Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1199
Title: | การดัดแปลงวิธีอิมมูโนเพอร์ออกซิเดส สำหรับตรวจหา แอนติบอดีชนิด IgM ต่อเชื้อเลปโตสไปรา |
Other Titles: | Modification of Indirect Immunoperoxidase for Leptospiral IgM Antibody Detection |
Authors: | ศราวุธ สุทธิรัตน์ ทวีพร พันธุ์พาณิชย์ อิสสริยา เอี่ยมสุวรรณ สุรศักดิ์ หมื่นพล Sarawut Suttirat Taweebhorn Panpanich Isariya Ieamsuwan Surasak Muenphon Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Medical Technology Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Medical Technology Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Medical Technology Regional Medical Sciences Center, Udonthani |
Keywords: | เลปโตสไปโรซิส Leptospirosis แอนติบอดีย์ Immunoglobulins เลปโตสไปรา Leptospira อิมมูโนเพอร์ออกซิเดส Immunoperoxidase |
Issue Date: | 2009 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | ทำการดัดแปลงวิธีอินไดเร็คอิมมูโนเพอร์ออกซิเดส (IIP) สำหรับตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM ต่อเชื้อเลปโตสไปรา แล้วนำมาทดสอบกับตัวอย่างซีรัมจำนวน 111 ตัวอย่าง ประกอบด้วยซีรัมของผู้ป่วยเลปโตสไปโรซิส 65 ตัวอย่าง ตัวอย่างซีรัมควบคุมผลลบ 46 ตัวอย่าง จำแนกเป็นผู้มีสุขภาพดี 10 ตัวอย่าง ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค 20 ตัวอย่าง และผู้ป่วยด้วยโรคอื่นๆ 16 ตัวอย่าง พบว่าวิธี IIP มีความไว ความจำเพาะ และประสิทธิภาพของการทดสอบเป็น 100%, 95.6% และ 98.2% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบกับวิธี IFA พบว่าทั้งสองมีวิธีความสอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (K=0.93, P<0.05) การทดสอบในกลุ่มตัวอย่างที่ให้ผลบวกกับทั้งสองวิธีจำนวน 66 ตัวอย่าง พบว่าวิธี IIP ให้ผลบวกในระดับไตเตอร์สูงกว่าวิธี IFA 34 จาก 66 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 51.6 ในระดับเท่ากัน 23 จาก 66 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 34.8 และให้ผลบวกในระดับต่ำกว่า IFA 9 จาก 66 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 13.6 โดยมีผลลบวกปลอมเกิดขึ้น 2 ตัวอย่างจากตัวอย่างผู้ป่วยโรคซิฟิลิส และผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่การระบาด ส่วนผลลบปลอมพบเฉพาะในวิธี IFA จำนวน 3 ตัวอย่าง แต่ไม่พบในวิธี IIP อย่างไรก็ตามการศึกษานี้เป็นเพียงการศึกษานำร่องซึ่งแสดงถึงความเป็นไปได้ที่จะนำวิธีอิมมูโนเพอร์ออกซิเดสมาใช้ตรวจกรองผู้ป่วยเลปโตสไปโรซิส และใช้แทนวิธีอิมมูโนฟลูออเรสเซนต์ โดยวิธี IIP มีข้อดีเหนือกว่าคือ ใช้กล้องจุลทรรศน์ธรรมดาในการอ่านผลและการประยุกต์ใช้ในภาคสนาม ทั้งนี้จะต้องเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา จึงจะสามารถสรุปประสิทธิภาพของวิธี IIP ในการตรวจวินิฉัยโรคเลปโตสไปโรซิสได้ A modification of indirect immunoperoxidase (IIP) for leptopiral IgM antibody detection was performed and tested with 111 samples of serum collected from 65 leptopirosis patients and 46 negative controls consisting of 10 healthy controls, 20 individuals in endemic areas and 16 non-leptopirosis. Sensitivity, specificity and efficacy of modified IIP were 100, 95.6 and 98.2% respectively. The agreements rate when this method and IFA were compared, was 0.93 by Kappa analysis. This value demonstrated a very good agreement. Antibody titer of 66 positive resulting from both methods was compared. IIP gave more titer than IFA in 34 from 66 (51.6%), equivalent titer in 23 from 66 (34.8%) and less than IFA in 9 from 66 (13.6%). False positive was found in two samples, one sample of VDRL and TPHA positive case and another from individual in endemic area. False negative was found in three samples only when tested by IFA. This preliminary study showed that IIP might by used as screening test and alternative method to IFA for antibody detection. The benefit of IIP over than IFA was light microscope use and application for field trial study. However, more sera should be tested before its effectiveness for serodiagnosis of leptopirosis can be concluded. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1199 |
Appears in Collections: | Medical Technology - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sarawut-Suthirat.pdf | 20.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.