Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1272
Title: | การสร้างสรรค์ชุดหุ่นคนตะลุงโนรา |
Other Titles: | The Creative : Human Puppet Talung- Norah |
Authors: | สุกฤตาวัฒน์ บำรุงพานิช Sukrittawat Bumrungpanit Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Communication Arts |
Keywords: | การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ Creation (Literary, artistic, etc.) โนรา Nora (Thai dance drama) นาฏศิลป์ -- ไทย (ภาคใต้) Dramatic arts -- Thailand, Southern หนังตะลุง Shadow shows -- Thailand, Southern หุ่นคน Human puppet |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาการเชิดหนังตะลุงและการรำโนราศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ 2) ศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ ชุดหุ่นคนตะลุงโนรา 3) การเผยแพร่ผลงานชุด หุ่นคนตะลุงโนราสู่สาธารณชน ผลการวิจัยพบว่าประวัติความเป็นมาการเชิดหนังตะลุงเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ หนังตะลุงเป็นการแสดงที่ต้องอาศัยตัวหนังใช้ผู้บังคับหรือเชิดให้หนังเคลื่อนไหว คือ นายหนังตะลุง ทำหน้าที่ทั้งเชิดทั้งพากย์ เจรจา ตัวหนังตะลุงมีรูปยักษ์ ฤาษี เจ้าเมือง ตัวพระ ตัวนาง และตัวตลก เนื้อเรื่องที่แสดงนิยมแสดงเรื่องราวเกี่ยวก้บจักรๆ วงศ์ๆ เช่น รามเกียรติ์ ชาดก กฎแห่งกรรม ใช้ภาษาใต้ในการดำเนินเรื่อง ตัวเอกหรือตัวเจ้าเมืองนิยมใช้ภาษากลางเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง กลอง ทับ โหม่ง ซอ ฉิ่ง ปี่ และปัจจุบันนำเครื่องดนตรีสากลมาผสม การรำโนราเป็นการแสดงพื้นเมืองของชาวปักษ์ใต้ ความเป็นมามี 2 กระแส 1. ความเชื่อการรำโนรามาจากละครชาตรีของทางภาคกลาง 2. เป็นความเชื่อว่ามาจากคำบอกเล่าจากตำนานขุนศรีศรัทธา ท่าสอนรำมีทั้งหมด 17 ท่า ได้แก่ ท่าสอนรำ ท่าครูรำเทียมบ่า ทำปลดปลงลงมา ท่ารำเทียมพก ท่าวาดไว้ ท่าฝ่ายอก ท่าผาหลา ท่ายกสูงเสมอหน้า ท่าพวงดอกไม้ ท่ารำโคมเวียน ท่ารูปเขียน ท่ากนกโคมเวียน ท่ารำกระเซียนปาดตาล ท่าฉันนี้เสวยนุช ท่าพระพุทธเจ้า ท่าห้ามมาร ท่าพระรามจะข้ามสมุทร ส่วนท่ารำแม่บทจากสายขุนอุปถัมภ์นรากรมีทั้งหมด 12 ท่า ได้แก่ ท่ายืนพนมมือ ท่าจีบซ้าย ท่าจีบขวา ท่าจีบซ้ายเพียงเอว ท่าจีบขวาเพียงเอว ท่าจีบซ้ายไว้หลัง ท่าจีบขวาไว้หลัง ท่าจีบข้างเพียงบ่าซ้าย ท่าจีบข้างเพียงบ่าขวา ท่าจีบซ้ายเสมอหน้า ท่าจีบขวาเสมอหน้า ท่าเขาควาย เครื่องแต่งกายโนราเลียนแบบเครื่องทรงของกษัตริย์ร้อยด้วยลูกปัดโนรามีทั้งหมด 5 ชิ้น พานอก บ่า 2 ข้างซ้าย-ขวา ปิ้งคอหน้าหลังและเครื่องประดับประกอบด้วย เทริด ผ้าถุง หน้าผ้า ผ้าห้อย หางหงส์ กำไลข้อมือ กำไลต้นแขน ทับทรวง ปีกนกแอ่น เครื่องดนตรี ได้แก่ ปี่ ทับ กลอง ฉิ่ง โหม่ง กรับ การสร้างสรรค์ชุดหุ่นคนตะลุงโนรา ได้สร้างสรรค์ ทำนองเพลง ขึ้นมาใหม่ โดยใช้เพลงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ผสมดนตรีสากลง และท่ารำชุดหุ่นคนตะลุงโนราใช้กระบวนการตามแนวคิดของการสื่อให้เห็นคุณค่าของการเชิดหุ่น การเชิดหนังตะลุง และการรำโนรา มาผสมผสานให้เกิดการเคลื่อนไหวในลักษณะท่าทางต่างๆ ตามกิริยาของตัวหนังตะลุงที่มีผู้เชิดบังคับให้เกิดการเคลื่อนไหว ได้แก่่ ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ และตัวตลก นำมาสร้างสรรค์การแสดงตามทฤษฎีนาฏยประดิษฐ์ให้เกิดท่าทางในรูปแบบต่างๆ เพื่อความสวยงาม รวมทั้งแนวคิดการประดิษฐ์เครื่องแต่งกายให้สอดคล้องกับเครื่องแต่งกายโนราแบบกษ้ตริย์ และเครื่องแต่งกายของตัวพระหรือเจ้าเมืองในตัวหนังตะลุงที่มีลักษณะการแต่งกายเลียนแบบกษัตริย์ นำมาออกแบบให้เป็นเอกลักษณะเฉพาะการแสดง ชุด หุ่นคนตะลุงโนรา ใช้เวลาในการแสดง 4.19 นาที ท่ารำมีทั้งหมด 24 ท่า การแผยแพร่ผลงานชุดหุ่นคนตะลุงโนราสู่สาธารณชน ผู้ชมมีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.59) รายการที่มีความพึงพอใจสูงที่สุด คือ การประดิษฐ์ท่ารำการแสดงหุ่นคนชุดตะลุงโนรา (ค่าเฉลี่ย 4.86) รองลงมาการแสดงอารมณ์บ่งบอกถึงบุคลิกลักษณะตัวละคร (ตัวพระ ตัวนาง ตัวตลก ตัวยักษ์) (ค่าเฉลี่ย 4.65) และความพร้อมเพรียงของผู้เชิดและผู้รำ (ค่าเฉลี่ย 4.55) ตามลำดับ ส่วนรายการที่มีความพึงพอใจต่ำที่สุด คือ การออกแบบเครื่องแต่งกายในการแสดง (ค่าเฉลี่ย 4.45) The purposes of this study are to 1) study the history of performing the shadow puppets and Nohra dance, a form of public entertainment in the South of Thailand, 2) study the procedures of the creation of "Man Puppet on Ta-lung Nohra", and 3) disseminate the work or performance of "Man Puppet on Ta-Lung Nohra" to the public. It was found that the history of performing the shadow