Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1077
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการอบรมเลี้ยงดู การสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวทางสังคมของผู้ติดยาเสพย์ติด
Other Titles: The Comparison Study on Child Rearing Style, Social Support and Social Adjustment of Drug Abusers
Authors: พรรณปพร ลีวิโรจน์.
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม
Keywords: ยาเสพติด -- การป้องกัน
Substance abuse -- Prevention
คนติดยาเสพติด
Narcotic addicts
การสนับสนุนทางสังคม
Social Support
การเลี้ยงดูเด็ก
Child rearing
การปรับตัวทางสังคม
Social adjustment
Issue Date: 2000
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาเรื่องการอบรมเลี้ยงดู การสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวทางสังคมของผู้ติดยาเสพย์ติดมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการอบรมเลี้ยงดู การสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวทางสังคม ความแตกต่างของวิธีการอบรมเลี้ยงดูกับการปรับตัวทางสังคม และความแตกต่างของการสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวทางสังคม โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เคยติดยาเสพย์ติดในสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพย์ติด (บ้านพิชิตใจ) และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ จำนวน 150 คน ด้วยวิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยมากที่สุดได้รับการสนับสนุนทางสังคมระดับมาก และมีการปรับตัวทางสังคมอยู่ในระดับมาก ภาพรวมวิธีการอบรมเลี้ยงดูที่แตกต่างกันไม่ทำให้การปรับตัวทางสังคมแตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาแต่ละวิธีของการอบรมเลี้ยงดูกับการปรับตัวทางสังคมแต่ละด้านแล้วพบว่า วิธีการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้งมีผลทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความวิตกกังวล หวาดกลัวอยู่ในระดับสูงมากกว่าวิธีการอบรมเลี้ยงดูอื่น ๆ ส่วนระดับการสนับสนุนทางสังคมที่แตกต่างกันทำให้การปรับตัวทางสังคมแตกต่างกัน กล่าวคือระดับการสนับสนุนทางสังคมมากทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการปรับตัวทางสังคมแตกต่างกัน กล่าวคือระดับการสนับสนุนทางสังคมมากทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการปรับตัวทางสังคมมากแต่ถ้าระดับการสนับสนุนทางสังคมน้อยทำให้การปรับตัวทางสังคมน้อยตามมาด้วย และยังพบว่าระดับการสนับสนุนทางสังคมมีความผกผันกับการปรับตัวด้านความวิตกกังวล หวาดกลัว กล่าวคือ ระดับการสนับสนุนทางสังคมมาก ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีการปรับตัวด้านความวิตกกังวลหวาดกลัวน้อย แต่ถ้าระดับการสนับสนุนทางสังคมน้อยทำให้ระดับการปรับตัวด้านความวิตกกังวลหวาดกลัวมาก ดังนั้น วิธีการอบรมเลี้ยงดู และการสนับสนุนทางสังคม และการพัฒนาด้านพฤติกรรม ควรจะได้รับการพิจารณา โดยสถาบันทางสังคมที่เกี่ยวข้อง เช่นครอบครัว การศึกษา และองค์การ ภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนการพัฒนามนุษย์ และพฤติกรรมที่เหมาะสมระดับบุคคล
The study of the comparison study on child rearing style, social support and social adjustment of Drug Abusers was aimed at examining the child rearing style, social support and the level of the social adjustment. Additionally, the differences level of social adjustment of drug abusers who were raised and acquired social support differently were also explored. Data were collected, using structured questionnaires, from 150 drug abusers who were simply randomly selected from two rehabilitation centers for drug-addict (The Winner House) and Thunyarak-Hospital. The results indicated that most of samples were upbringing in democratic family and had high level of social support and social adjustment. Child rearing styles were not found to be significantly related to the overall level of social adjustment but after examining each dimension of the social adjustment the results showed that the negligent child rearing style had positive and significant relationship with the level of anxiety. The effects of the level of social support on the level of social adjustment were more pronounced. The social support was found to be significantly related to the overall level of social adjustment in the positive direction. More specifically, ones with higher level of social support were found to have higher level of social adjustment. Only one dimension of the level of social adjustment, the anxiety, had negative relationship with the level of social support which meaned that the higher the level of social support ones acquired, the lower the level of anxiety he had. Therefore, child rearing style, social support, and behavior modification should be more considered by involving social institution, such as family, education, and public and private organizations, for promoting of human development and appropriate behavior of an individual. "
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1077
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf274.32 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontent.pdf119.92 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf503.22 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf392.86 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Reference.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.