Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1059
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสราวุธ สายจันมา-
dc.contributor.authorอุมาพร ทรัพย์เจริญ-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะเทคนิคการแพทย์th
dc.date.accessioned2023-01-16T08:29:13Z-
dc.date.available2023-01-16T08:29:13Z-
dc.date.issued1998-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1059-
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการศึกษานำร่องในการใช้ค่าชี้วัดทางโลหิตวิทยาที่ได้จากเครื่องนับเซลล์อัตโนมัติในงานประจำ เพื่อเป็นวิธีตรวจกรองพาหะของธาลัสซีเมียชนิดแอลฟา ในทารกแรกเกิดก่อนที่จะทำการตรวจยืนยันโดยวิธีมาตรฐานต่อไป ซึ่งการตรวจนับเม็ดเลือดด้วยเครื่องนับเซลล์อัตโนมัติ (electronic cell counter) ให้ค่าชี้วัดทางโลหิตวิทยาได้แก่ ปริมาณฮีโมโกลบิน (Hb) ปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hct) จำนวนเม็ดเลือดแดง (RBC count) ค่าเฉลี่ยปริมาตรเม็ดเลือดแดง (MCV) ค่าเฉลี่ยฮีโมโกลบิน (MCH) ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นฮีโมโกลบินภายในเม็ดเลือดแดง (MCHC) และค่าการกระจายตัวปริมาตรเม็ดเลือดแดง (RDW) ค่าชี้วัดเหล่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อการวินิจฉัยคัดกรองโรคธาลัสซีเมียได้ การศึกษานี้ได้ทำการตรวจเลือดจากสายสะดือทารกซึ่งคลอดที่โรงพยาบาลนครนายกจำนวน 490 ราย โดยใช้เครื่องนับเซลล์อัตโนมัติ และวิธี Hemoglobin (Hb) electrophoresis พบว่ามีทารกที่มีผลการตรวจอยู่ในเกณฑ์ปกติ จำนวน 460 ราย ทารกที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียชนิดแอลฟา (α thalassemia trait) จำนวน 30 ราย (ร้อยละ 6.12) และค่าชี้วัดทางโลหิตวิทยาในทารกที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียชนิดแอลฟา มีค่า Hb Hct MCV MCH และ MCHC ต่ำกว่าทารกปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนค่า RBC count และ RDW ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อวิเคราะห์ค่าชี้วัดในการจำแนกระหว่างทารกปกติกับทารกที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียชนิดแอลฟาโดยเปรียบเทียบกับผลการตรวจด้วยวิธี Hb electrophoresis พบว่าการวิเคราะห์แบบ single parameter MCH มีค่าความไว ค่าความจำเพาะและค่าประสิทธิภาพของการตรวจวิเคราะห์ร้อยละ 70.00, 87.81 และ 86.68 การวิเคราะห์แบบ Multi parameter พบว่าการใช้ MCH ร่วมกับ MCV มีค่าความไว ค่าความจำเพราะและค่าประสิทธิภาพของการตรวจวิเคราะห์ร้อยละ 70.00, 88.26 และ 87.10 และการวิเคราะห์โดยใช้ Discrimination index (DI) พบว่า DI= Hb/ RBC count มีค่าความไว ค่าความจำเพาะและค่าประสิทธิภาพของการตรวจวิเคราะห์ร้อยละ 70.00, 90.07 และ 88.79 ตามลำดับth
dc.description.abstractThe hematological parameters analyzed by electronic cell counter in routine work were potentially useful for screening α thalassemia trait in newborn prior to confirmation by the standard method. An analysis of blood cells by electronic cell counter provides several hematological parameters including hemoglobin (Hb) hematocrit (Hct), red blood cell count (RBC count) , mean corpuscular volume (MCV), mean corpuscular hemoglobin (MCH), mean corpuscular hemoglobin concentration (MCHC) and red blood cell distribution width (RDW). Comparison of these hematological parameters and hemoglobin (Hb) electrophoresis profiles in cord blood was evaluated by analysis of 490 cord blood samples from Nakornnayok Hospital. Results showed that 460 samples (93.88%) were within normal limit, 30 samples (6.12%) were α thalassemia trait. Statistical analysis of hematological parameters of the two groups showed that Hb, Hct, MCV, MCH and MCHC of α thalassemia trait were a significant decreased from normal (p<0.05), but no significant differences were observed in RBC count and RDW (p>0.05). Based on Hb electrophoresis profiles and MCH, It was found that the sensitivity, specificity and efficiency of hematological analysis were 70.00%, 87.81% and 86.68% respectively. When Hb electrophoresis profiles were compared with the combination between MCH and MCV, the results showed the sensitivity, specificity and efficiency of both hematological parameters of 70.00%, 88.26% and 87.10% respectively. In addition, the comparison of Hb electrophoresis profiles and the discrimination index (DI), Hb/ RBC count, showed the sensitivity, specificity and efficiency of DI of 70.00%, 90.07% and 88.79% respectively.th
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2541th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectธาลัสซีเมียในเด็ก-
dc.subjectThalassemia in children-
dc.subjectทารกแรกเกิด-
dc.subjectNewborn infants-
dc.subjectโลหิตวิทยา-
dc.subjectHematology-
dc.titleการตรวจหาพาหะของธาลัสซีเมียชนิดแอลฟาในทารกแรกเกิด โดยใช้ข้อมูลทางโลหิตวิทยาth
dc.title.alternativeDetection of α Thalassemia Traits by Analysis of Hematological Data in Newbornth
dc.typeTechnical Reportth
Appears in Collections:Medical Technology - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf234.82 kBAdobe PDFView/Open
tableofcontents.pdf187.87 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf179.73 kBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf358.34 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf392.26 kBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf226.34 kBAdobe PDFView/Open
references.pdf290.35 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.