Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1202
Title: การวิจัยประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสวัสดิการสังคม (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2557)
Other Titles: ประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสวัสดิการสังคม (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2557)
Authors: ปิยฉัตร กลิ่นสุวรรณ
น้ำผึ้ง มีศีล
นุชนาฎ ยูฮันเงาะ
Piyachat Klinsuwan
Namphueng Meesil
Nutchanat Yuhanngoh
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: บริการสังคม -- หลักสูตร
บริการสังคม -- การศึกษาและการสอน
การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
Social services -- Curricula
Social services -- Study and teaching
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยการประเมินหลักสูตรดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารสวัสดิการสังคม (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2557) ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสวัสดิการสังคม (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2557) ได้แก่ การประเมินบริบท การประเมินปัจจัยนำเข้า การประเมินกระบวนการ การประเมินผลผลิต การประเมินผลกระทบ การประเมินประสิทธิผล การประเมินความยั่งยืนและการประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาและปรับปรุงให้เป็นหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสวัสดิการสังคม (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562) เป็นการวิจัยประเมินหลักสูตรทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ในเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการบริหารหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ที่ปรึกษา นักศึกษา/ผู้สำเร็จการศึกษา/ผู้บังคับบัญชา/เพื่อนร่วมมงาน ในเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการประชุมกลุ่มย่อย การสัมภาษณ์ และโดยใช้เครื่องมือวิจัยประเมิน 8 องค์ประกอบ 23 ประเด็น การประเมินตาม CIPPIEST Model ของ Stufflebeam & Shinkfield (2007) การประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการสุดท้ายของการบริหารหลักสูตร เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับความสำเร็จของการบริหารหลักสูตรว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด และข้อจำกัด หรือข้อบกพร่องอะไรบ้างที่้ต้องแก้ไขปรับปรุง ลักษณะการประเมินมักพิจารณาคุณค่าของหลักสูตรควบคู่ไปกับความสำเร็จ โดยอาศัยวิธีการประเมินที่ครอบคลุมทุกมิติ นำมาวิเคราะห์และสรุปผล ที่ใช้เป็นแนวทางการปรับปรุงหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพในการศึกษา วิธีการประเมินที่เลือกใช้ในการวิจัยนี้คือ CIPIEST Model ของ Stufflebeam & Shinkfield (2007) จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษา/ผู้สำเร็จการศึกษา/ผู้ใชบัณฑิต อาจารย์ประจำหลักสูตร/อาจารย์ผู้สอน/อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้บริหาร รวมประชากรทั้งสิ้น 35 คนผู้ให้ข้อมูล 15 คน คิดเป็นร้อยละ 43 ของประชากร พบผลการประเมินดังนี้ 1) การประเมินบริบท (Context Evaluation : C) ผลการประเมินพบว่าบริบทของหลักสูตรมีความเหมาะสมมากที่สุด ทั้งวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตรและเนื้อหาของหลักสูตร จุดเด่นของหลักสูตร คือ เป็นหลักสูตรที่มีความโดดเด่นในศาสตร์ที่มีความเฉพาะเจาะจงในเรื่องของการบริหารสวัสดิการสังคม 2) การประเมินปัจจัยนำเข้า Input Evaluation : I) ผลการประเมินพบว่าปัจจัยนำเข้าของหลักสูตรมีความเหมาะสมมาก ได้แก่ คุณภาพของอาจารย์ประจำหลักสูตร และคุณภาพนักศึกษาแรกเข้า เหมาะสมน้อยด้านงบประมาณ แหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศ และสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการการศึกษา จุดเด่นของหลักสูตร คือ นักศึกษาแรกเข้ามีประสบการณ์สูง มีประสบการณ์การทำงานร้อยละ 86 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมด ได้ทุนกาญจนาภิเษก (คปก.) ร้อยละ 22 และ อาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณสมบัติครบถ้วน ทั้งคุณวุฒิ ความรู้ และความสามารถ มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ที่หลากหลายและเกี่ยวข้องกัน ได้แก่ สังคมสงเคราะห์ นโยบาย จิตวิทยา พฤติกรรมศาสตร์และสิทธิมนุษยชน เป็นต้น 3) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation : P) ผลการประเมินพบว่า กระบวนการบริหารหลักสูตรมีความเหมาะสมมากที่สุดในทุกด้าน มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร รองลงมา คือ การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา และการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา จุดเด่นของหลักสูตร คือ กระบวนการพัฒนาหลักสูตร มีระบบการวางแผนและกลไกขับเคลื่อนที่มีความเป็นเอกภาพ เช่น กระบวนการวัดผล/ประเมินผลการศึกษา การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา ความก้าวหน้าของนักศึกษา การควบคุมดูแลการจัดทำดุษฎีนิพนธ์ของนักศึกษา และปัญหาต่างๆ ของนักศึกษา เป็นต้น จะถูกนำเข้าวาระการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อลงมติรับรองพร้อมแนวทางการแก้ปัญหานักศึกษา 4) การประเมินผลผลิต (Output Evaluation: O) นักศึกษา/ผู้สำเร็จการศึกษามี คุณลักษณะของดุษฎีบัณฑิตที่คาดหวัง มีความเหมาะสมมาก ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Learning Outcome) มีความเหมาะสมมากที่สุด ด้านคุณธรรม จริยธรรม รองลงมาด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และต้องปรับปรุงด้านทักษะปฏิบัติทางวิชาชีพ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับทักษะต่างๆ ของนักศึกษาที่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ นักศึกษาที่มีทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีความสัมพันธ์กับทักษะปฏิบัติทางวิชาชีพ เช่นเดียวกับผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมมีความสัมพันธ์กับทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ รวมทั้งทักษะปฏิบัติทางวิชาชีพ และด้านความรู้ 5) การประเมินผลกระทบ (Import Evaluation : I) ผลการประเมินพบว่าผลกระทบเชิงบวกของหลักสูตรมีความเหมาะสมมาก ได้แก่ นักศึกษาได้รับรางวัลการเขียนบทความดีเด่นระดับชาติ 2 รางวัล สร้างภาพลักษณะที่ดีให้กับมหาวิทยาลัย เป็นผลพวงของคุณภาพนักศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้วได้ทำประโยชน์เพื่อสังคมและประเทศ ผลกระทบเชิงบวกที่เกิดกับสังคม ได้แก่ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสวัสดิการสังคมครอบคลุมและเป็นธรรมมากขึ้นด้านคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชนที่ถูกกระทำความรุนแรง ทำให้เห็นคุณค่าของดุษฎีนิพนธ์ที่นำไปสู่ประโยชน์ที่สังคมได้รับ 6) การประเมินประสิทธิผล (Effective Evaluation : E) พบว่าประสิทธิผลของหลักสูตรมีความเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ ผลลัพธ์การบริหารหลักสูตรตามที่คาดหวัง และผลลัพธ์ครบถ้วนตามที่คาดหวัง จุดเด่นของหลักสูตรคือ นักศึกษาแรกเข้ามีประสบการณ์สูง ปี 2557-2561 จำนวน 14 คน มีประสบการณ์การทำงานร้อยละ 86 ได้รับทุนจากโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 22 อาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณสมบัติครบถ้วน มีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญหลากหลายสาขา นักศึกษาโดดเด่นมากที่สุดด้านคุณธรรมจริยธรรม และด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 7) การประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation : S) ผลการประเมินพบว่า ความยั่งยืนของหลักสูตรมีความเหมาะสมมากที่สุด จุดเด่นของหลักสูตร คือ ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ให้คำปรึกษา รับฟังปัญหาต่างๆ ตลอดระยะเวลาการเป็นนักศึกษ เสมือนบุคคลในครอบครัวเดียวกัน และมีการติดต่อสัมพันธ์กัน (Connection) ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา/ผู้สำเร็จการศึกษาอย่างต่อเนื่อง วางแผนนำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสวัสดิการสังคม (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2557) ที่ปรับปรุงเป็นหลักสูตร พ.