Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1127
Title: | คุณลักษณะของนักศึกษาที่มีผลต่อความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Other Titles: | The Students' Qualifications Relating to the Readiness for ASEAN Community : A Case Study of Huachiew Chalermprakiet University |
Authors: | คณพศ สิทธิเลิศ ทวีโภค เอี่ยมจรูญ Khanapoj Sittilert Taweephok Iamjaroon Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts |
Keywords: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ -- นักศึกษา Huachiew Chalermprakiet University -- Students ประชาคมอาเซียน ASEAN Community ทักษะชีวิต Life skills การเตรียมพร้อม Preparedness |
Issue Date: | 2013 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาวิจัยเรื่อง คุณลักษณะของนักศึกษาที่มีผลต่อความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชุาคมอาเซียน : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นการวิจัยผสมระหว่างวิจัยเชิงปริมาณกับคุณภาพแต่เน้นเชิงปริมาณ ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของนักศึกษากับความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ศึกษาน้ำหนัก ความสำคัญคุณลักษณะของนักศึกษาในแต่ละด้านที่มีผลต่อความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และศึกษาเปรียบเทียบน้ำหนักความสำคัญคุณลักษณะของนักศึกษาในแต่ละด้านที่มีผลต่อความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่วิเคราะห์จากนักศึกษา 13 คณะวิชา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ระดับปริญญาตรี 13 คณะ จำนวน 450 คน ได้รับแบบสอบถามตอบกลับคืนมา จำนวน 438 คน คิดเป็นร้อยละ 97.3 ผลการวิจัย พบว่า คุณลักษณะของนักศึกษาด้านทักษะการเรียนรู้และการพัฒนาตน ทักษะพลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม ทักษะพื้นฐาน และเจตคติ มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่น 0.01 กับความพร้อมในการก้าวสู่เข้าประชาคมอาเซียนมีความสัมพันธ์เชิงบวก น้ำหนักความสำคัญคุณลักษณะของนักศึกษาด้านทักษะพลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม ทักษะการเรียนรู้และการพัฒนาตน และเจตคติ ที่มีผลต่อความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคงอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง ด้านทักษะพื้นฐาน ทักษะพลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม และทักษะการเรียนรู้และการพัฒนาตน ที่มีผลต่อความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง ด้านทักษะพลเมมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม และเจตคติ ที่มีผลต่อความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรมอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง ในการนี้ ด้านทักษะพลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม ทักษะพื้นฐาน เจตคติและทักษะการเรียนรู้และการพัฒนาตน ที่มีผลต่อความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับสูง คุณลักษณะของนักศึกษาในด้านทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่มีผลต่อความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่วิเคราะห์จากนักศึกษา 13 คณะวิชาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อศึกษาคุณลักษณะของนักศึกษาในด้านความรู้เกี่ยวกับอาเซียนที่มีผลต่อความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่วิเคราะห์จากนักศึกษาแต่ละชั้นปีการศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับด้านทักษะการเรียนรู้และการพัฒนาตน ด้านทักษะพลเมืองและความรับผิดชอบ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติไม่แตกต่างกัน แนวทางการพัฒนา รัฐบาลควรกำหนดนโยบาย มาตรการในเชิงการพัฒนาที่ชัดเจน และติดตามการดำเนินงานอย่างจริงจัง โดยมีการกำหนดแนวทางการพัฒนาการก้าวเข้าสู่อาเซียนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กอปรกับมหาวิทยาลัยและคณะ ควรพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อที่จะส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษา และอาจารย์ในประเทศประชาคมอาเซียน พัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้มีทักษะที่เหมาะสม เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เช่น ทักษะพื้นฐาน เป็นต้น จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาระดับมหาวิทยาลัย หรือจัดให้มีหลักสูตรอาเซียนศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเป็นรายวิชาอาเซียนศึกษาแบบบังคับในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจอาเซียน เข้าใจการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน The research on the Students' Qualifications Relating to the Readiness for ASEAN Community : A Case Study of Huachiew Chalermprakiet University is a mixture of both quantitative and qualitative researchs and especially focusing on the quantitative one. Its purpose are to figure out relationships between students' qualifications and their readiness for ASEAN Community, to study weights of each qualification concerning readiness, and to conduct a comparative analysis on each weight. The data of the research is based on the samples of 450 HCU undergraduate students enrolled in 13 faculties. There were 438 respondents who completed the questionnaires which is equivalent to 97.3%. The result of the study suggests that the qualifications namely learning & self-development skill, civillian & social-responsibility skill, basic, and attitude reflect a positive relationship at a medium level to the readiness for ASEAN Community at 0.01 level of statistical significance. Civilian & social-responsibility skill, learning & self-development skill, and attitude qualifications are surveyed to be on a medium level relating to the readiness for ASEAN Community in the aspects of politics and stability. Likewise, qualifications such as basic skill, civilian & social-responsibility skill, and learning & self-development skill are an a medium level relating to the readiness for ASEAN Community in the aspect of economy. Civilian & social-responsibility skill and attitude qualifications are on a medium level relating to the readiness for ASEAN Community in the aspects of society and culture. However, civilian & social-responsibility skill, basic skill, attitude, and learning & self-development skill qualifications are on a high level relating to the readniess for ASEAN Community in the overall picture. Qualifications of the student respondents enrolled in 13 faculties vary in terms of their basic skill and attitude. The level of statistical significance is at 0.05. Moreover, student respondents belong to different year levels have different levels of knowledge regarding ASEAN. The level of statistical significance is at 0.05. There is no significant difference for learning & self-development skill, civilian & social-responsibility skill, basic skill, and attitude qualifications. Regarding further development, it is suggested that government should lay out policies or measures of development and implement them; i.e. having a clear direction in its approach to ASEAN Community in the National Economic and Social Development Plan. At the same time, the university should develop and maintain an educational standard promoting relocation of students and teachers in ASEAN countries. Students' potentials such as basic skill should be strengthened in preparation for ASEAN Community. The university should establish an ASEAN Study Center or ASEAN Study Curriculum or ASEAN Study Subject (as a required subject in General Education) to provide students more learning opportunities in understanding how to live harmoniously with neighboring countries. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1127 |
Appears in Collections: | Liberal Arts - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Khonopoj-Sittilert.pdf | 6.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.