Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/105
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำความผิดของผู้ต้องขังหญิงที่เป็นผู้ใช้แรงงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีเรือนจำกลาง จังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Factors Influencing Crimes Committed by Female Prisoners Workers : A Case Study of Samutprakarn Central Prison |
Authors: | จตุรงค์ บุญรัตนสุนทร Jaturong Boonyarattanasoontorn ชัยพร บุญเจริญ Chaiyapron Boonjarion Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | เรือนจำกลางจังหวัดสมุทรปราการ นักโทษหญิง แรงงานสตรี Women prisoners Women -- Employment |
Issue Date: | 1998 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ ต้องการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิด ผลกระทบที่มีต่อครอบครัวระหว่างถูกคุมขัง และความคาดหวังของผู้ต้องขังหลังพ้นโทษ ศึกษาเฉพาะนักโทษหญิงที่เป็นผู้ใช้แรงงานหญิงซึ่งถูกคุมขังในเรือนจำกลางจังหวัดสมุทรปราการ การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก ศึกษาเกี่ยวกับภาพรวมของนักโทษเด็ดขาดหญิงที่เป็นผู้ใช้แรงงานทังหมด ซึ่งมีอยู่ 92 คน ส่วนที่สอง เป็นการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกตัวอย่างที่เลือกจากฐานความผิด 10อย่าง ๆ ละ 1 ราย คือ ความผิดเกี่ยวกับการครอบครองยาเสพติด จำหน่ายยาเสพติด ลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ เป็นธุระในการจัดหาหญิงบริการ ค้าประเวณี และฆ่าคนตาย ส่วนที่สาม ศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่เรือนจำที่เกี่ยวข้อง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ แบบอุปนัย (Inductive) โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงรูปธรรมจากกรณีศึกษาที่คัดเลือก 10 กรณีมาสรุปเพื่อเปรียบเทียบกับกรอบแนวคิดที่กำหนดไว้ผลการศึกษาพบว่านักโทษเด็ดขาดหญิงส่วนใหญ่กระทำผิดในช่วงอายุ 26-30 ปี มีการศึกษาระดับประถมตอนปลาย มีพี่น้อง 4-6 คน สมรสแล้ว อาชีพรับจ้างทั่วไปเช่นเดียวกับสามี ภูมิลำเนาส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดสมุทรปราการที่เหลือกระจายอยู่ในจังหวัดอื่น ๆ ทั่วทุกภาค บิดามารดามีอาชีพทำไร่ทำนาและยังคงอยู่ด้วยกัน แต่มักมีสัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดีนัก ผู้ต้องขังหญิงส่วนใหญ่ออกจากบ้านมาตั้งแต่เด็กเพื่อมาทำงาน จากนั้นก็จะแต่งงานอยู่กับสามีและบุตรของตนเอง มักไม่มีเวลากลับไปเยี่ยมครอบครัวเดิม มีรายได้น้อยไม่พอกับค่าใช้จ่าย จึงต้องติดหนี้ยืมสินความผิดที่มีการกระทำมากที่สุด คือ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด รองลงมาเกี่ยวกับทรัพย์ ผลการศึกษาแบบเจาะลึกเป็นรายกรณี พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำความผิดมาที่สุดเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ คือ มีรายได้ไม่เพียงพอเนื่องจากต้องรับผิดชอบครอบครัว โดยลำพัง รองลงมาเป็นปัจจัยทางสังคม คือผู้ต้องขังเติบโตมาในครอบครัวที่มีสัมพันธภาพไม่ดีโดยมีบิดามารดาทะเลาะกันตลอด ไม่มีเวลาให้กับครอบครัว ถัดมาเป็นปัจจัยทางจิตใจ คือผู้ต้องขังเป็นคนเก็บกด เหงา ขาดความจริงใจจากคนรอบข้าง ทำให้ขาดการยับยั้งชั่งใจ ส่วนปัจจัยทางด้านกายภาพนั้น จากการศึกษานี้พบว่า ไม่มีอิทธิพบต่อการกระทำความผิด ข้อมูลจากผู้ต้องขังสรุปได้ว่า ในระหว่างถูกจับกุมครอบครัวได้รับผลกระทบมาก เช่นไม่มีผู้ดูแลบุตร สามีไปมีภรรยาใหม่ บิดามารดาไม่ได้รับการค่าเลี้ยงดู ด้านความคาดหวังเมื่อพ้นโทษ ผู้ต้องขังส่วนใหญ่ต้องการความรักความเข้าใจและต้องการพบหน้าครอบครัว จากนั้นจะหางานทำเพื่อมีรายได้ไว้ใช้สอยต่อไป สำหรับความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่เรือนจำที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังหญิงในด้านการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของผู้ต้องขัง กลไกในการจัดการกับผู้ต้องขัง ความคาดหวังของเจ้าหน้าที่เมื่อผู้ต้องขังพ้นโทษและมาตรการเพื่อลดปริมาณผู้ต้องขัง พบว่า ปัจจุบันผู้ต้องขังหญิงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากปัญหารายได้ไม่เพียงพอ ปัญหาครอบครัวแตกแยก และปัญหาการศึกษาต่ำ ด้านการจัดการกับผู้ต้องขัง ได้แก่ การรวบรวมประวัติความเป็นมาของแต่ละคนและจำแนกประเภท เพื่อประโยชน์ต่อการวางแผนให้การศึกษาอบรม บำบัดรักษา และฟื้นฟูจิตใจตามความเหมาะสมเป็นรายบุคคล โดยหวังว่าเมื่อผู้ต้องขังพ้นโทษแล้วจะกลับตัวเป็นคนดีไม่กระทำความผิดซ้ำอีก และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติเช่นคนทั่วไป เมื่อผู้ต้องขังใกล้จะรับการปล่อยตัวจะได้นำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการจัดการทำแผนปล่อยตัวผู้ต้องขัง และให้การสงเคราะห์ที่จำเป็นเพื่อให้สามารถร่วมกับสังคมภายนอกได้ ส่วนมาตรการในการลดปริมาณผู้ต้องขัง เจ้าหน้าที่เห็นว่าควรกำหนดโทษให้รุนแรงและเด็ดขาดมากขึ้นในแต่ละความผิดเพื่อป้องปรามการประทำความผิดจากผลการศึกษาดังกล่าว ผู้ศึกษาเสนอแนะว่า รัฐบาลควรมีมาตรการป้องกัน โดยมีแผนงานและโครงการที่ชัดเจนในการสร้างงาน และการสร้างรายได้ที่มั่นคง รวมทั้งควบคุมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน โดยเฉพาะการจ่ายค่าจ้างขึ้นต่ำแก่ผู้ใช้แรงงานอย่างยุติธรรมเสมอหน้า รณรงค์ให้ประชาชนให้ความสำคัญต่อสถาบันครอบครัว โดยเน้นให้บิดามารดาให้ความรักความอบอุ่น ความจริงใจและคำปรึกษาแนะนำบุตรหลานของตนเมื่อมีปัญหา สื่อมวลชนต่าง ๆ ควรเสนอข่าวเที่ยงตรงแต่ไม่ใช่เน้นความสะเทือนใจเพื่อขายข่าว ควรเน้นการสอดแทรกความรู้และจริยธรรมศีลธรรมให้มากเพื่อส่งเสริมขัดเกลาจิตใจคนไม่ให้ฟุ้งซ่านและลุ่มหลงอบายมุข เจ้าหน้าที่ตำรวจควรเข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย อาชญากรรม และโทษที่จะต้องได้รับเมื่อทำความผิด และประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ อีกทั้งควรเพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงขึ้นเพื่อป้องปรามการทำผิด The objective of this thesis is to find out the factors influencing crimes committed by female prisoners workers at Samutprakarn Central Prison and their expectations after being released. The study is divided into 3 phases. First is the overall picture of a group of 92 female convicted prisoners works. Second is the individual study of 10 cases from 10 convicted prisoners from 10 criminal aspect such as possession or selling of such drugs as heroin, theft, robbery, prostitute business and murder. Third is opinion interview of the officers who are concerned with those prisoners. Inductive analysis method is used in this study. For overall study, most of female prisoners are 26-30 of ages, with primary school education, general earners, 4-6 siblings, married to husbands of the same career. They mostly live in Samutprakarn while the rest scattered from other provinces. Their parents are farmers and still live together but not good relationship. Most of prisoners left home early to work and get married, then stay with their husband and children but scarcely visit their parents. With insufficient income, they have to borrow from the others to support their families. Most of the crimes are drug and property offenses respectively. An individual case study indicates that the most influential factors are, firstly, economic factor which is an insufficient income to support family, secondly, social factor which is a bad relationship in family by parent quarrelling, having no time to spent with family, finally, psychological factor which is tension, loneliness, having no sincerity from people around Which cause them untrust to others and untolerable to crime commitment, while physical factor has no influence. There are a lot of consequences to their families after being arrested such as nobody takeing care of their children and parents, their husbands find the new wives. Their expectations after being released are to be understood and accepted by communities and find a job to earn their. The opinion inter interview from prison officers reveal 4 important points : reasons for change in the number of female prisoners, management methods for them, expectation of officers after their release and measure to lower down the number of them. For the first point, the number of female prisoners are increasing due to economic pressure from insufficient income, social problem of collapsed families and inadequate educational background. Secondly, management method of collection and classification of individual information background should be employed seriously for the benefit of planning appropriate training, treatment and rehabilitation for each individual case to make them well prepared of start their new normal lives in the outside world and in their communities without repeating former track. Fourthly, they believe that penalty increase is suitable as a crime threatening measure. A recommendation are of more preventive than treatment measures such as government should have a clear planning in work creation and stable income guarantee for female workers to be equal to males. Parents should spend more time for their families, to take good care of their children and to give them proper advices whenever they are in troubles. Mass media should emphasize ethical responsibility instead of overstress emotional provocation in their publication. The police officers should disseminate the knowledge of criminal law, criminal process and its penalties to people especially those of the risky groups. Criminal laws should be updated and penalties should be increased for threatening. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2541 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/105 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
abstract.pdf | 486.38 kB | Adobe PDF | View/Open | |
tableofcontents.pdf | 398.45 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter1.pdf | 667.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter2.pdf | 3.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter3.pdf | 191.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter4.pdf | 728.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter5.pdf | 493.09 kB | Adobe PDF | View/Open | |
references.pdf | 313.78 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.