Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1261
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมทุนทางวัฒนธรรมกับสุขภาวะผู้สูงอายุ
Other Titles: Correlation between Social Capital, Cultural Capital and Healthy Aging
Authors: ปิยฉัตร กลิ่นสุวรรณ
นวลใย วัฒนากูล
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม
Keywords: ผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย
Older people -- Health and hygiene
การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ
Old age assistance
ทุนทางสังคม
Social capital (Sociology)
ทุนทางวัฒนธรรม
Cultural capital
Issue Date: 2017
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเขิงปริมาณและคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สุขภาวะผู้สูงอายุทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคม ทุนทางปัญญา และสุขภาวะผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ใน 14 หมู่บ้าน ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วยแบบวัด 3 ชุด ได้แก่ (1) ทุนทางสังคม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.76 (2) ทุนทางวัฒนธรรม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 และ (3) สุขภาวะผู้สูงอายุมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.84 และในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย (1) การสัมภาษณ์ (2) การประชุม กลุ่มย่อย และ (3) สังเกตแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วยผู้สูงอายุ และผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ภาพรวมของสุขภาวะของผู้สูงอายุอยู่ในระดับดีมาก (x̄=3.28, SD=1.29) โดยเฉพาะด้านร่างกายอยู่ในระดับดีมากกว่าด้านอื่นๆ (x̄=3.93, SD=1.21) รองลงมาคือ สุขภาวะด้านจิตใจและสังคม (x̄=3.55, SD=1.29 และ 3.04, SD=1.36 ตามลำดับ) ด้านจิตวิญญาณหรือปัญญาอยู่ในระดับปานกลาง (̄x̄=2.60, SD=1.30) การใช้ทุนทางสังคมส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง (x̄=2.83, SD=1.31) โดยมีทุนทางส้งคมด้านเครือญาติส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุได้มากกว่าด้านอื่น และน้อยที่สุด คือ ทุนทางสังคมด้านองค์กร สำหรับทุนทางวัฒนธรรมส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุได้ในระดับดีมาก (x̄=3.68, SD=1.28) เรียงลำดับจากทุนทางวัฒนธรรมด้านบรรทัดฐานทางสังคม ด้านปัญญาและประเพณี ส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุได้ในระดับดีมาก 2) การทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่า ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม และสุขภาวะผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คู่ที่มีความสัมพันธ์กันมากที่สุด คือทุนทางสังคมด้านเครือข่ายกับสุขภาวะผู้สูงอายุด้านสังคม (r=.67) ความสัมพันธ์รองลงมาคือ ทุนทางวัฒนธรรมด้านประเพณีกับสุขภาวะผู้สูงอายุด้านสังคม (r=.61) และความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมด้านเครือญาติกับทุนทางวัฒนธรรมด้านบรรทัดฐานทางสังคม (r=.50) ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยนี้ คือ การสร้างทุนทางสังคมด้านองค์กรให้เข้มแข็ง โดยใช้วัดเป็นศูนย์กลางของการจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของตนเองและบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม
This research is a qualitative and quantitative research with the purpose of 1) analyzing the correlation between the health factors of the aging population which consists of physical health, mental health, social health, and spiritual health 2) analyze correlation between the social capital, cultural capital and healthy aging. The research sample consisted of 350 senior citizens from 14 villages of Amphoe Thatakiap in Chachoengsao Province, Eastern Thailand. The quantitative research instruments implemented in this research were (1) the social capital scale, with a reliability coefficient (alpha) of 0.76 (2) the culture capital scale, with a relaiability coefficient (alpha) of 0.86 and (3) the healthy aging scale, with a reliability coefficient (alpha) of 0.84. And qualitative research instruments implementated in this research were (1) Focus Group Discussion (2) In-depth interview and (3) Non-Participant Observation. The research findings were as the following: 1) Over all of health-related factors of the aging people was very good (x̄=3.28, SD=1.29) especiallt physical health was bettwe than the remaining factors (x̄=3.93, SD=1.21), the second was mental health and social health (x̄=3.55, SD=1.29 and 3.04, SD=1.36 respectively), whereas, spiritual health was middle level (x̄=2.60, SD=1.30). The social capital promotion healthy aging was middle level (x̄=2.83, SD=1.31) as family-related capital within the social capital promoted health of the aging more than others, while organization of social capital was the lowest (x̄=2.60, SD=1.30). The social capital promotion healthy aging was middle level (x̄=2.83, SD=1.31) as family-related within the social capital promoted health of the aging more than others, whilc organization of social capital was the lowest. And culture captiatl was the highest promoted health of the aging (x̄=3.68, SD=1.28). Moreover, normative, traditional, and wisdom of culture capital were the best level. 2) Conclusion of hypothesis testing was that; social capital, cultural capital, and the healthy aging had a significant correlated at the .01. There were statistically significant positive correlation (r=0.67) between family-related factors within social capiatal and the healthy aging. It has the highest correlation. Secondly, was the tradition in social capital health in the healty aging in (r=61) and the third was the family-related factors in social capital and the normative in culture capital (r=.50). Further suggestions of this research include; establishing organizations in the social capital with stability and setting activities in temples as the center for promotion group of elderly in the community to increase potential development and social participation within the community.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1261
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyachat-Klinsuwan.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.