Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/107
Title: | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางครอบครัว สังคม และสภาพแวดล้อมกับการควบคุมตนเองและการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียน : ศึกษาเฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | A Study on Family, Social and Environmental Factors Which Related to Self-Control and Improper Behavior of Students : A Case Study of Secondary School Students in Samut Prakarn Province |
Authors: | ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya ณัฐวัตร ลุณหงส์ Nattawat Lunhong Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | ความสัมพันธ์ในครอบครัว ครอบครัว -- ไทย การควบคุมตนเอง นักเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย -- สมุทรปราการ High school students -- Thailand -- Samut Prakarn Self-control Families -- Thailand |
Issue Date: | 2001 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางครอบครัว สังคมและสภาพแวดล้อมกับการควบคุมตนเองและการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียน : ศึกษาเฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางครอบครัวกับการควบคุมตนเองของนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางครอบครัว สังคมและสิ่งแวดล้อม การรับข่าวสารจากสื่อมวลชน และการควบคุมตนเองกับการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียน และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดสมุทรปราการข้อมูลทั่วไปของนักเรียน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีอายุ 14 ปี เป็นเพศชาย อาศัยอยู่กับบิดามารดา มีบิดามารดาเป็นผู้อบรมเลี้ยงดู และบิดามารดาอยู่รวมกันผลการศึกษาเรื่องการอบรมเลี้ยงดู นักเรียนได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมากที่สุด รองลงมาคือแบบลงโทษทางจิต แบบควบคุมน้อยและแบบใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ การอบรมเลี้ยงดูที่เด็กชายหญิงได้รับแตกต่างกัน คือ การอบรมเลี้ยงดูแบบลงโทษทางจิตมากกว่าทางกาย ซึ่งเด็กหญิงถูกลงโทษทางจิตมากกว่า และเด็กชายถูกลงโทษทางกายมากกว่า และการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมเด็กหญิงถูกควบคุมมากกว่าเด็กชายผลการศึกษาสัมพันธภาพในครอบครัว ครอบครัวของนักเรียนส่วนใหญ่มีสัมพันธภาพในครอบครัวค่อนข้างดี โดยครอบครัวที่มีบิดามารดาเป็นผู้อบรมเลี้ยงดูลูกร่วมกันมีสัมพันธภาพในครอบครัวดีที่สุด ผลการศึกษาปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน สิ่งแวดล้อมด้านเพื่อน สิ่งแวดล้อมในชุมชน สื่อมวลชนและแบบอย่างจากผู้ปกครอง พบว่านักเรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีในทุกด้าน และปัจจัยทุกด้านมีความสัมพันธ์กันผลการศึกษาด้านการควบคุมตนเอง พบว่านักเรียนมีการควบคุมตนเองเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าระดับการควบคุมตนเองสูงของนักเรียนมีความสัมพันธ์กับการที่นักเรียนได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมาก ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ ลงโทษทางจิตมากกว่าทางกาย และถูกควบคุมมากว่าควบคุมน้อย และมีสัมพันธภาพในครอบครัวดีจากการศึกษาพฤติกรรม 5 ด้านของนักเรียน ได้แก่ พฤติกรรมเกี่ยวกับการเรียน เกี่ยวกับครู อาจารย์ เกี่ยวกับสุขภาพ พฤติกรรมก้าวร้าว และพฤติกรรมอื่น ๆ ผลการศึกษาพบว่า นักเรียน มีพฤติกรรมที่เหมาะสมมากว่าพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทุกพฤติกรรม และพฤติกรรมของนักเรียนทุกพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กัน นอกจากนั้น ปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมทุกด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของนักเรียนทุกพฤติกรรมด้วย โดยนักเรียนที่มีสภาพแวดล้อมดีจะมีพฤติกรรมที่เหมาะสมด้วยผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของนักเรียนทั้ง 5 ด้านมีดังนี้-พฤติกรรมเกี่ยวกับการเรียน การมีเพื่อนดี ได้พบเห็นแบบอย่างที่ดีจากผู้ปกครองและมีการควบคุมตนเองสูง นักเรียนจะมีพฤติกรรมการเรียนที่เหมาะสม-พฤติกรรมเกี่ยวกับครูอาจารย์ การมีเพื่อนดี ได้พบเห็นแบบอย่างจากผู้ปกครอง อยู่ในสภาพแวดล้อมของชุมชนดี และมีการควบคุมตนเองสูง นักเรียนจะมีพฤติกรรมต่อครูอาจารย์ดี-พฤติกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ นักเรียนที่มีเพื่อนดี ได้เห็นแบบอย่างที่ดีจากผู้ปกครอง และถูกอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมมาก นักเรียนจะมีพฤติกรรมเกี่ยวกับสุขภาพดี-พฤติกรรมก้าวร้าว นักเรียนที่มีเพื่อนดี ได้พบเห็นแบบอย่างที่ดีจากผู้ปกครอง มีการควบคุมตนเองสูง และถูกอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ นักเรียนจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อย-พฤติกรรมอื่น ๆ เช่น การติดสารเสพติด ฯลฯ นักเรียนที่มีเพื่อนดี ได้พบเห็นแบบอย่างที่ดีจากผู้ปกครอง มีการควบคุมตนเองสูง