Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1286
Title: | การประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Other Titles: | An Evaluation of General Education Curriculum, Huachiew Chalermprakiet University |
Authors: | อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ วุฒิพงษ์ ทองก้อน สิริสรณ์ ทิพทวี Uraipan Janvanichanont WuthipongThongkon Sirisorn Tipthawee Huachiew Chalermprakiet University. Office of the President Huachiew Chalermprakiet University. Office of Academic Development Huachiew Chalermprakiet University. Office of Academic Development |
Keywords: | การประเมินหลักสูตร Curriculum evaluation การศึกษาทั่วไป -- การศึกษาและการสอน General Education -- Study and teaching การศึกษาทั่วไป -- หลักสูตร General Education -- Curricula |
Issue Date: | 2003 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไประดับปริญญาตรี ปีพุทธศักราช 2542 ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินชิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม ทั้ง 4 ด้าน คือ (1) ด้านบริบท (Context) ประเมินเกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของหลักสูตรกับนโยบายในการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยและความต้องการของตลาดแรงงานและสังคม (2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ประเมินเกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่างเนื้อหารายวิชากับวัตถุประสงค์ของรายวิชาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ผู้สอนสื่อการเรียนการสอน สถานที่เรียน หนังสือ/ตำราและเอกสารประกอบการสอน (3) ด้านกระบวนการ (Process) ประเมินเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียน การบริหารหลักสูตรและรายวิชา และ (4) ด้านผลผลิต (Product) ประเมินเกี่ยวกับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอน คุณลักษณะบัณฑิตตามวัตถุประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์ที่มีต่อคุณลักษณะที่คาดหวังและคุณลักษณะที่เป็นจริงของนักศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย นักศึกษาจำนวน 329 คน อาจารย์ประจำผู้สอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 50 คน อาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 105 คน และผู้บังคับบัญชาบัณฑิต จำนวน 299 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 รูปแบบ คือ การวิเคราะห์เอกสาร การสำรวจความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นต่อหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป คุณลักษณะนักศึกษาตามวัตถุประสงค์ แบบประเมินคุณลักษณะบัณฑิต และการสนทนากลุ่ม (Focus Group discussion) การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการทางสถิติ โดยการคำนวณคะแนนเฉลี่ย (x̄) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ได้ผลการประเมิน ดังนี้ 1. การประเมินบริบท พบว่าหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไปสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย ความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน แต่ควรพิจารณาเพิ่มเติมความสามารถเชิงการจัดการ และการพัฒนาคนให้สามารถดำรงชีวิตอย่างพอเพียงร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีดุลยภาพ 2. การประเมินปัจจัยเบื้องต้น พบว่า 2.1 เนื้อหารายวิชาในทุกรายวิชา มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายและความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน โดยควรปรับปรุงวิชาคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ทั่วไป สถิติเบื้องต้นให้เป็นลักษณะวิชาศึกษาทั่วไป และเพิ่มเติมเนื้อหารายวิชาด้านการจัดการ และการพัฒนาคนให้สามารถดำรงชีวิตอย่างพอเพียงร่วมกับผู้อื่นได้ 2.2 ผู้สอน มีคุณวุฒิตรงตามหัวข้อที่สอน มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชาที่สอน ใฝ่หาความรู้ และการจัดการเรียนการสอนเหมาะสมในระดับมาก 2.3 สื่อการเรียนการสอนสอดคล้องกับเนื้อหาวิชามาก แต่ความทันสมัย คุณภาพและความพอเพียงสื่อการเรียนการสอนเหมาะสมระดับปานกลาง สื่อประกอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความพอเพียงอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงและดูแลสื่อประกอบการเรียนการสอนให้องปฏิบัติการให้มีคุณภาพใช้งานได้ 2.4 ห้องเรียน ขนาดของห้องเรียนต่อจำนวนนักศึกษา และลักษณะการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมปานกลาง โดยมีข้อเสนอแนะให้ปรับอุณหภูมิห้องเรียนให้มีความเหมาะสมและความซ่อมแซมเก้าอี้ที่ชำรุด 2.5 หนังสือ/ตำรา และเอกสารประกอบการสอน มีจำนวนเล่ม และจำนวนรายชื่อเพียงพอในระดับปานกลาง และมีความสอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาอยู่ในระดับมาก โดยมีข้อเสนอให้จัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอนแจกให้กับนักศึกษาเมื่อเปิดภาคการศึกษาและจัดหาหนังสือ ตำรา ให้ทันสมัยและมีจำนวนมากขึ้น 3. การประเมินกระบวนการ พบว่า 3.1 กิจกรรมการเรียนการสอน มีวิธีการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียนการสอนเหมาะสมกับเนื้อหารายวิชาและจุดมุ่งหมายรายวิชาในระดับมาก โดยมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในลักษณะบูรณาการรร่วมกับรายวิชาอื่นๆ ในหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จัดกิจกรรมให้มีความหลากหลายและควรใช้กิจกรรมเป็นสื่อการสอนให้มากขึ้น 3.2 การวัดและประเมินผล มีวิธีการวัดและประเมินผลสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายวิชา และการกำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผลเหมาะสมมาก ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้ใช้วิธีการวัดผลที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น 3.3 การบริหารหลักสูตรและรายวิชา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้จัดตั้งคณะกรรมการ หรือหน่วยงานกลางในการดูแลการบริหารหลักสูตรโดยเชิญมาจากคณะที่มีความเข้าใจและเกี่ยวกับหมวดวิชาศึกษาทั่่วไปมาเป็นคณะกรรมการบริหารหลักสูตร 4. การประเมินผลผลิต พบว่า 4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ส่วนใหญ่มีผลการเรียนตั้งแต่ระดับพอใข้ขึ้นไปถึงระดับดีมาก (เกรด A-C) สูงกว่าระดับอ่อนถึงตก (เกรด D-F) เกือบทุกรายวิชา ยกเว้น MA 1003 คณิตศาสตร์ และ MA 1033 คณิตศาสตร์ทั่วไป 4.2 นักศึกษาและอาจารย์มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปในภาพรวม ในระดับมาก 4.3 คุณลักษณะบัณฑิตตามวัตถุประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไปจากการประเมินโดยผู้บังคับบัญชามีความเหมาะสมในระดับมาก ยกเว้นการมีความรู้กว้างในวิชาพื้นฐานหลายสาขาวิชา มีความรู้ในวิทยากรที่เป็นสากล มีความสามารถปฏิบัติงานได้ในภูมิภาคเอเซีย ความสามารถในการใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารอย่างน้อย 2 ภาษา และความเป็นผู้นำ อยู่ในระดับปานกลาง 4.4 นักศึกษาและอาจารย์คาดหวังต่อคุณลักษณะที่ได้จากการเรียนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปในระดับมาก ซึ่งคุณลักษณะที่เป็นจริงในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อคุณลักษณะที่คาดหวังกับคุณลักษณะที่เป็นจริง พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 The study aimed to evaluate the B.E. 2542's Bachelor's degree