Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1234
Title: | A Comparative Study of E-writing and Traditional Writing Classroom to Improve English Writing Ability and Motivate Autonomous Learning of Thai EFL Learners |
Other Titles: | การเปรียบเทียบการเรียนรู้แบบการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์และการเรียนแบบปกติเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษและกระตุ้นการเรียนรู้แบบอิสระของนักศึกษาชาวไทย |
Authors: | Pongpatchara Kawinkoonlasate พงศ์พัชรา กวินกุลเศรษฐ์ Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts |
Keywords: | ภาษาอังกฤษ -- การเขียน -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) English language -- Writing -- Study and teaching (Higher) คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน Computer-assisted instruction. Educational technology เทคโนโลยีทางการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน Academic achievement คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน Computer-assisted instruction การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | Huachiew Chalermprakiet University |
Abstract: | งานวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบการเรียนรู้แบบการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์และการเรียนแบบปกติเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษและกระตุ้นการเรียนรู้แบบอิสระของนักศึกษาชาวไทยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทักษะการเขียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังด้วยโปรแกรม e-Writing กับวิธีการสอนเขียนแบบดั้งเดิม 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของแรงจูงใจและความพึงพอใจของผู้เรียนหลังจากศึกษาด้วยโปรแกรม e-Writing และวิธีการสอนเขียนแบบดั้งเดิม และ 3) เพื่อศึกษาการเรียนรู้แบบอิสระด้วยตนเองหลังจากที่เรียนด้วยวิธีการสอนที่แตกต่างกันของผู้เรียนทั้ง 2 กลุ่ม ประชากรกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 60 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน โดยวิธีการสุ่มแบบโควต้า กลุ่ม A คือ กลุ่มทดลองที่ได้ศึกษาด้วยโปรแกรม e-Writing ในขณะที่กลุ่ม B ได้รับการเรียนการสอนเขียนแบบดั้งเดิม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แผนการสอน โปรแกรม e-Writing แบบสอบถาม สัมภาษณ์ และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน การเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ข้อมูลเชิงปริมาณจะเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพได้มีการสัมภาษณ์ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยในครั้งนี้ พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่ม A ที่ศึกษาด้วยโปรแกรม e-Writing สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลจากแบบสอบถามแสดงให้เห็นว่าระดับของความพึงพอใจของการใช้โปรแกรม e-Writing ผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากผลการวิเคราะห์แบบสอบถามพบว่า ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับมากเช่นกัน นอกจากนี้ ผลการสัมภาษณ์ พบว่า ผู้เรียนจะสนุกกับการเรียนโดยใช้โปรแกรม e-Writing เนื่องจากช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้นกว่าการเรียนแบบดั้งเดิม The purposes of this quasi-experimental study were: 1) to compare students' writing ability before and after receiving e-Writing program and traditional writing classroom, 2) to compare the differences in learner satisfaction and motivation after receiving e-Writing and traditional writing classroom, and 3) to explore learner autonomy after receiving the two different kinds of teaching methods. The informants were 60 second yaer students who were divided by quota sampling method into two groups (A and B) of 30 learners each. Group A receiving an e-Writing method, wheras Group B received a Traditional teaching style. The research instruments used for data collection were lesson plans, e-Writing program, learner perception questionnaires, interview questions, and English writing test (Pretest and Posttest). The quantitative data were collected and analyzed using average, standard deviation, and t-test. Interview data was analyzed by means of content analysis. The quantitative finding revealed that the English writing ability of the students group under e-Writing teaching was significantly higher than the controlling group at the .001 level. From the questionnaire results, the overall levels of satisfaction and autonomous learning after receiving the e-Writing program were found to be good. Additionally, the interview results showed that the students seemed to enjoy the lessons more in the e-Writing which apperared to promote more learner autonomy than the traditional writing classroom. Recommendations are made and presented in two categories: benefits of future practice and further research. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1234 |
Appears in Collections: | Liberal Arts - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PONGPATCHARA-KAWINKOONLASATE.pdf | 5.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.