และอาศัยอยู่ในครอบครัวมีสัมพันธภาพที่ดี นักเรียนจะมีพฤติกรรมอื่น ๆ ดีจากผลการศึกษา ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานการพัฒนาครอบครัวให้ความสำคัญกับการให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน และส่งเสริมกิจกรรมที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งในกับครอบครัว และเสนอแนะให้ทางโรงเรียนให้ความสำคัญ และดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับการเลือกคบเพื่อนของนักเรียน เพื่อที่จะสามารถตักเตือนและช่วยเหลือได้หากนักเรียนมีแนวโน้มที่จะเลือกคบเพื่อที่ไม่เหมาะสม This research aims to study 1) the improper behavior of students in public school in Samut Prakarn, 2) the relations of family factors with self-control of the students, 3) the relation of family factors, social and environmental factors, and students’ self-control with the improper behavior of students, and 4) factors effecting the students’ behaviors. Samples were 477 secondary school students in Samut Prakarn Porvince.Data analysis was done by SPSS/PC+ computer programs. Analised data was presented in percentage, means, standard deviation, one way analysis of variance, correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis. The result of the study are as followed: With the respect of child rearing, students mostly were brought up by love-support type, followed by psychological punishment type, less control type and using reason rather than emotion type. Girls received more psychological punishment than boys, but were controlled more strictly. On the study about family relationship, the students mostly had good relations, The families with good relations were those who had both fathers and mothers stayed together. On the study social and environmental factors, students mostly lived in good conditions of all factors of social and environment. Besides, every factor of social and environment are correlated. On the study about students’ self control, the students had moderately self-control. It’s also found that students who were brought up by love-support child rearing type, using reason rather than emotion type, psychological punishment type and strictly control type, including good family relations, had higher self-control.On the study about 5 behaviors of students, including learning behavior , behavior towards teachers, health behavior, aggressive behavior, and other behavior, most students behaved in moderately in every behavior. The results of the study on factors effecting behaviors of students are as followed: -Learning behavior : good friends, good model from parents and high self-control effected proper behavior about learning.- Behavior towards teachers : good friends, good model from parents, good community environment and high self-control effected proper behavior towards teachers. -Health behavior : good friends, good model from parents and brought up by strictly control type effected proper health behavior. - Aggressive behavior : good friends, good model from parents, brought up by using reason rather than emotion type and high self-control effected less aggressive behavior. - Other behavior : good friends, good model from parents, high self-control and good family relations effected proper other behavior. The results of the study provide suggestions for involved organizations to provide necessary information about child rearing techniques, promote activities to increase family relations, etc. to strengthen family relations. More specifically, education institute and schools pay more attention to student’s friendship in order to give advice to students in case they make wrong decisions to choose friends. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2544 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/107 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
abstract.pdf | 856.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
tableofcontent.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter1.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter2.pdf | 5.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter3.pdf | 856.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter4.pdf | 7.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter5.pdf | 815.59 kB | Adobe PDF | View/Open | |
references.pdf | 524.66 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.