Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1196
Title: ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบนำตนเองเพื่อสร้างการเรียนรู้รอบด้าน รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน : กรณีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: The Effectiveness of Self-Directing Learning for Holistic Practice of Nursing Student : Case Study from Community Nursing Practicum Subject, Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakiet University
Authors: กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม
วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย
หทัยชนก บัวเจริญ
Kamonthip Khungtumneum
Vanida Durongrittichai
Hathaichanok Buajaroen
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะพยาบาลศาสตร์ -- นักศึกษา
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing -- Students
การพยาบาลอนามัยชุมชน -- การศึกษาและการสอน
Community health nursing -- Study and teaching
การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง
Self-managed learning
Issue Date: 2016
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดซ้ํานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบนําตนเองเพื่อสร้างการเรียนรู้รอบด้าน รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนต่อการรับรู้ความสามารถในการนําความรู้ทฤษฎีไปใช้ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน การรับรู้ความสามารถในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนและการรับรู้สมรรถนะตนเองในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน กลุ่มทดลอง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จํานวน 78 คน กลุ่มควบคุม คือ นักศึกษาชั้นปีเดียวกัน 113 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแผนการจัดการเรียนการสอนแบบนําตนเอง 4 แผน ๆ ละ 1 สัปดาห์ คือ (1) การประเมินชุมชน (2) การวินิจฉัยปัญหาชุมชน (3) การวางแผนและดําเนินกิจกรรมพัฒนาสุขภาพชุมชน (4) การประเมินผลการดําเนินงานพัฒนา สุขภาพชุมชนและแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และความเชี่ือมั่น α– Coefficient ทั้งฉบับเท่ากับ 0.954 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีและ Paired t-test ผลวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมส่วนมากเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 94.8, 92.9) อายุ 22-23 ปี (ร้อยละ 76.4, 73.4) เกรดเฉลี่ยสะสม 2.50 - 3.00 (ร้อยละ 53.9, 52.2) รับรู้ ความสามารถตนเองในการนําความรู้ทฤษฎีไปใช้ฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนที่ 7- 8 คะแนน มากที่สุด (ร้อยละ 60.2, 56.6) รับรู้ความสามารถตนเองในการฝึกปฏิบัติวิชานี้โดยรวมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.73, 3.74) รับรู้สมรรถนะตนเองในการฝึกปฏิบัติวิชานี้โดยรวมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.88, 3.96) ทั้งลักษณะส่วนบุคคล การรับรู้ความสามารถตนเองและการรับรู้สมรรถนะตนเองก่อนฝึกปฏิบัติแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ หลังจัดการเรียนการสอนแบบนําตนเองพบว่าค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถในการนําความรู้ ทฤษฎีไปใช้ของกลุ่มควบคุม (x ̄ 8.41) สูงกว่ากลุ่มทดลอง (x ̄ 7.96) อย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .001 การรับรู้ความสามารถและการรับรู้สมรรถนะในการฝึกปฏิบัติของกลุ่มควบคุม (x ̄ 4.16, 4.23) สูงกว่า กลุ่มทดลอง (x ̄ 4.05, 4.14) อย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถในการนําความรู้ทฤษฎีไปใช้ (คะแนนเฉลี่ยก่อนใช้การเรียนแบบนําตนเอง 7.60, คะแนนเฉลี่ยหลังใช้การเรียนแบบนําตนเอง 7.96, p = 0.005 ) การรับรู้ความสามารถ (คะแนนเฉลี่ยก่อนใช้การเรียนแบบนําตนเอง 4.05, คะแนนเฉลี่ยหลังใช้การเรียนแบบนําตนเอง 3.74, p = 0.000) และการรับรู้สมรรถนะตนเองในการฝึกปฏิบัติ (คะแนนเฉลี่ยก่อนใช้การเรียนแบบนําตนเอง 4.05, คะแนนเฉลี่ย หลังใช้การเรียนแบบนําตนเอง 3.74, p = 0.000) ของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนใช้การจัดการเรียน การสอนแบบนําตนเองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001การวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรกําหนดวิธีเรียนแบบนําตนเองในผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง กิจกรรมและวิธีวัดประเมินผลในทักษะการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ของวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน รวมทั้งกําหนดเป็นสมรรถนะชั้นปีของนักศึกษาที่แสดงถึงการใช้ความรู้ทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง
The objectives of two group experimental research were to study the effectiveness of self-directing learning for holistic practice of nursing student in Community Nursing Practicum Subject to 1) perception in applying knowledge to practice 2) perception their capabilities 3) perception their self-efficacy. 78 nursing students were in experimental group and 113 nursing students were in control group. The questionnaire were self-directing learning program and questionnaire which validated by experts. The self-directing learning program was employed each week: 1) community assessment, 2) community diagnosis, 3) planning and implementing community development program, and 4) program evaluation. The questionnaire was employed (α– Coefficient 0.954). The research data was analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test,and paired t-test. The results showed that most of the experiment and control group were female (94.8%, 92.9%), age 22-23 (76.4%, 73.4%) G.P.A. 2.50 - 3.00 (53.9%, 52.2%). Most of them perceived their capabilities in applying knowledge to practice in Community Nursing Practicum Subject at score 7-8 (60.2%, 56.6%), perceived their capabilities in practice in high level ( ̄x 3.73, 3.74), perceived their efficacy in practice in high level ( ̄x 3.88, 3.96). Personal characteristics, perceived capabilities, and perceived self-efficacy of both experimental and control group before applying knowledge to practice were not significantly different. After applying knowledge to practice, the control group had mean of perception in their capabilities related to applying knowledge significantly higher than experimental group (x ̄ 8.41, 7.96) (p = .001), mean of perception in their capabilities in practicum and their self-efficacy non-significantly (x ̄ 4.16, 4.23) higher than experimental (x ̄ 4.05, 4.14 ). The mean of perceptionin applying knowledge (x ̄ before 7.60, (x ̄ after 7.96, p = 0.005 ), perceived capability in practice (x ̄ before 4.05, x ̄ after 3.74, p = 0.000), and perceived se-f-efficacy in practice (x ̄ before 4.05, x ̄ after 3.74, p = 0.000) of experimental group statistic significantly higher than control group. The research suggestions were self-directing learning for holistic practice should assign in expected learning outcome, learning activities, and evaluation activities in learning skill domains of Community Nursing Practicum Subject. Also, self-directing learning efficacy should be determined in each year of nursing student to convey the knowledge could be applying to practice efficiently.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1196
Appears in Collections:Nursing - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kamontip-Khungtumneum.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.