puppets was a symbol of people in the South of Thailand. Ta-lung was the performance used the figures made of leather and controlled by the dancer who made the figures move. The dancer's duties were performing the puppets, narrating, and speaking at the same time. There were six characters in Ta-lung: the giant, the hermit, the governor, the leading actor, the leading actress, and the clown. The well known stories performed were about the royal family, such as Ramayana, the former incarnations of Lors Buddha, and the law of karma, all of which were done in Southern language. But for the leading characters and the govenor, central Thai was used. The music used in the performance were the drums, tup, mong, fiddle, cymbal, and flute. In the peresent time, the music was combined with modern music. Nohra dance is the native or folk performance of the South. The history came from 2 ways: the belief of Nohra dance in Lakorn Chatree of Central Thai and the belief from retelling of Khun Sri Sattha's legend. There were 17 dances altogether. They were tha sorn rum, the kru-rum-tiem-baa, the pot-plong-long-maa, the rum-tiem-pok, tha wad-wai, tha fai-ok, tha pha-la, tha yok-soong-samoe-naa, tha phuang-dokmai, tha rum-khoam-wein, tha roop-khien, tha kanok-khoam-wein, tha rum-kra-sien-paadtaan, tha chan-ni-sawoie-nut, tha phra-phut-ta-chao, tha ham-maan, and the phra-raam-ca-kham-samut. There were 12 dances from tha rum mae bot on the line of khum Yupathumnarakorn. They were tha yoen-phanom-mue, tha cip-sai, tha cip-khwa, tha cip-sai-phieng-eiw, tha cip-khwa-phieng-eiw, tha cip-sai-wai-lang, tha cip-khwa-wai-lang, tha cip-khang-phieng-baa-sai, tha cip-khang-phieng-baa-khwa, the cip-sao-samoe-naa, tha cip-khwa-samoe-naa, and the khaw-khwai. Nohra costumes imitated those of the king;s sewn with beads. There were 5 pieces of the costumes: pham-ok, 2 shoulders; left and right, ping-khor: front and back. The ornaments consisted of serd, pha-thung, naa-phaa, phaa-hoi, hang-hong, kamlai khor-mue, kam-lai-ton-khaen, tap-suang, and peek-nok-aen. The musical instruments were flutes, tup, the drumps, cymbal, mong and krap. The creation of "Man Puppet Ta-lung Nohra" has created the new tune of music using folk music of the South combined with modern music. The dances of "Man Puppet Ta-lung Nohra" was done by using the idea of communication to see the value of performing the shadow puppets. Performing the shadow puppets combined with Nohra dances have made the movements of various types following the actions of Ta-lung figures, which were controlled by the puppet performer. The Ta-lung figures were the leading actor, the leading actress, the giant, and the clown. These were brought to create the performance following the theory of artificial dance to make different stances for beauty. This included the idea of making costumes to be consistent with Nohra costumes as those of the king's and of the leading actor's or of the governor's in Ta-lung. All of these were brought to be designed as the identity of the performance of "Man Puppet Ta-lung Nohra". The performance took 4.19 minutes with 24 dances altogether. Dissemination of the work, the "Man Puppet Ta-lung Nohra" to the public. The audience were satisfied at the high point, with an average of 4.59. The work with the highest satisfaction was the creation of the dances in the performance, which got an average of 4.86. The second was the emotional expressions showing characters of the performers (the leading actor, the leading actress, the clown, and the giant) which got an average of 4.65. The harmonious performing of the performer and the dancer got 4.55, respectively. The lowest satisfaction was the design of costumes used in the performance, which got only 4.45. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1272 |
Appears in Collections: | Communication Arts - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sukritawat-Bumrungpanit.pdf | 9.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.