Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1115
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการลงทุนในไทยของผู้ประกอบการชาวจีนในนิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน จังหวัดระยอง |
Other Titles: | Relational Factors toward Chinese Entrepreneurs Investment in Thai-China Industrial Real Estate in Rayong Province |
Authors: | ชุติระ ระบอบ อัญชลี สมบูรณ์ สุชาติ วัฒกานนท์ พิษณุ วรรณกูล Chutira Rabob Anchali Somboon Suchart Wattaganon Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Pitsanu Wannakul Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | การลงทุน -- ไทย Investments -- Thailand การลงทุนของต่างประเทศ -- ไทย Investments, Foreign -- Thailand ผู้ประกอบการ -- จีน Businesspeople -- China นิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน Thai-China Industrial Real Estate นิคมอุตสาหกรรม -- ไทย -- ระยอง Industrial districts -- Thailand -- Rayong |
Issue Date: | 2014 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | รายงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ทั่วไปเกี่ยวกับการลงทุนของผู้ประกอบการชาวจีนในนิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน จังหวัดระยอง วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการลงทุนในไทยของผู้ประกอบการชาวจีนในนิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน จังหวัดระยอง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งในเชิงปริมาณ สำหรับข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม และเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บริษัทข้ามชาติชาวจีนที่เข้ามาลงทุนจดทะเบียนในไทยจำนวน 47 บริษัท และจากการสัมภาษณ์จำนวน 15 บริษัท ที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบและการบริหารจัดการของบริษัท โดยใช้ค่าร้อยละและการแจกแจงความถี่ นำเสนอในรูปแบบตารางและพรรณนาลักษณะของข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการลงทุนในไทย โดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปตารางและแปลผล สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า สถานประกอบการชาวจีนส่วนใหญ่ลงทุนเอง และ 1 ใน 3 ได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของไทย สิ่งที่คาดหวังจากภาครัฐคือ ความยืดหยุ่นในกฎระเบียบ รองลงมาคือ การผ่อนปรนด้านภาษี และแนวโน้มในอนาคต 5 ปีข้างหน้าคือขยายการลงทุนเพิ่มขึ้นในไทย สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการลงทุนในไทย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์มากที่สุดจำนวน 3 ปัจจัยจาก 7 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านสาธารณูปโภค (x̄=3.64) ปัจจัยด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง (x̄=3.60) และปัจจัยด้านกฎระเบียบ/กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (x̄=3.59) สำหรับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ สถานประกอบการชาวจีนส่วนใหญ่บริหารในลักษณะทีมงาน มีการนำวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่และการสร้างเครือข่ายธุรกิจ สาเหตุสำคัญที่เข้ามาลงทุนไทยเนื่องจากได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอ และขยายฐานการผลิตมายังแหล่งงานที่มีทักษะและค่าจ้างแรงงานไม่แพง อุปสรรคที่สำคัญคือ พนักงานขาดความกระตือรือร้นและความมุ่งมั่นในการทำงาน ซึ่งควรได้รับการส่งเสริมทักษะให้ก้าวสู่มาตรฐานการปฏิบัติงานให้สูงขึ้น รวมทั้งการฝึกฝนด้านการวิเคราะห์และคำนวณ This research aimed to overview and analyze relational factors of Chinese entrepreneurs investment in Industrial Real Estate of Thailand. Research methodology were qualitative and quantitative. The data was collected by using questionnaires and interviews 47 samples and 15 managers from foreign direct investment from Chinese companies. Quantitative analyzes from general data were conduct using descriptive statistics, frequency, percentage, mean and standard deviation. The relational factors were conduct using mean, standard deviation. The results of the research finding were showed that almost company was self investment and 1 of 3 were in BOI’s promotion investment program. The flexible in regulation and taxation reduce are the company’s expectation and they hope to increasing investment in the next 5 years. The most relational factors are 3 in 7 factors were infrastructure factor (x=3.64), logistics and transportation factor (x=3.60) and regulation/related law (x=3.59). From interview almost company managed by teamwork and have modern management and network. The important result to investment in Thailand because of BOI promotion investment program and to extend production-base to Thailand because of skill labor and low wage. The problems were employee lack of enthusiastic lead to the government sector must to have training program for high standard of work including analytical thinking and calculation skills. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1115 |
Appears in Collections: | Business Administration - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chutira.pdf | 2.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.