ศ. 2562 แล้ว นำมาใช้ในปีการศึกษา 2/2562 8) การประเมินผลการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportation Evaluation : T) ผลการประเมิน พบว่า การถ่ายทอดส่งต่อของหลักสูตรเหมาะสมมาก ด้านความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรสอดคล้องกัน แต่มีความเหมาะสมน้อยเรื่องการประชาสัมพันธ์หลักสูตร จุดเด่นของหลักสูตรคือการวางแผนการรักษาคุณภาพของหลักสูตร คือ การจัดประชุมวิชาการระดับชาติ เป็นประจำทุกปี จัดเวลทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถาบันการศึกษาทีมีหลักสูตรสอดคล้องกัน และให้ความร่วมมือด้านวิชาการกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงหลักสูตร 1) วัตถุประสงค์ โครงสร้าง และเนื้อหาของหลักสูตร กำหนดให้มีความเชื่อมโยง สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ เน้นความสัมพันธ์กับนโยบายสาธารณะ ทฤษฎีใหม่ๆ ที่ทันสมัย และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในโลกดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน รวมทั้งการมีส่วนร่วมของนักศึกษา เพื่อผสานความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างกลมกลืนระหว่างอาจารย์และพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ 2) ปัจจัยนำเข้า เน้นเรื่องการหาทุนดุษฎีนิพนธ์ ทุนการศึกษา และการใช้งบประมาณที่คุ้มค่ากับคุณค่าเชิงวิชาการ และควรมีกลไกการสนับสนุนการขอตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ โดยการสนับสนุนให้อาจารย์ลาพักการสอนเพื่อเขียนตำรา การหาทุนและเครือข่ายการวิจัยของอาจารย์ให้เพิ่มมากขึ้น 3) กระบวนการพัฒนาหลักสูตร ไม่ควรสร้างระบบและกลไกที่ยุ่งยาก เลิกระบบการสร้างหลักฐานจากการรายงาน เน้นนวัตกรรมทางความคิด การสร้างความร่วมมือข้ามสถาบันและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เพื่อเปิดแนวคิดใหม่ในการขับเคลื่อนที่แผนการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ 4) ผลผลิต ควรเป็นคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาที่ไม่เพียงแข็งแกร่งในเชิงวิชาการ แต่มีคุณลักษณะตามที่กำหนดเป็นผลการเรียนรู้ (Learning Outcome) แตกต่างจากระดับปริญญาตรี และสามารถปรับให้สอดคล้องกับคุณลักษณะของดุษฎีบัณฑิต ทั้งการเรียนรู้ การทำงาน และการดำเนินชีวิตให้ครบ 3 มิติ ได้แก่ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) ความสามรถในการประยุกต์ใช้ ความรับผิดชอบ (Application and Responsibility) และสมรรถนะ (Competency) ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษารุ่นใหม่ในศตวรรษที่ 21 5) ผลกระทบของหลักสูตร ผลกระทบเชิงบวกที่เกิดกับมหาวิทยาลัย คือ คุณภาพของนักศึกษา ผลงานดุษฎีนิพนธ์ที่นำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ผลพวงให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อมหาวิทยาลัย ผลกระทบเชิงบวกที่เกิดกับสังคม ควรเป็นสวัสดิการเฉพาะ เช่น ผู้สูงอายุ และผู้พิการ เป็นต้น โดยผลักดันเชิงนโยบายให้ครอบคลุมและเป็นธรรมมากขึ้นสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ 6) ประสิทธิผลของหลักสูตร สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของหลักสูตร เพื่อทำประโยชน์ต่อสังคมและประเทศ 7) การประเมินความยั่งยืน การรักษาคุณภาพของหลักสูตร การจัดประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ เป็นประจำทุกปี เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการ นำผลการประชุมวิชาการมาปรับใช้ในการบริหารหลักสูตร การทำวิจัยให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มีการวางแผนการปรับปรุงหลักสูตร เช่น การวัดความพึงพอใจอาจารย์และนักศึกษาทุกภาคการศึกษา การทบทวนข้อเรียกร้อง และนำมาเป็นข้อมูลปรับปรุงการพัฒนาหลักสูตรตามความเหมาะสม 8) การถ่ายทอดส่งต่อ เน้นการประชุมทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ระหว่างสถาบันการศึกษาที่มีเนื้อหาวิชาในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน และมีการแลกเปลี่ยนอาจารย์ในลักษณะ Vissiting-Profession กับสถาบันการศึกษาต่างประเทศอย่างน้อย 2-3 เดือน/ปี/คน นอกจากนี้ควรวางแผนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ให้โอกาสนักศึกษา/ผู้สำเร็จการศึกษาได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1202
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyachart-Klinsuwan.pdf7.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.