Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1090
Title: การประเมินสาเหตุที่ไม่ดำเนินการตามระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000) ของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: An Assessment of Causes and Effects in the Failure to Meet the Standard in Environmental Management Systems (ISO 14000) of Industrial Plants in Samutprakarn Province
Authors: วราภรณ์ กัลยาเลิศ
วีรอร วัดขนาด
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะบริหารธุรกิจ
Keywords: การจัดการสิ่งแวดล้อม
Environmental management
ไอเอสโอ 14001
ISO 14000 Series Standards
การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม -- การจัดการ -- มาตรฐาน
Environmental protection -- Standards
Issue Date: 2000
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: เนื่องจากในปัจจุบันพบว่าโรงงานส่วนใหญ่ในจังหวัดสมุทรปราการยังไม่มีการนำเอามาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000) มาใช้ จึงเป็นที่น่าสนใจว่าเพราะเหตุใดโรงงงานเหล่านี้จึงยังไม่มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 ซึ่งการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสาเหตุที่ไม่ดำเนินการตามระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000) ของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้แบบสอบถามในการสำรวจข้อมูลในด้าน ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดสมุทรปราการต่อการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000) ในแง่ของความต้องการ การเห็นประโยชน์ และปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้หน่วยงานยังไม่ยื่นขอ ISO 14000 นอกจากนี้ในแบบสอบถามยังได้มีการสำรวจความพร้อมขององค์ประกอบในส่วนต่าง ๆของโรงงานที่มีผลต่อการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000) ด้วย ช่วงเวลาที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ในช่วงเดือน มีนาคม ถึงเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2542 โดยได้ส่งแบบสอบถามไปยังโรงงานต่าง ๆ ที่อยู่ในจังหวัดสมุทรปราการทั้งสิ้น จำนวน 804 ฉบับ จำนวนแบบสอบถามที่ต้องการสำหรับใช้ในการคำนวณทางสถิติจำนวน 366 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 206 ฉบับ คิดเป็น ร้อยละ 56.28 ของจำนวนแบบสอบถามที่ต้องการสำหรับใช้ในการคำนวณทางสถิติ ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดสมุทรปราการต่อการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000) พบว่า ผู้บริหารของโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ร้อยละ 60.99 มีความเข้าใจ และเห็นประโยชน์ของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000) ในระดับที่ดี และร้อยละ 66.99 มีความเห็นด้วยว่าอยากให้โรงงานนำเอาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมาใช้โดยเร็ว ในขณะที่ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญที่ทำให้หน่วยงานยังไม่ยื่นขอ ISO 14000 ได้แก่ 1) ขาดการสนับสนุนด้านความรู้และเทคโนโลยีจากภาครัฐ (ร้อยละ 82.7) 2) งบประมาณของโรงงานในการดำเนินการตามระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 77.9) 3) ต้องใช้เวลาในการยื่นขอรับรอง ISO 14000 นาน และขั้นตอนการยื่นขอรับรอง ISO 14000 มีความยุ่งยาก ซับซ้อน (ร้อยละ77.0) 4) ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่จะมารับผิดชอบในส่วนของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงงาน (ร้อยละ 76.7) 5) หน่วยงานที่ให้การรับรอง ISO 14000 มีน้อยเกินไป (ร้อยละ 75.0) 6) เป็นความยุ่งยากของหน่วยงานที่จะทำความเข้าใจกับพนักงานทุกคนให้เห็นความสำคัญของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 71.9) 7) อายุของใบรับรองคือ 3 ปี สั้นเกินไป (ร้อยละ 71.6) 8) ไม่มีความแตกต่างในเรื่องของยอดขาย เมื่อเปรียบเทียบกับโรงงานประเภทเดียวกันที่ได้รับการรับรอง ISO 14000 (ร้อยละ70.8) 9) การดำเนินการตามระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก (ร้อยละ69.8) 10) ผู้บริหารขององค์กรยังไม่เห็นความสำคัญต่อระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 68.8) 11) ผู้บริหารหรือผู้ร่วมทุนกับหน่วยงานยังไม่ต้องการให้มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขึ้นในหน่วยยงาน (ร้อยละ 63.9) และ 12) ในขณะนี้ลูกค้ายังไม่ให้ความสำคัญต่อระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 60.4) จากการสำรวจความพร้อมขององค์ประกอบในส่วนต่าง ๆ ของโรงงานที่มีผลต่อการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เข้ามาตรฐานสากล ISO 14000 ของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดสมุทรปราการ โดยสำรวจในด้านความพร้อมของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม การวางแผนด้านสิ่งแวดล้อม การนำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติการตรวจสอบและปฏิบัติการแก้ไขแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม และการทบทวนแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมโดยฝ่ายบริหารของโรงงาน พบว่า 1) ความพร้อมของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม มีความพร้อมเท่ากับร้อยละ 65.1 อยู่ในระดับที่ ค่อนข้างดี 2) ความพร้อมของการวางแผนด้านสิ่งแวดล้อม มีความพร้อมเท่ากับ ร้อยละ 60 อยู่ในระดับที่ พอใช้ 3) ความพร้อมของการนำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ มีความพร้อมเท่ากับร้อยละ 53.3 อยู่ในระดับที่ พอใช้ 4) ความพร้อมในด้านการตรวจสอบและปฏิบัติการแก้ไขแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม มีความพร้อมเท่ากับร้อยละ 52.5 อยู่ในระดับที่ พอใช้ 5) ความพร้อมในด้านการทบทวนแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมโดยฝ่ายบริหารของโรงงานมีความพร้อมเท่ากับร้อยละ 48.2 อยู่ในระดับที่ ควรปรับปรุง สรุปโรงงานอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดสมุทรปราการ มีความพร้อมในด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม การวางแผนด้านสิ่งแวดล้อม การนำไปปฏิบัติ การตรวจสอบ และปฏิบัติการแก้ไขและการทบทวนโดยฝ่ายบริหารของโรงงานที่มีผลต่อการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000) ของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดสมุทรปราการ พบว่ามีความพร้อมเท่ากับร้อยละ 55.3 อยู่ในระดับที่ พอใช้
Most industrial plants in Samutprakarn province have not yet implemented the ISO 14000 (Environmental Management System). Several factors and problems seemed to inhibit the development of ISO 14000 implementation plan in the industrial plants. This research was aimed to reveal those problems and factors affecting the ISO 14000 development and implementation plan in the industrial plants. The research was conducted by the way of questionnaires for data collection. The data were collected from the factory managing directors. These included requirement to apply ISO 14000, understanding of ISO 14000 and problems of implementation. In addition other facilities in the plants that could effect the ISO 14000 development and implementation plans were also collected and analyzed. The period of data collection was in March to May 1999. A total number of 804 questionnaires was distributed. However a number of 366 questionnaires was required for an effectively statistical analysis. The number of returned questionnaires was 206 (56.28%). According to the managing directors' opinions, most of them 60.99% knew and understood the ISO 14000 concept well and realized the usefulness of ISO 14000 implementation. There were more than 66.99% of the plant that agreed to implement the ISO 14000 to their industrial business. However these industrial plants still had several problems to meet ISO 14000 criteria. These were, 1) lack of knowledge and technology supporting from government (82.7%), 2) lack of budget for developing (77.9%), 3) to get the ISO 14000 officially approved was so complicated and time consumed (77.0%), 4) lack of experienced personnel responsible for environmental management system (76.7%), 5) insufficiency of ISO 14000 official offices were available (75.0%), 6) great effort had to be put to encourage workers to understand the concept and benefit of ISO 14000 (71.9%), 7) the certified ISO certificate last too short (71.6%), 8) whether or not the ISO 14000 was implemented, there were no impacts on the marketing outcomes (70.8%), 9) to achieve ISO 14000 plan would cost a lot of money (69.8%), 10) managing directors did not know the benefit of ISO 14000 (68.8%), 11) managing directors and the board of administration did not want to apply ISO 14000 (63.9%), and 12) most consumers did not concern with environmental management system (60.4%). Regarding the readiness of the factories managing directors in the implementation of ISO 14000, questions were asked. These covered 1) environmental policy, 2) planning, 3) implementation and operation, 4) checking and correcting the action plan and 5) management review and improvement of the plan. It was revealed that 65.1% of the industrial plants had firmed policy, 60% had planning, 53.3% were ready to implement the strategic plan, 52.5% would be able to check and correct the environmental plan and 48.2% were capable of revising and improving the plan. Concerning the readiness of the factories managing directors in implementing the environmental management system to meet the ISO 14000, it could be concluded that the degree of readiness of most factories was 55.3%. It was not up to a satisfied level.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1090
Appears in Collections:Public and Environmental Health - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf396.97 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontent.pdf168.79 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf333.62 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf984.73 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf317.46 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf534.85 kBAdobe PDFView/Open
Reference.pdf660.92 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.