General Education Curriculum at Huachiew Chalermprakiet University, using Stufflebeam's CIPP Model to assess all 4 core parts: Context, the alignment between the goals of the curriculum and the University's policy on delivering graduates to meet the needs of workplaces and society; Input, the alignment among the course syllabus, the course objectives, and the curriculum objectives along with the instructors, instructional materials, learning environment, books/textbooks, and supplementary materials; Process, the teaching-learning activities, the measurement and evaluation of learning outcome, the administration of curriculum and syllabus; and Product, the student's achievement, and the degree of satisfaction with teaching-learning administration. The supervisors evaluated the graduates' characteristics based on the objectives of the General Education subjects, comparing them with the expected characteristics of the students and the existing characteristics in reality. The sample group of subjects in this study consisted of 329 students, 50 permanent instructors attached to General Education Department, 105 instructor-advisors, and 299 alumni's supervisors at work. There were 3 main types of data gathering tools: document analysis; questionnaires asking opinions about overall attitudes towards the General Education Department, student's characteristics bases on established objectives, graduate's characteristics assessment form, and focus group discussions. The data were analyzed statistically by using means, and standard deviation (S.D), which yield the following results. 1. Context Evaluation: It was found that the General Education Curriculum was commensurate with the University policy as well as the needs of society and workplaces. However, a consideration should be given to an addition of the development of management skills, and the development of individuals so that they can sufficiently maintain their livelihood with others in a balanced fashion. 2. Input Evaluation: It was found that: 2.1 The contents of every course were commensurate with the objectives, purposes and needs of the society and workplaces, to be improved on the subject of Mathematics. General Mathematics, and Basic Statistics, all of which should be geared towards general education subjects, and to add more contents in Management and how to develop individuals so that they can sufficiently maintain their livelihood with others in the society. 2.2 The instructors' qualifications were commensurate with the topics to be taught; they had necessary experience and expertise in the subjects they were to teach; they were academically inquiring-minded, and were able to effectively manage their classrooms at a high level. 2.3 Instructional materials were highly commensurate with the course contents, but their modernity, quality, and adequacy were moderately appropriate. There were sufficient self-instructional materials at a moderate level. Recommendations were made to improve and oversee the instructional materials in the laboratories so that they would be in good working condition. 2.4 The average size of each classroom with the matching number of students and the management of teaching/learning process were moderately appropriate. There was a recommendation to readjust the classroom temperature too a comfortable and appropriate level and also to repair student's non-functional seats. 2.5 There were sufficient numbers of books/textbooks, supplementary materials at a moderately adequate level, and they were commensurate with the course syllabi at a high level. There was a recommendation to distribute course syllabi to all students at the beginning of the school term and to acquire more modern and a larger number of books/textbooks. 3. Process Evaluation: It was found that: 3.1 For teaching/learning activities, there were teaching methods that were commensurate with the objectives. Teaching/learning activities matched the course syllabus and objectives at a high level. Some of the recommendations were the extracurricular activities should be integrated with those of other subjects in the General Education Department and should be more diverse, and at the same time more activities should be increasingly employed to represent instructional media. 3.2 Measurement and Evaluation: Measurement and evaluation were commensurate with the course objectives. The established criteria for measurement and evaluation were very appropriate. One of the recommendations was using a wider variation of evaluation methods. 3.3 Curriculum and course administration were moderately appropriate. It was recommended that there be a formulation of a committee or a central working unit to oversee the curriculum administration by inviting those who can understand and may already by involved in the General Education Department to join the curriculum administration committee. 4. Product Evaluation: 4.1 The results of student's achievement indicated that most students obtained from average to very good grades (A-C), higher than from low to failure (D-F) almost in every subject except for the courses MA 1003, Math; and MA 1033, General Math. 4.2 Both the students and the instructors were satisfied with the overall management of General Education subjects at a high level. 4.3 The characteristics of graduates based on the objectives of General Education subjects as assessed by the supervisors were highly appropriate, except in area of the all-roundedness of the level of the knowledge in various General Education subjects, the area of universal knowledge, the capability to work in Asian Region, the ability to use at least 2 different languages for communication, and finally the area of leadership, all of which were at a moderate level. 4.4 Both the students and instructors expected certain characteristics from the learning of General Education at a high level, the characteristics which transformed into reality at a moderate level and when compared with the opinions between the expected traits and the real ones, it was founded that it was statistically significant at the level of .01. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1286 |
Appears in Collections: | Office of The President - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Uraipan-Janvanichyanont.pdf | 143.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.