Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1052
Title: Constructing the Efficient Undergraduate Scaffolding of Listening- Speaking in English
Other Titles: การสร้างเสริมประสิทธิภาพด้านทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาตรี
Authors: Nutsakolpach Chouvorrasista
ณัทสกลพัชร เชาว์วรศิษฐ์
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Keywords: ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
English language -- Study and teaching (Higher)
Communicative competence
ความสามารถในการสื่อสาร
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ -- นักศึกษา
Huachiew Chalermprakiet University -- Students
ภาษาอังกฤษ -- การออกเสียง
English language -- Pronunciation
Issue Date: 2015
Publisher: Huachiew Chalermprakiet University
Abstract: This quantitative research aims to improve students’ language competency, focusing on the skills of listening, pronunciation, stressing, and speaking. Four different areas focus tools: “True Calling” (pronunciation), “Drop Me Off” (stressing), “Pick Me Up” (listening comprehension), and “Speak It Out” (speaking) were used to help students mitigate their weak learning areas and strengthen both receptive (listening) and productive (speaking) skills. Sixty-seven students in the Conversational English classes were chosen to be participants in this research. The first quarter of this research began with the pronunciation and stressing tools. Listening comprehension and speaking tools were stressed in the other three quarters. Prior to the experiment, TOEIC test were used as a pretest and post test to measure the participants’ listening comprehension competence and detect their progress after the experiment. Moreover, three different interviews to three American educators, who have had experience teaching and training English second language students from various corners of the world, were made at different times. The methodological aspects from the educators indicate successful concepts of teaching and also strategies for teachers to change/adjust/apply to their teaching. In addition, the questionnaire helped the researchers understand the participants’ background language competency and individual interests towards listening and speaking skills, including stressing and pronunciation. The results show the participants performed better in some areas, while there was less progress using certain tools. Yet, the participants still needed more time to concentrate on developing their language abilities. In further research, some factors should be focused more on the background environment, with native English speakers (as peers) and on more demanding immersion situations.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาของนักศึกษาโดยการเน้นทักษะการฟังการออกเสียง การเน้นเสียงหนัก-เบา และการพูดโดยใช้เครื่องมือ 4 ชนิด คือ "True Calling" (การออกเสียง) "Drop Me Off" (การเน้นเสียงหนัก-เบา) "Pick Me Up" (การฟัง) และ "Speak It Out" (การพูด) เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยลดจุดอ่อนในการเรียนของนักศึกษา และช่วยพัฒนาทักษะเชิงรับ (การฟัง) และทักษะเชิงปฏิบัติ (การพูด) อีกด้วย กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้คือนักศึกษาจำนวน 67 คน ที่เรียนในรายวิชาสนทนาภาษาอังกฤษ (The Conversational English) ในช่วงแรกของงานวิจัยเป็นการใช้เครื่องมือในการออกเสียง และการเน้นเสียงหนัก-เบา เครื่องมือในการฟังและการพูดนำมาใช้ในสามช่วงหลัง ก่อนการวิจัยมีการสอบ pre-test และ post-test โดยใช้ข้อสอบ TOEIC เพื่อวัดความสามารถด้านการฟังพูดของนักศึกษาก่อนการทดลอง และวัดความก้าวหน้าของกลุ่มตัวอย่าง หลังจากการใช้เครื่องมือทั้งหมดแล้ว มีการสัมภาษณ์ผู้ให้การศึกษาชาวอเมริกัน 3 ท่านที่มีประสบการณ์ในการสอน และการฝึกอบรมนักศึกษาที่ใช้ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่สองในหลายๆ แห่งทั่วโลก แนวคิดด้านระเบียบวิธีของผู้ให้การศึกษาเหล่านี้บ่งบอกถึงแนวความคิดที่ประสบความสำเร็จของการสอนและวิธีการสำหรับผู้สอนในการเปลี่ยน/ปรับ/ประยุกต์การสอนของตนเอง นอกจากนี้แบบสอบถามยังช่วยให้ผู้วิจัยรู้ภูมิหลังด้านความสามารถทางภาษา และความสนใจส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อทักษะการฟังและการพูดรวมทั้งการเน้นเสียงหนักเบาและการออกเสียง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างมีพัฒนาการในบางทักษะ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความก้าวหน้าน้อยในการใช้เครื่องมือบางอย่าง แต่ถึงกระนั้นกลุ่มตัวอย่างต้องการเวลามากกว่านี้ เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของตนเองในการศึกษาครั้งต่อไป ควรมีการพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมภูมิหลัง โดยผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ (เป็นผู้ประเมิน) และใช้สถานการณ์ที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างตั้งใจปฏิบัติมากขึ้น
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1052
Appears in Collections:Liberal Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NutsakolpachChouvorrasista.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.