Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1161
Title: ผลของการบริโภคโปรไบโอติกต่อระดับไตเตอร์
Other Titles: Effects of Consuming Probiotic on the Anti-A and Anti-B Titers Level
Authors: วีรวรรณ ชาญศิลป์
สิณีนาฏ อุทา
กฤศธร องค์ติลานนท์
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะเทคนิคการแพทย์
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
Keywords: โพรไบโอติก
Probiotics
แอนติบอดีย์
Immunoglobulins
หมู่เลือด
Blood group
Issue Date: 2015
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคโปรไบโอติกกับระดับไตเตอร์ anti-A และ anti-B ผู้วิจัยและคณะได้ทําการเปรียบเทียบ ระดับไตเตอร์ anti-A และ anti-B ของกลุ่มตัวอย่างจํานวน 16 ราย ที่มีหมู่เลือด A, B และ O ก่อนและหลังการบริโภคนมเปรี้ยวที่มีจุลินทรีย์โปรไบโอติก และทําการเปรียบเทียบระดับไตเตอร์ของ anti-A และ anti-B ในกลุ่มผู้บริจาคโลหิตหมู่เลือด A, B และ O ที่มีการบริโภคโปรไบโอติกและไม่ได้บริโภคโปรไบโอติกโดยแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 50 ราย ผลการทดลองพบว่า ระดับไตเตอร์ anti-A และ anti-B ของกลุ่มตัวอย่างจํานวน 16 ราย ก่อนและหลังการบริโภคโปรไบโอติกไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p ≥ 0.05) และ ในกลุ่มผู้บริจาคโลหิตผลที่ได้พบว่า ค่าเฉลี่ย anti-A และ anti-B ในผู้บริจาคโลหิตหมู่เลือด B และ O ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p ≥ 0.05) แต่ผู้บริจาคโลหิตที่มีเลือดหมู่ A มี ค่าเฉลี่ยของ Anti-B ในผู้ที่บริโภคโปรไบโอติกสูงกว่าผู่ที่ไม่ได้บริโภคอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p=0.037) ผลการศึกษาในกลุ่มผู้บริจาคโลหิตชี้ให่เห็นว่า anti-A และ anti-B ในผู้บริจาคโลหิตที่บริโภคโปรไบโอติกมีระดับไตเตอร์สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้บริโภค อย่างไรก็ตาม anti-B ของผู้บริจาคหมู่ A ที่บริโภคโปรไบโอติกเท่านั้นที่มีระดับสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้บริโภค ทั้งนี้อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ภูมิคุ้มกันของในผู้ใหญ่อาจไม่ตอบสนองต่อโปรไบโอติกที่ได้รับโดยการรับประทาน (oral immunotolerance) ความหลากหลายของสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่ผู้บริจาคโลหิตได้รับ และจุลินทรีย์โปรไบโอติกที่ได้รับนั้นอาจมีผลต่อการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มในคนหมู่เลือด A, B และ O แตกต่างกัน ซึ่งจะต้องมีการศึกษาในเชิงลึกต่อไป
The aim of this study was to investigate the relation of the consumption of probiotics and anti-A and anti-B titers level. We compared the titer level of anti-A and anti-B in 16 case subjects of blood group A, B and O before and after consuming probiotic yogurt. Then we compared the titer level of anti-A and anti-B in 2 groups (50 subjects of each) of group A, B and O blood donors who consumed and did not consume probiotics. The results showed that there was no statistically significant difference (p ≥ 0.05) in the titer level of anti-A and anti-B from 16 subjects before and after consuming probiotics. There was no statistically significant difference (p ≥ 0.05) in the average titer level of anti-A and anti-B in group B and group O donors, while the average titer level of anti-B in group A donors who consumed probiotics was statisticallysignificant higher than those who did not consume probiotics (p = 0.037). The results suggested that the consumption of probiotics had no effect on the anti-A and anti-B titers level, except in group A donors. This might come from several factors such as the adult immune system might not respond to probiotics received from eating (oral immunotolerance), a variety of probiotics the donors received, and the received probiotics might have different effects on the immune system of each blood group which further studies might be needed.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1161
Appears in Collections:Medical Technology - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weerawan-Charnsilpa.pdf557.96 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.