Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1152
Title: เทศกาลตรุษจีนเยาวราช : ภูมิหลังและพัฒนาการ
Other Titles: Yaowarat Chinese New Year Festival : Background and Development
Authors: แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย
ฤทธิชัย เตชะมหัทธนันท์
Sangaroon Kanokpongchai
Rithichai Techamahattanun
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Keywords: ตรุษจีน -- ไทย
Chinese New Year -- Thailand
เยาวราช (กรุงเทพฯ)
Yaowarat (Bangkok, Thailand)
Issue Date: 2016
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: พัฒนาการของเทศกาลตรุษจีนเยาวราช มีความสอดคล้องกับพัฒนาการของสังคมไทยในหลายบริบท ทั้งการเมือง เศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม ซึ่งแต่ละบริบทมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เฉพาะในงานวิจัยนี้เน้นศึกษาตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนตนเพราะเกี่ยวข้องกับความเป็นชุมชนจีนสําเพ็งยุุคสร้างกรุงเทพฯ ที่ต่อเนื่องมาถึงย่านเยาวราชอันก่อรูปในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทําให้เยาวราชเป็นย่านการค้าที่สําคัญที่สุดและสะท้อนความมีตัวตนของชาวจีนที่เด่นชัดทั้งที่เป็นวิถีชีวิต คติความเชื่อศิลปะ ประเพณีหรือลักษณะทางกายภาพไม่ว่าตึกรามบานช่องแผ่นป้ายโฆษณาภาษาจีน ตลอดสองฝั่งถนน เยาวราชจึงได้รับการเรียกขานอีกชื่อหนึ่งว่าไชน่าทาวน์เมืองไทยจากบันทึกในเอกสารสมัยรัชกาลที่ ๕ กล่าวถึง บรรยากาศเทศกาลตรุษจีนที่มีความคึกคักอยูไม่น้อยแต่หลังสิ้นสุดสงครามโลกคร้ังที่๒ เข้าสู่่ช่วงสงครามเย็น เทศกาลตรุษจีนในย่านเยาวราชจึงดำเนินไปอย่างเงียบๆ ในหมู่ครอบครัวและเครือญาติเพราะไม่ประสงค์จัดงานให้โดดเด่นจนเป็นที่เพ่งเล็งของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง จนในช่วงทศวรรษที่ ๒๕๓๐ เป็นต้นมา รัฐบาลเริ่มมีนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวประชาคมเยาวราชและหน่วยงานของกรุงเทพมหานครจึงดำริที่จะจดเทศกาลตรุษจีนเยาวราชเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมี ส่วนทำให้เทศกาลตรุษจีนเยาวราชมีชื่อเสียงอย่างมีคุณค่าในระดับนานาชาติที่น่าสนใจคือเกิดการสร้างสรรค์แบบแผนการจัดเทศกาลตรุษจีนที่ไม่เหมือนที่ใดในโลก ตั้งแต่ทศวรรษที่๒๕๓๐ จนถึงปัจจุบัน เช่น เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์เกี่ยวข้องกับเมืองหลวงของประเทศคือกรุงเทพมหานครและความเป็นชุมชนจีนเยาวราช เกี่ยวข้องกับความสัมพันธัทางการทูตไทย-จีน นํามาสู่พัฒนาการในหลากมิติเช่น แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ความเข้มแข็งของชุมชน การสืบทอดอาชีพของบรรพชน สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการศึกษาด้านจีนวิทยาอย่างกว้างขวาง เทศกาลตรุษจีนเยาวราชจึงนับเป็นตัวอย่างหนึ่งของการอนุรักษ์ที่ดําเนินคู่ขนานไปกับการพัฒนา
The development of Yaowarat Chinese New Year Festival is in connection with the development of Thai society in many ways including political, economic, and sociocultural aspects. Each aspect is closely related to one another. This research focuses on the Chinese community in Sampeng area during early Rattanakosin period when Bangkok city was established, continuing to the settlement of Chinese community in Yaowarat area which was founded in the reign of King Rama V as the most significant trading area of the country reflecting an eminent Chinese community in terms of people’s way of life, belief, arts, tradition, as well as physical features like household architectures and Chinese billboards along the street. Therefore, Yaowarat is generally accepted as Thailand’s China Town. According to an article mentioned about the Kingdom of Thailand in the reign of King Rama V, Chinese New Year at that time was seen as a lively celebration until the end of World War II in the period of Cold War when this festival became only an event among family members and relatives. Yaowarat Chinese New Year Festival; consequently, was celebrated quietly so as not to be outstanding and observed by authorities. However, later after 1987, the Thai government began its policy of promoting tourism and considered Yaowarat Chinese New Year Festival as stimulating the country’s economy. Also, Princess Maha Chakri Sirindhorn has been an important part in bringing Chinese New Year Festival in Yaowarat into an international recognition as a valuable and well-known annual event. Since 1987, Chinese New Year Festival in Yaowarat has been typically created to be a unique Chinese New Year celebration unlike any other countries in the world; for instance, a creative economic idea of annually designing clothes with Chinese zodiac year screens, community strengths, as well as occupational inheritance all of which have inspired a widespread educational trend of Chinese Studies. It can be said that Yaowarat Chinese New Year Festival is another example of a conservation conducted in parallel with a development.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1152
Appears in Collections:Liberal Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sangaroon.pdf4.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.