Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1221
Title: การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หลักสูตรใหม่่พุทธศักราช 2557 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: Evaluation of Food Science and Technology Curriculum : Bachelor' s Degree Programme, New Edition 2014, Science and Technology Faculty, Huachiew Chalermprakiet University
Authors: ชวนพิศ จิระพงษ์
ชัยรัตน์ เตชวุฒิพร
พรพิมล กาญจนวาศ
อลิษา สุนทรวัฒน์
ปียนันท์ น้อยรอด
ภัททิตา เลิศจริยพร
ดิเรก พนิตสุภากมล
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Keywords: การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
วิทยาศาสตร์การอาหาร -- หลักสูตร
Food science -- Curricula
วิทยาศาสตร์การอาหาร -- การศึกษาและการสอน
Food science -- Study and teaching
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2557 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรใน 4 ด้านได้แก่ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร และด้านผลผลิตของหลักสูตร โดยทำการคัดเลือกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย อาจารย์ นักศึกษา สถานประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีรายละเอียดดังนี้ การประเมินด้านบริบทของหลักสูตร 3 ด้าน ได้แก่ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์หลักสูตรจำนวนหน่วยกิตของโครงสร้างหลักสูตร และเนื้อหาของหลักสูตรในรายวิชาต่างๆ กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 3.99 ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเพิ่มเติมให้มีบริบทของหลักสูตรทั้ง 3 ด้าน มีความสอดคล้องกับเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย (ด้านจีน) และมีรายวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับอาหารสุขภาพเพิ่มมากขึ้น การประเมินปัจจัยเบื้องต้น 3 ด้านได้แก่ คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา คุณสมบัติของอาจารย์และปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างประเมินความเหมาะสมในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.20 โดยกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นเพิ่มเติมในการจัดหาปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนการสอนให้เพียงพอและสอดคล้องกับการเรียนในหลักสูตร นอกจากนี้ควรต้องพิจารณาความร่วมมือกับอาจารย์ในสาขาต่างๆ เพื่อให้ตอบสนองกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา การประเมินกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ประกอบด้วยการจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล พบว่ากลุ่มตัวอย่างประเมินความเหมาะสมในระดับดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.22 ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะเรื่องการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วม เช่น การเรียนการสอนแบบ active learning, problem based learning หรือ research based learning และมีวิธีการประเมินผลการสอนที่หลากหลาย การประเมินด้านผลผลิตหลักสูตร โดยสถานประกอบการ ประเมินความเหมาะสมในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.14 มีข้อเสนอแนะในการเพิ่มเติมทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้น หากสามารถสื่อสารภาษาจีนทำให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติมีความได้เปรียบสถาบันอื่นๆ และให้มีการเสริมความรู้ทางด้านการประกันคุณภาพอาหารระหว่างประเทศ สรุปผลประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2557 ในภาพรวมของหลักสูตรมีความเหมาะสมและมีคุณภาพดี เป็นไปตามวัตถุประสงค์ มีการดำเนินการที่เป็นมาตรฐาน และมีข้อแนะนำเพิ่มเติมด้านอาหารสุขภาพและด้านจีน ซึ่งผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรต่อไป
The objective of this research is to evaluate the Food Science and Technology Curriculum: Bachelor's Degree Programme (New Edition 2014), Science and Technology Faculty, Huachiew Chalermprakiet University. Daniel L. Stuffllebeam's CIPP model was used to evalute the program in four aspects (1) context, (2) input, (3) process, (4) and product. The specific samples were 73 persons consisted of instructors, students, employers, and curriculum experts on various elements associated with the curriculum. The quality questionnaire was developed to evaluate the curriculum. Quantitative data were analyzed statically values of frequency, percentage, mean, and standard deviation but qualitative section by content analysis. The results revealed that participants evaluated the appropriateness of the curriculum at the high level. The details are as follow: Contextual assessment of three curriculums: The sample groups assessed the appropriateness of the curriculum objectives, number of credits and course contents at the high level with an average score of 3.99. The sample had additional comments to according contextual assessment of three curriculums as University identity (Chinese) and should add more courses that focus on food for health. Input assessment of three curriculums: The sample groups assessed the student requirement, instructor qualifications and supportive factors that conductive to teaching at the high level with an average score of 4.20. The sample groups provided additional commets on the factors contributing to the teaching and learning. In addition, Should consider cooperation with teachers in various fields in order to respond to student learning outcomes. Assessment of curriculum management: Include teaching, measurement and evaluation. It was found that the sample was rated this curriculum at the high level with an averge score of 4.22. The samples agve their opinions and suggestions on teaching activities such as active learning, problem based learning or research based learning and various measurements for evaluating teaching results. Graduation assessment of the curriculum: Instructors assessed the quality of graduates at the high level with an average score of 4.14. The sample has suggested thet Should be adding language skills for better communication if able to communicate in Chinese, the students of Huachiew Chalermprakiet University will have an advantafe over other institutions and will provide additional knowledge on international food quality assurance. According on the results, the researcher suggested that the Food Science and Technology Curriculum: Bachelor's Degree Programme (New Edition 2014) proves to be satisfactory in accordance with the objectives and the standards. And more suggestions were shoud add more courses that focus on food for health and Chinese. Which results can be used as a guideline for surther improvement and development of the curriculum.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1221
Appears in Collections:Science and Technology - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaunpis-Jirapong.pdf18.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.