Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1013
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครอบครัวในชุมชนแขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors Related to Health-Promoting Behaviors of Families in Chlongmahanak Community Pomprabsutrupai Region, Bangkok Metropolitan
Authors: จริยาวัตร คมพยัคฆ์
ชฎาภา ประเสริฐทรง
ทวีศักดิ์ กสิผล
นภาพร แก้วนิมิตชัย
วิชุดา กิจธรธรรม
รัตนา สำราญใจ
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะพยาบาลศาสตร์
Keywords: การส่งเสริมสุขภาพ
Health promotion
ชุมชนแขวงคลองมหานาค
Chlongmahanak Community
ป้อมปราบศัตรูพ่าย (กรุงเทพฯ)
Pomprabsutrupai (Bangkok)
Issue Date: 2003
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของครอบครัว และ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครอบครัวในชุมชนแขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร จำนวน 433 ครอบครัว เก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมด้วยแบบสัมภาษณ์ที่ดัดแปลงจากแบบวัดแบบแผนสุขภาพในการดำรงชีวิตประจำวัน 2 ของวอล์คเกอร์ ซีคริสต์ และเพนเดอร์ 7 ด้าน และข้อมูลปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ คือปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ระหว่างเดือนมกราคม –มีนาคม 2545 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และของสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว ร้อยละ 77.0 ในจำนวนนี้อยู่คนเดียว ร้อยละ 37.1 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 71.3 อิสลาม ร้อยละ 26.3 สมาชิกในครอบครัวร้อยละ 48.9 มีโรคประจำตัว คือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ และภูมิแพ้ ครอบครัวได้รับความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพจากโทรทัศน์มากที่สุด คือ ร้อยละ 55.2 และความรู้ที่ครอบครัวนำไปปฏิบัติได้คือเกี่ยวกับอาหาร ร้อยละ 40.0 การออกกำลังกาย ร้อยละ 27.5 พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครอบครัวโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับดี แต่มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพรายข้อคือ การออกกำลังกาย การจำกัดอาหารเค็มและหวานจัด การคบเพื่อนใหม่ การปล่อยวางและงานอดิเรกอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพคือ ปัจจัยนำ ได้แก่ความรู้ ด้านการส่งเสริมสุขภาพและการรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับดี ยกเว้นด้านการรับรู้อุปสรรคอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ ความเชื่อมั่นถึงความสามารถในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และความสะดวกในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดี ยกเว้นการออกกำลังกายและการทำกิจกรรมร่วมกันอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยเสริม ได้แก่ จำนวนการได้รับแหล่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดี ส่วนภาวะสุขภาพของครอบครัวอยู่ระดับปานกลาง พบว่าปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครอบครัว
The objective of this survey-based research is to study the behavior of family health promotion and the factors that have relationship with the behavior of family health promotion in the community situated at Chlongmahamak, Pomprabsutrupai region, Bangkok Metropolitan. The total of 433 families were selected and interviewed with the questionnaires adapted from Health promoting lifestyle profiled II by Walker Sechrist and Pender 7 sides. The data factors that have relationship with the behavior of family health promotion are leading factor, aiding factor, and supportive factor with questionnaires created specifically by the researcher. This study was conducted between January-March 2002 and analyzed by using frequency distribution, percentage, means standard deviation. Pearson coefficient of correlation, and Spearman rank correlation coefficient. The study found that there are 77% single family structures in which 37.1% of those family members stay alone. In addition, there are 71.3% people observe Buddhism, 26.3% observe Islam. Interestingly, 48.9% of those family members have their own sickness such as high-blood pressure, diabetes, heart trouble, and asthma. There are 55.2% of those families perceived the knowledge about health plan promotion from television as main media. The knowledge that each family could put into practice are 40% of food knowledge and 27.5% of exercise guideline. The overall behavior of family health promotion and their income are in a good level. However, some behavior of health promotion such as exercise, too much salty or very sweet food limitation, new friend association, letting it be, and hobby are in a medium level. The factors that has relationship with the behavior of health promotion is predisposing factors such as the knowledge of health promotion and health status perception are in a good level except the perceived barriers are in a medium level. The enabling factors such as the efficacy and the convenience to health promotion practice are in a good level except the exercise and cooperative activities are in medium level. The reinforcing factor such as the number of information sources about the behavior of health promotion is in a good level. Nonetheless, the family health status is in a medium level. In sum, this found the significant relationship between predisposing factor, enabling factor, reinforcing factor, and the behavior of family health promotion.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1013
Appears in Collections:Nursing - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf303.37 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontent.pdf125.13 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf511.91 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf424.15 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf859.38 kBAdobe PDFView/Open
Reference.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.