Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1260
Title: | การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | A Study of Folklore : A Determinant of Names of the Canals and Villages in Bang Sao Thong District, Samutprakarn Province การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ |
Authors: | พรรณศิริ แจ่มอรุณ วุฒิพงษ์ ทองก้อน กชพร ขวัญทอง Phansiri Jamaroon Wuthipong Thongkon Kodchaporn Kwanthong Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts Huachiew Chalermprakiet University. Arts and Culture Center Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts |
Keywords: | คลอง -- ไทย -- สมุทรปราการ Canals -- Thailand -- Samut Prakarn หมู่บ้าน -- ไทย -- สมุทรปราการ Villages -- Thailand -- Samut Prakarn คติชนวิทยา Folklore สมุทรปราการ -- ความเป็นอยู่และประเพณี Samut Prakarn -- Social life and customs |
Issue Date: | 2014 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | รายงานการวิจัยเรื่องนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของการตั้งชื่อคลองและชื่อหมู่บ้านริมคลองในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อศึกษาบทบาทและความสำคัญของคลองที่เปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เน้นศึกษาจากการลงภาคสนามและเอกสารเป็นสำคัญ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ กลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุในท้องถิ่น นักวิชาการท้องถิ่น ผู้นำชุมชน พระภิกษุ รวมทั้งศึกษาจากเอกสารราชการ งานเขียนกึ่งวิชาการ บันทึกท้องถิ่น หนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจ แผนที่คลองในอดีตและปัจจุบัน และลงภาคสนามสังเกตลักษณะทางกายภาพของคลองและสถานที่ๆ เกี่ยวข้อง โดยมีการตรวจสอบข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบสามเส้า (Traingulation) ผลการวิจัยพบว่า การตั้งชื่อคลองและชื่อหมู่บ้านในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ชื่อส่วนใหญ่คนในท้องถิ่นตั้งกันเองตามชื่อบุคคลที่อยู่ในคลองหรือลักษณะโดดเด่นของคลอง เช่น ชื่อพืชพันธุ์ไม้ ขนาดหรือทิศทางของคลอง ภูมิประเทศ สัตว์ สิ่งก่อสร้าง กริยาการกระทำ เครื่องใช้ไม้สอย และความเชื่อหรือตำนาน ตามลำดับ เพื่อจดจำได้ง่ายและสะดวกในการสื่อสารให้เข้าใจได้ตรงกัน บทบาทและความสำคัญของคลองจากอดีตสู่ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงหลัง คลองในอดีตที่เคยมีความสำคัญเป็นต้นกำเนิดของชุมชน แหล่งเศรษฐกิจทำกินและเส้นทางคมนาคมหลัก เปลี่ยนไปเมื่อถนนตัดผ่าน ก็ก่อเกิดความเจริญทางเศรษฐกิจ เกิดพื้นที่ธุรกิจ อุตสาหกรรมและหมู่บ้านแห่งใหม่ของคนต่างถิ่นอยู่ตามแนวถนน และมีรูปแบบสังคมเมือง ส่วนหมู่บ้านที่อยู่ติดคลองเปลี่ยนเป็นรูปแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบท This research aimed at the study of the history and some backgrounds of how to name the canals and villagers along them in Bangsaothong District, Samut Prakarn Province. It also aimed at the study of the roles and the importance of the canals that have been changing from the past to present. It is a qualitative research emphasizing on filed work and documentation. Informal interviews with the elderly in the district, local scholars, community leaders and the monks were used. Moreover, the study included the government documentation: semi-academic writings, local records, memorial pamphlets of some funerals and cremations, the maps of all canals in the past and present time; and looking at the physical features of the canals and related places. There was an examination of all information using "Traingulation Techniques". It was found that most of the canals and villages in Bangsaothong District, Samut Prakarn Province were named by people in the areas using the names of some important people living in the canals or the unique features of the canals like the names of the plants in the areas, the sizes or the directions of the canals, the topography of the areas, the animals, the stuctures, the behaviors, the instruments, and the beliefs or legends, respectively, to help people easily remember them for convenient communication and good understanding. Later, the roles and importance of the canals from the past to present have been changing according to the economic development of the country. The canals in the past which were used to be important as the original of the community, economic areas for people to earn their living, and the main communication routes, have become the economic growth with business areas, industries, and new villages of newcomers along the roads with urbanization. The villagers along the canal have changes into semi-urban-rural societies. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1260 |
Appears in Collections: | Liberal Arts - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phansiri-Jamaroon.pdf | 39.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.