Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1259
Title: | ผลของการออกกำลังกายโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และพักต่ออาการปวดคอและไหล่ในผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน |
Other Titles: | The Effects of Exercise Using Software Program and Rest Breaks for Reducing Neck and Shoulder Pain in Prolonged Computer Users. |
Authors: | พรรัชนี วีระพงศ์ วีราภรณ์ แพบัว สุภาณี ชวนเชย Pornratshanee Weerapong Wiraporn Paenua Suphanee Chaunchey Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy |
Keywords: | การออกกำลังกาย Exercise. ปวดไหล่ Shoulder -- Wounds and injuries ความยืดหยุ่น Elasticity ปวดคอ Neck pain โรคจากคอมพิวเตอร์ Computer syndrome |
Issue Date: | 2017 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายและการพักระหว่างทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ต่อ 1) อาการปวดคอและไหล่ 2) ระดับความสามารถในการทำกิจกรรม 3) ระยะเวลาที่เริ่มปวดเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ ในผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม วิธีการทดลอง การทดลองนี้เป็นการทดลองแบบสุ่ม นักศึกษาภายภาพบำบัดอายุระหว่าง 18-22 ปี จำนวน 35 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มออกกำลังกายและกลุ่มพัก กลุ่มละ 14 คน กลุ่มควบคุม 7 คน ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลทุกวันและทุกสัปดาห์เป็นเวลา 4 สัปดาห์ กลุ่มออกกำลังกายทำการออกกำลังกายตามโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกชั่วโมง กลุ่มพักได้รับแจ้งจากโปรแกรมให้พักระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์ ระยะเวลาการออกกำลังกายและการพักประมาณ 9 นาที กลุ่มควบคุมไม่ได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตนใดๆ ผู้ร่วมทดลองรายงานผลระดับความเจ็บปวด (Visual analogue scale, VAS) ระยะเวลาที่ใช้คอมพิวเตอร์ และระยะเวลาที่เริ่มปวดเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ทุกวัน ทำแบบประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมจากแบบสอบถาม Northwick Park Neck Pain Questionnaire (NPQ) ทุกสัปดาห์ผลการทดลองเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลการทดลอง การออกกำลังกายแบบเพิ่มความยืดหยุ่นและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการพักสามารถลดอาการปวดคอ และไหล่ในผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานได้ไม่แตกต่างกันในสัปดาห์ที่ 4 แต่ไม่มีผลในการเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมตามแบบประเมิน NPQ และระยะเวลาที่เริ่มปวดเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ สรุปผลการทดลอง การออกกำลังกายแบบเพิ่มความยืดหยุ่นและแบบเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหรือการพักระหว่างการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง นานประมาณ 9 นาที เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ สามารถลดอาการปวดคอและไหล่ในผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานได้ Aim: To compare the effects of exercise and rest breaks on 1) neck and shoulder pain 2) activity daily life affectied by neck pain, and 3) onset of pain when using computer in prolonged computer users. Method: Thirty-five physical therapy students, age 18-22 years, were randomized into 3 groups, exercise (n=14), rest break (n=14), and control group (n=7), Subjects in the exercise group performed stretching and strengthening exercise following instruction from a softweare program for 9 minutes every hour of computer use. The rest break group stopped from work for the same period as the exercise group. The control group did not receive any intervention. Subjects reported their pain on a visual analogue scale (VAS), their time using a computer, onset of pain when using computer, frequency of exercise or rest break every day and completed a Northwick Park Questionnaire (NPQ) every week for 4 weeks. Results: Compared with the control group, the exercise and rest break groups showed a statistically significant reduction in pain by week 4. There was no difference on NPQ and onset of pain when using computer. Conclusion: Strentching and strenthening exercise or rest break, for 9 minutes, at least once a day for 4 weeks, can reduce neck and shoulder pain in computer users over a prolonged period. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1259 |
Appears in Collections: | Physical Therapy - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pornratshanee-Weerapong.pdf | 3.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.