evidence; and 6) persistence.