Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1102
Title: ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อข้อความโฆษณาและกิจกรรมส่งเสริมการตลาด
Other Titles: Perception of Mobile Phone Users with Advertising Text and Marketing Activitie
Authors: ธีระ ราชาพล
Teera Rachapol
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Communication Arts
Keywords: ข้อความโฆษณา
Advertising copy
โฆษณาทางโทรศัพท์เคลื่อนที่
Advertising, Mobile phones
การส่งเสริมการขาย
Sales promotion
Issue Date: 2015
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อข้อความโฆษณาและกิจกรรม มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อระดับศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อข้อความโฆษณาและกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ใช้บริการต่อข้อความโฆษณาและกิจกรรมส่งเสริมการตลาดบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ใช้ระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบเอไอเอส (AIS) ดีแทค (DTAC) และทรูมูฟ(True Move) ทั้งประเภทรายเดือนและเติมเงิน จ านวน 395 ตัวอย่าง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยใช้โปรแกรมส าเร็จรูป SPSS for windows หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t- test) ทดสอบค่าเอฟ (F-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance: ANOVA) สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ 1. ระดับความคิดเห็นของผู้ใช้บริการต่อข้อความโฆษณาบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ อยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.57, S.D. = 0.69) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสารและบริการต่าง ๆ ง่าย สะดวกและรวดเร็ว (x̄ = 3.88, S.D. = 0.84) ภาพสี ข้อความและเสียงในโฆษณาบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ท าให้เข้าใจในสินค้าและบริการการ มากยิ่งขึ้น (x̄ = 3.65, S.D.= 0.83) ภาพกราฟิกที่ประกอบในโฆษณาบนโทรศัพท์เคลื่อนที่มีสีสันสวยงาม (x̄ = 3.59, S.D. = 0.91) ตามลำดับ ข้อที่มีความคิดเห็น อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ โฆษณาบนโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความสร้างสรรค์ (x̄ = 3.46, S.D.=0.90) และข้อความ (ตัวอักษร) ในโฆษณาบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถดึงดูดความสนใจได้ (x̄ = 3.44, S.D.= 0.95)2. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาดบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการขายสินค้า/บริการ ด้านการขายบริการดาวน์โหลด ด้านการบริการข่าวสาร และด้านการส่งเสริมการขาย โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.65, S.D.= 0.70) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านการขายสินค้าและบริการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นให้ข้อโฆษณาบนโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความน่าเชื่อถือ อยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.94, S.D. = 0.92) ด้านขายบริการดาวน์โหลด พบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการให้โฆษณาประเภทการดาวน์โหลดต่าง ๆ มีความทันสมัย อยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.79, S.D. = 0.95)ด้านบริการข่าวสาร พบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการโฆษณาประเภทด้านการบริการข่าวสารรวดเร็ว ฉับไว ทันเหตุการณ์ อยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.90, S.D.= 0.90) ด้านการส่งเสริมการขาย พบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการให้มีโฆษณาประเภทส่งเสริมการขายด้านข่าวด่วนทันสถานการณ์ อยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.71, S.D.= 1.04) 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 3.1 ระบบเครือข่ายของโทรศัพท์เคลื่อนที่ แตกต่างกัน มีผลต่อความคิดเห็นใช้บริการข้อความโฆษณาและกิจกรรมส่งเสริมการตลาด แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3.2 ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ อาชีพ ที่แตกต่างกัน มีผลต่อความคิดเห็นใช้บริการต่อข้อความโฆษณาและกิจกรรมส่งเสริมการตลาด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.3 ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ย และภูมิภาค ที่แตกต่างกัน มีผลต่อความคิดเห็นใช้บริการต่อข้อความโฆษณาและกิจกรรมส่งเสริมการตลาด แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3.4 ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ ราคาโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่แตกต่างกัน มีผลต่อความคิดเห็นใช้บริการต่อข้อความโฆษณาแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.5 ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ ราคาโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่แตกต่างกัน มีผลต่อความคิดเห็นใช้บริการต่อกิจกรรมส่งเสริมการตลาด แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
The objective of this research paper – Perception of Mobile Phone Users for Text Advertisement and Marketing Promotion Activities – is to explore and compare the demands which mobile users in Thailand have for text advertising and for marketing promotion activities. The sample group of this study consists of 395 customers of the three main mobile phone operators in Thailand, namely AIS, Dtac and TRUE. Stratified random sampling has been used to select the sample for the study. Data is statistically analyzed by SPSS to find the percentage frequency distribution, mean values, and standard deviation. F-Test, T-Test and ANOVA (One-way Analysis of Variance) are also used to statistically analyze the data. The results from the study show, for example, that the level of demand of mobile phone users for text advertisement is high (x̄ = 3.57, S.D. = 0.69). The types of text advertisement which are highly demanded are respectively as follow: (a) convenient andeasy access to updated news and information (x̄ = 3.88, S.D. = 0.84); (b) colors of the pictures that come with the text advertisement and the audio text which help to understand more about the products and services (x̄ = 3.65, S.D.= 0.83); and the colorful graphic images that come with the text advertisement (x̄ = 3.59, S.D. = 0.91). The text advertisements that are moderately in demand are: creative advertisement (x̄ = 3.46, S.D.= 0.90) and plain text advertisement (x̄ = 3.44, S.D.= 0.95). The only finding from the hypothesis testing that shows significant result is the population demographic factors. The differences in the age and profession of the sample have a significant influence on the level of demand for the text advertisement and marketing promotion activities at the significant level α (p < 0.05).
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1102
Appears in Collections:Communication Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Teera-Rachapol.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.