Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1239
Title: | การสังเคราะห์ความรู้การจัดการดูแลภาวะสุขภาพในสาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน |
Other Titles: | Knowledge Synthesis of Health Care Management in Community Nurse Practitioner Discipline |
Authors: | กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย พัชรี รัศมีแจ่ม ปิยะรัตน์ สมันตรัฐ Kamonthip Khungtumneum Vanida Durongrittichai Patcharee Rasamejam Piyarat Samantarath Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Nakhon Pathom Rajabhat University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
Keywords: | การส่งเสริมสุขภาพ Health promotion การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน Community Nurse Practitioner การวิเคราะห์เนื้อหา Content analysis (Communication) |
Issue Date: | 2016 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยเอกสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ความรู้ข้อมูลพื้้นฐานและความรู้การจัดการดูแลภาวะสุขภาพในสาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน จากวิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระของบัณฑิตในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วง พ.ศ. 2550-2559 จำนวน 88 เรื่อง สามารถค้นหาเล่มสมบูรณ์เพื่อนำมาสังเคราะห์ได้จำนวน 74 เล่ม จำแนกเป็นวิทยานิพนธ์ 44 เรื่อง และการศึกษาอิสระ 30 เรื่อง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสังเคราะห์ที่ผ่านการตรวจสอบความแม่นตรงเขิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบประเด็นสำคัญ คือ วิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระโดยมากวิธีศึกษาเป็นการวิจัยเชิงบรรยายและเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์การศึกษาเป็นการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล แนวคิดที่ใช้เป็นรูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ การออกแบบการศึกษาที่เชื่อมโยงกับการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน กลุ่มเป้าหมายเป็นระดับบุคคล ประโยชน์ที่นำไปใช้อยู่ในการป้องกันระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ การจัดการดูแลภาวะสุขภาพพบลักษณะภาวะสุขภาพที่จัดการดูแลได้ 3 กลุ่ม คือ 1) ปัญหาสุขภาพกาย (ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเรื้อรัง โรคมะเร็ง เบาหวาน ภาวะกระดูกและข้อผิดปกติ โรคระบบทางเดินหายใจ ภาวะเส้นเลือดขอดและโรคที่เกิดจากความร้อน) 2) ปัญหาสุขภาพจิตใจ (ภาวะซึมเศร้า) และ 3) กลุ่มเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพ (สตรีตั้งครรภ์ เด็กและวัยรุ่นและแรงงานต่าวด้าว) ข้อเสนอแนะควรออกแบบวิธีการศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ลักษณะภาวะสุขภาพที่ควรจัดการดูแล แนวทางการจัดการดูแลสุขภาพเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับวางระบบการจัดการเรียนการสอนในแต่ละปีการศึกษา รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรในรอบการปรับปรุงครั้งต่อไป ขยายกลุ่มเป้าหมายการทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระให้สมดุลทั้งผู้ใช้บริการระดับบุคคล ครอบครัว กลุ่มคนและชุมชน เพิ่มแบบการศึกษาของการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการให้มีความหลากหลาย The objective of this documentary research was to analyze characterisics of data and knowledge related to health care management from thesis and independent study in community nurse practitioner discipline. The samples were 88 studies, published during 2007-2016. Classified as 49 theses and 39 independent studies. The research instrument was validated by 3 experts. Percentage had content analysis were employed. The results of the study were most of thesis and independent studies are descriptive and qualitative research. The purpose of their study were to develop clinical nursing practice guideline. Concepts used as empirical evidence-based. Mostly research design linking to community nursing practice target to individual level. Benefits of studies can be utilized for secondary and tertiary pervention. Health care management could be divided into 3 groups: 1) Physical health problems (Hyperlipidemia, Hypertension, Stroke, Coronary disease, Chronic disease, Cancer, D.M., Osteoarthritis, Respiratory diseases, Varicose veins, Heat stroke 2) Mental health problem (Depression) and 3) Risk groups for health problems (Teenage pregnancy, Child and adolescent, Migrate workforce). Suggestions were the study design, target group, health condition, health care or management guideline should be forward determined. They will be benefit for learning system layout for each year and for the next of circle curriculum development. Also, the target clients in theses and independent study should be expanded for balancing the level of individual, family, group, and community service users. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1239 |
Appears in Collections: | Nursing - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kamontip-Khungtumneum.pdf | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.