Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1170
Title: ความสามารถในการสืบพันธุ์แบบข้ามสายพันธุ์ของเชื้อพิเทียม อินสิดิโอซัมที่แยกได้จากผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อม
Other Titles: Outcrossing Ability of Pythium Insidiosum Isolated from Patients and Environments
Authors: พัชรี กัมมารเจษฎากุล
จิดาภา เซคเคย์
นงนุช วณิตย์ธนาคม
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะเทคนิคการแพทย์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะแพทยศาสตร์
Keywords: Pythium insidiosum
พิเทียมอินสิดิโอซัม
การสืบพันธุ์
Reproduction
Issue Date: 2015
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: เชื้อพิเทียม อินสิดิโอซัมเป็นเชื้อ homothallic oomycetes การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของเชื้อชนิดนี้เกิดการผสมพันธุ์ในตัวเอง โดยทั่วไปแล้วในเชื้อที่เป็น homothallic จะมีความหลากหลายทางพันธุกรรมต่ำในกลุ่มประชากรเดียวกัน จากการศึกษาที่ผานมาพบว่าเชื้อพิเทียม อินสิดิโอซัมนี้ มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงมากในกลุ่มประชากรเดียวกัน จึงตั้งสมมติฐานว่าเชื้อชนิดนี้น่าจะมีความสามารถในการผสมพันธุ์แบบข้ามสายพันธุ์ได้ รายงานการวิจัยเรื่องความสามารถในการสืบพันธุ์แบบข้ามสายพันธุ์ของเชื้อพิเทียม อินสิดิโอซัมที่แยกได้จากผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อมนี้ เป็นการวิจัยพื้นฐานมุ่งศึกษาให้ทราบศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการสร้างเซลล์สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของเชื้อและศึกษาความสามารถในการสืบพันธุ์ แบบข้ามสายพันธุ์และการถ่ายทอดพันธุกรรมระหว่างเชื้อพิเทียม อินสิดิโอสัม โดยใช้การทดลองอาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมต่อการสร้างโอโอสปอร์ของเชื้อชนิดต่างๆ และทดสอบความสามารถในการสร้างโอโอสปอร์แบบอาศัยเพศแบบข้ามสายพันธุ์และตรวจยืนยันสายพันธุ์ของเชื้อลูกผสมที่ได้ด้วยวิธี microsatellite เทียบกบเชื้อตั้งต้นผลจากการวิจัย พบว่า potato dextrose agar และ cornmeal agar เป็นอาหารที่เหมาะสมสำหรับกระตุ้นให้เชื้อสร้างโอโอสปอร์ได้ เชื้อคู่ที่เหมาะสมกันและมีจีโนไทป์ แตกต่างกันได้ถูกเลือกและสามารถสร้างโอโอสปอร์เมื่อผสมข้ามสายพันธุ์ได้ ซึ่งพันธุกรรมของเชื้อลูกผสมตรวจพิสูจน์จากจีโนไทป์ ที่ได้จาก microsatellite 6 โลคัส จากการทดลองสนับสนุนสมมติฐานวาเชื่อชนิดนี้น่าจะมีความสามารถในการผสมพันธุ์แบบข้ามสายพันธุ์ได้
Pythium insidiosum is a homothallic oomycete, meaning that self-fertilization can occur in asingle isolate. It has been commonly assumed that homothallic organisms are inbreeding,resulting in a low rate of genetic variation in their populations. A previous study has shown that P. insidiosum populations exhibit a high rate of genetic variation, suggesting a possibleoutcrossing ability of the organism. Our study, titled “Outcrossing ability of P. insidiosumisolated from patients and environments”, is basic research focusing on optimal conditions foroospore production and the ability of outcrossing between isolates. Several crossing media havebeen tested for inducing oospore production, and microsatellite markers have been used toconfirm that outcrossing can occur between isolates of P. insidiosum. The results show that potato dextrose agar and cornmeal agar are suitable for stimulating oospore production. Two matching isolates displaying distinguished genetic patterns were co-cultured on media that allows the development of the sexual stage. Six microsatellite markers revealed genetic patterns of the selected oospore progeny, indicating potential hybridization between the two parental isolates. These results suggest that P.insidiosum may be capable of outcrossing.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1170
Appears in Collections:Medical Technology - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharee.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.