Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1246
Title: การออกแบบฉลากสินค้าด้วยกระบวนการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปและสมุนไพรของผลิตภัณฑ์ชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนในจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Product Label Design through Participatory Communication to Develop the Packaging of the Community Processed Food and Herbal Products according to the Sustainable Creative Economy Concept in Samut Prakarn Province
Authors: ชาตรี บัวคลี่
Chatree Buaclee
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Communication Arts
Keywords: ฉลาก -- การออกแบบ
Labels -- Design
ผลิตภัณฑ์ชุมชน
Community products
Issue Date: 2017
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR) และการวิจัยแบบผสมผสานวิธีเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Mixed Method) มีจุดมุ่งหมายเพื่อศีกษาสภาพทั่วไปของผลิตภัณฑ์ชุมชนและพัฒนารูปแบบฉลากสินค้าชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 6 ผลิตภัณฑ์ รวมถึงบูรณาการกระบวนการวิจัย การบริการวิชาการและการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการออกแบบฉลากสินค้าด้วยกระบวนการวิจัย โดยผู้มีส่วนร่วม ได้แก่ ผู้ประกอบการ ลูกค้า นักออกแบบ นักวิชาการด้านการออกแบบ หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล หรือวิสาหกิจชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเปรียบเทียบ In-Dependent T-Test ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้ง 6 ผลิตภัณฑ์มียอดขายลดลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ คือ ใช้วัตถุดิบที่มาจากท้องถิ่น ราคาวัตถุดิบถูก จุดด้อย คือ อายุการเก็บรักษาสั้นและการหาช่องทางการสื่อสารการตลาด โอกาส หรือนโยบายสนับสนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของรัฐบาล และอุปสรรค คือความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ส่วนปัญหาคือ ความรู้เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ รวมถึงงบประมาณในการสนับสนุนจากภาครัฐ ผลประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วมต่อฉลากผลิตภัณฑ์เดิมพบว่า มีความพึงพอใจระดับน้อยทุกผลิตภัณฑ์ ข้อค้นพบที่โดดเด่น คือ ข้อมูลสำคัญสำหรับการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมต้องระเบิดมาจากปัญหาและความต้องการภายในของผู้มีส่วนร่วมสะท้อนผ่านกิจกรรมต่างๆ ในกระบวนการวิจัย 2. ผลการออกแบบฉลากสินค้า ด้วยกระบวนการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนพบว่า ทุกผลิตภัณฑ์มีผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับพอใจมากทุกผลิตภัณฑ์ และเมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างฉลากสินค้าเดิมกับฉลากสินค้าใหม่พบว่า ผู้มีส่วนร่วมมีความพึงพอใจต่อฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชนรูปแบบใหม่เพิ่มขึ้นในระดับมากทุกผลิตภัณฑ์ ข้อค้นพบที่โดดเด่น คือ ผลงานออกแบบฉลากจะสำเร็จผลและเป็นที่พอใจของผู้มีส่วนร่วมได้ ต้องมาจากความเท่าเทียมและความสมดุลทางความคิดอย่างมีประชาธิปไตยของผู้มีส่วนร่วม และงานออกแบบจะต้องเชื่อมโยงกับรูปแบบเดิมของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งต้องสะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ผ่านภาพประกอบ สี ตัวอักษร และลวดลายกราฟิก 3) การประเมินผลสัมฤทธิ์การบูรณาการกระบวนการวิจัย การบริการวิชาการและการเรียนการสอน ของนักศึกษาก่อนและหลังการมีส่วนร่วมพบว่า นักศึกษามีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นทุกด้าน โดยนักศึกษาได้เรียนรู้การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการและมีความรู้ด้านการวิเคราะห์ แปรผล และสรุปข้อมูลวิจัยมากที่สุด ข้อค้นพบที่โดดเด่น คือ การบูรณาการกระบวนการวิจัยกับการเรียนการสอนยังผลให้นักศึกษาได้ฝึกการใช้ปฏิภาณไหวพพริบเพื่อการแก้ปัญหา โดยเฉพาะขั้นตอนการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) เนื่องจากทุกความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมมีความสำคัญเท่ากัน จึงต้องหาจุดกึ่งกลาง หรือความสมดุลของความต้องการเพื่อให้ได้ผลงานที่ตรงใจผู้มีส่วนร่วมมากที่สุด และการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมช่วยลดความมั่นใจเกินขอบเขต (ทิฐิ) หรือการคิดหมกมุ่นแต่ความต้องการของตนเอง ความอยากเอาชนะ และการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นโดยการเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างเท่าเทียม ซึ่งเป็นเรื่องยากของเด็กนักศึกษายุค Generation Me
The Participatory Communication Design Concept is the concept that mixes the designing principles, the arts elements and the participatory communication together through the Mixed Method Research. The Knowledge of the Particpatory Communication Design Concept allows the participants of the designing process to involve in every step of the designing process from design planning and assignment, design brain-storming and evaluation of the design outcome. The design process participants consist of the inside and outside paricipants. The inside participant are the designers, the advertising agencies (AE), The design lecturers while the outside participants are the owners of the products and services, their customers and the supporting parties such as the provincial development officers and the representative of the financial sources. The tools used in collecting the opioions of the design process participants art the SWOT Analysis. The questionnaires, The interview forms, The satisfactory evaluation forms and the target conformity evaluation forms. The prominent features of Participatory Communication Design Concept are : 1) All involved participants are satisfied with the resulted design in every design inn every aspect such as illustrations, colors, lettering, design structure and design materials. 2) All participants exchange their own information with one another, resulting in the creation of the knowledge management (KM) of participatory design process which is trend of current and future design process. 3) The concept reduces the participants' own over confidence and concentration of their own demands, resulting in their being sympathetic to others and their being open minded to different ideas.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1246
Appears in Collections:Communication Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chatree-Bauclee.pdf7.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.