Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1189
Title: | คอมพิวเตอร์ อาร์ต : กรณีศึกษาผลงานศิลปะป๊อบอาร์ต ชุดภาพการเมืองของ แอนดี้ วาฮอล |
Other Titles: | Computer Art : A Case Study of Andy Worhol' s Political Paintings |
Authors: | จรุงยศ อรัณยะนาค Jarungyod Arunyanak Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Communication Arts |
Keywords: | วอร์ฮอล, แอนดี Warhol, Andy ศิลปกรรมกับคอมพิวเตอร์ Art and computers ป๊อปอาร์ต Pop art การเมืองกับศิลปกรรม |
Issue Date: | 2012 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | โครงการวิจัยหัวข้อ "คอมพิวเตอร์ อาร์ต : กรณีศึกษาผลงานจิตรกรรมการเมืองของแอนดี้วาร์ฮอล" มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์ในประเด็น แนวคิดการสร้างสรรค์ เนื้อหาเรื่องราว การใช้ดีและการจัดโครงสร้างของภาพในงานจิตรกรรมของวาร์ฮอล จำนวนทั้งสิ้น 21 ภาพ ซึ่งถูกคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยมีเกณฑ์การพิจารณาคือ เป็นผลงานที่มีเรื่องราวเกี่ยวก้บการเมืองเป็นผลงานที่มีชื่อเสียง มีรูปแบบการจัดโครงสร้างและการใช้สีที่โดดเด่น และแสดงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแอนดี้ วาฮอลได้อย่างชัดเจน ผลการวิจัยพบว่า วาร์ฮอลมีแนวคิดในการสะท้อนสภาพสังคมการเมืองของอเมริกาและประเทศอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้คน เนื้อหาเรื่องราวของภาพส่วนใหญ่เกี่ยวกับภาพบุคคล วัตถุและเหตุการณ์ตามลำดับ การใช้สีส่วนใหญ่จะใช้สีที่มีความเป็นสีแท้จัด มีความสดของสีที่รุนแรงและมีค่าน้ำหนักของสีที่เข้ม ส่วนประเด็นเรื่องการจัดโครงสร้างของภาพนั้น วาร์ฮอลนิยมสร้างจุดเด่นให้กับภาพมากที่สุด รองลงมาก็คือสัดส่วน ดุลยภาพและจังหวะตามลำดับ จากการศึกษาวิเคราะห์ภาพต่างๆ ดังกล่าว ผู้วิจัยนำผลมาพัฒนาสร้างสรรค์เป็นผลงานคอมพิวเตอร์อาร์ต จำนวน 10 ชิ้น โดยมีแนวคิดในการสะท้อนบริบทการเมืองไทยและต่างประเทศ แต่จะมุ่งเน้นสังคมการเมืองไทยเป็นหลัก เนื่องจากเป็นบริบทที่มีผลกระทบต่อวิถีการดำรงชีวิตของผู้วิจัยโดยตรง เนื้อหาเรื่องราวของภาพส่วนใหญ่เกี่ยวกับภาพบุคคล วัตถุและเหตุการณ์คล้ายกับของวาร์ฮอล การใช้สีส่วนใหญ่จะใช้สีที่มีความเป็นสีแท้จัด มีความสดของสีที่รุนแรงและมีค่าน้ำหนักของสีที่เข้มคล้ายกับผลงานของวาร์ฮอลเช่นกัน อย่างไรก็ตามผลงานของผู้วิจัยจะปรากฏถึงการไล่ค่าน้ำหนักของสีมากกว่า เนื่องจากธรรมชาติของสื่อที่สร้างสรรค์ด้วยคอมพิวเตอร์และซิลค์สกรีนนั้นมีความแตกต่างกัน ด้านการจัดโครงสร้างของภาพนั้น จะใช้การสร้างจุดเด่นในภาพมากที่สุด รองลงมาคือ ดุลยภาพ จังหวะและสัดส่วนตามลำดับ จากการบูรณาการแรงบันดาลใจที่ได้รับจากวาร์ฮอล เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และกระบวนการพิมพ์ในปัจจุบัน ทำให้กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานมีความรวดเร็วและยืดหยุ่นมากกว่า นอกจากนี้การผลิตซ้ำก็สามารถทำได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น The aim of the research project 'Computer art : A case study of Andy Warhols political aintings( is to study and analyze concept, content, color use, and composition in Warhols paintings. Twenty one painting were selected according to various criteria including their political theme, how well known they were, the salience of their composition and color use, and their representativeness of the artists style. The analysis indicated the main concepts in the selected paintings reflectedsocial and political concerns relevant to people in the United States of America and other countries. Most of the content comprises portraits, objects and situations. The majority of the colors were used with extreme hue and strong intensity and shade values. In terms of composition, the most common composition features used were emphasis, proportion, balance and rhythm, in that order. Using the analysis of the above-mentioned paintings, the researcher created 10 computer artworks. The main concept was to reflect the political context in Thailand and other countries, though mainly focused on Thailand. This is because Thai political context directly impacts on the researchers way of life. Most of the content comprised portraits, object and situations, similar to Warhols paintings. The majority of the colors were used with extreme hue and strong intensity and shade values. This is similar again to Warholss paintings. However, gradient colors appeared more in the researchers artworks because of the nature of the computer medium compared to the silk screen technique used by Warhol. In terms of composition, the most common composition style applied was emphasis, balance, proportion and rhythm. By the integration of current computer technology and advanced printing systems, these computer artworks were created more quickly and more flexibly. In addition, subsequent artwork reproduction can be made more easily and conveniently. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1189 |
Appears in Collections: | Communication Arts - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jarungyod-Arunyanak.pdf | 11.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.