Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1266
Title: แนวทางการตีความอนุสัญญาภาษีซ้อน
Other Titles: Guidelines for Interpretation of Double Taxation Convention
การตีความอนุสัญญาภาษีซ้อน
Authors: วุฒิชัย เต็งพงศธร
Wuthichai Tengpongsthorn
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Law
Keywords: อนุสัญญาภาษีซ้อน
Double taxation -- Treaties
Issue Date: 2011
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: อนุสัญญาภาษีซ้อนถือเป็นข้อผูกพันระหว่างรัฐคู่สัญญาสองรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง ดังนั้น การตีความอนุสัญญาภาษีซ้อนจึงต้องตีความตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 31 ถึง 33 แห่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 และในข้อ 3 (2) แห่งอนุสัญญาต้นแบบขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ซึ่งกำหนดให้รัฐคู่สัญญาทั้งสองรัฐต้องตีความโดยสุจริตตามความหมายธรรมดาที่พึงให้ถ้อยคะในสนธิสัญญา ตามบริบทแห่งถ้อยคำเหล่านั้นและตามความมุ่งหมายของสนธิสัญญา อนุสัญญากรุงเวียนนาฯ ไม่ได้กำหนดให้รัฐคู่สัญญารัฐใดรัฐหนึ่งสามารถกล่างอ้างบทบัญญัติแห่งกฎหมายภายในของประเทศคู่สัญญารัฐนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวเพื่อไม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญา จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ประเทศต่างๆ ยังคงไม่มีหลักเกณฑ์ในการตีความอนุสัญญาภาษีซ้อนที่ชัดเจน แม้ว่าจะมีหลักเกณฑ์ในเรื่องการตีความอนุสัญญาภาษีซ้อนกำหนดไว้ทั้งในอนุสัญญากรุงเวียนนาฯ และในอนุสัญญาต้นแบบของ OECD ก็ตาม แต่หลักเกณฑ์ดังกล่าวก็ไม่ได้ถือเป็นหลักปฏิบัติในการตีความอนุสัญญาภาษีซ้อนโดยศาลภายในอย่างเคร่่งครัด ในส่วนของประเทศไทย จากการศึกษาแนวทางการตีความเงินได้จากค่าสิทธิตามอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศมอริเซียส พบว่า ในคดีดังกล่าว กรมสรรพากรไทยได้มีการอ้างอิงถึงพระราชบัญญัติลิขลิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งเป็นกฎหมายภายใน (นอกจากกฎหมายภาษี) มาประกอบการตีความอนุสัญญาภาษีซ้อน ซึ่งการตีความในลักษณะดังกล่าวน่าจะเป็นการตีความข้อตกลงระหว่างประเทศที่ขัดต่อหลักการตีความในอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยการตีความสนธิสัญญา ค.ศ. 1689 และข้อ 3 (2) ในอนุสัญญาต้นแบบของ OECD
Double taxation convention is a binding contract between the two countries in accordance with international law, so the interpretation of double tax conventions must be interpreted in accordance with the guidelines set forth in Sections 31-33 of the Vienna Convention on the Law of Treaties 1969 and the second paragraph of Article 3 of the OECD Model Convention under which both state governments must interpret them meaning of words in the treaty, context of those words and the purpose of the treaty in good faith. Vienna Convention does not specify that a state party may involve the provisions of its domestic law as justification for its failure to perform a treaty. This study found that countries still have no guidelines to interpret tax Convention clearly. Although there are guidelines in the interpretation defined in the Vienna Convention and the OECD Model Convention but such guidelines have nit reconized as a primary practice in strictly interpretation of Conventions Double Taxation by the domestic court. In Thailand, the interpretation of income from royalties case study in relation to Double Taxation Convention between Thailand and Republic of Mauritius found that Thai Revenue Depertment has referred to the Copyright Act 2537 which is the provisions of demestic law (other than tax law) to the interpretation of Double Taxation Conventions. Such interpretation of international agreement should conflict with the interpretation principles of the Vienna Convention on the interpretation of treaties 1689 and the second paragraph of Article 3 of the OECD Model Convention.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1266
Appears in Collections:Law - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf94.93 kBAdobe PDFView/Open
TableofContents.pdf75.58 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf115.09 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf351.97 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf240.78 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf120.98 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf120.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.