Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1287
Title: | การศึกษาความรู้ ความเข้าใจเเละทัศนคติของอาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน เเละนักศึกษาต่อการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Other Titles: | Knowledge, Understanding, and Attitude of Academic Staffs, Supporting Staffs, and Students for Internal Education Quality Assurance of Huachiew Chalermprakiet University |
Authors: | สุวรรณี มงคลรุ่งเรือง วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย รัตนา อินทรานุปกรณ์ ศิรประภา ทับทิม Suwanee Mongkhonrungreang Vanida Durongrittichai Rattana Indranupakorn Sriraprapa Tubtim Huachiew Chalermprakiet University. Planning and Development Department Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Pharmaceutical Sciences Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Pharmaceutical Sciences |
Keywords: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ -- บุคลากร -- ทัศนคติ Huachiew Chalermprakiet University -- Employees -- Attitudes มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ -- นักศึกษา -- ทัศนคติ Huachiew Chalermprakiet University -- Students -- Attitudes ประกันคุณภาพการศึกษา Educational quality assurance |
Issue Date: | 2016 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติ รวมทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะส่วนบุคคล การมีส่วนร่วมและความคิดเห็นของอาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน และนักศึกษาต่อความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติในการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยอาจารย์ จำนวน 89คน บุคลากรสายสนับสนุน จ านวน 133 คน นักศึกษา จำนวน 1,477 คน และผู้บริหารของมหาวิทยาลัย จำนวน 20 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและมีค่าความเชื่อมั่น 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1) อาจารย์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี การศึกษาปริญญาโท ประสบการณ์ทำงานมากกว่า 5 ปี ช่วง 1 ปีที่ผ่านมาเคยอบรมความรู้การประกันคุณภาพการศึกษา เคยดำรงตำแหน่งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะวิชา ระยะเวลาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี เคยดำรงตำแหน่งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยระยะเวลามากกว่าหรือเท่ากับ 2 ปี และได้รับการชี้แจงบทบาทของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา 2) บุคลากรสายสนับสนุนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41 ปีขึ้นไป การศึกษาปริญญาตรี ประสบการณ์ทำงานมากกว่า 5 ปี ช่วง 1 ปีที่ผ่านมาไม่เคยอบรมความรู้การประกันคุณภาพการศึกษา เคยดำรงตำแหน่งคณะกรรมการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาระยะเวลาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี เคยดำรงตำแหน่งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยระยะเวลาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี และได้รับการชี้แจงบทบาทของคณะกรรมการ ที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา 3) นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-25 ปี ชั้นปีที่ 3 ไม่เคยอบรมความรู้การประกันคุณภาพการศึกษา เคยดำรงตำแหน่งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ปี เคยดำรงตำแหน่งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเป็นเวลา 1 ปีและไม่ได้รับฟังการชี้แจงบทบาทคณะกรรมการที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจ พบว่า บุคลากรสายสนับสนุน และนักศึกษาที่เพศ การอบรมประกันคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานภายใน/ภายนอกและระดับความคิดเห็นการมีส่วนร่วมในกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาต่างกันมีความรู้ ความเข้าใจในการประกันคุณภาพการศึกษาแตกต่างกัน อาจารย์และนักศึกษาสังกัดคณะวิชาต่างกันมีความรู้ ความเข้าใจในการประกันคุณภาพการศึกษาแตกต่างกัน อาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนที่มีอายุต่างกันมีความรู้ ความเข้าใจในการประกันคุณภาพการศึกษาแตกต่างกัน บุคลากรสายสนับสนุนที่มีประสบการณ์การทำงาน การรับการอบรมในการประกันคุณภาพการศึกษาเคยดำรงตำแหน่งคณะกรรมการที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับมหาวิทยาลัยและระดับความคิดเห็นต่อทีมผู้บริหารของหน่วยงานแตกต่างกัน มีความรู้ ความเข้าใจในการประกันคุณภาพการศึกษาแตกต่างกัน นักศึกษาที่ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะวิชา และการมีบทบาทต่องานประกันคุณภาพการศึกษาและระดับความคิดเห็นที่มีต่อส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาต่างกัน มีความรู้ ความเข้าใจในการประกันคุณภาพการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการเปรียบเทียบทัศนคติ พบว่า บุคลากรสายสนับสนุนและนักศึกษาที่รับการอบรมด้านการประกันคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานภายใน/ภายนอกแตกต่างกันมีทัศนคติต่อการประกันคุณภาพการศึกษาแตกต่างกัน นักศึกษาที่บทบาทในงานประกันคุณภาพการศึกษาแตกต่างกันมีทัศนคติต่อการประกันคุณภาพการศึกษาแตกต่างกัน โดยอาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุนและนักศึกษาที่มีระดับความคิดเห็นการมีส่วนร่วมในกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาแตกต่างกันมีทัศนคติต่อการประกันคุณภาพแตกต่างกัน อาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุนที่มีระดับความคิดเห็นต่อทีมผู้บริหารของหน่วยงานและกระบวนการบริหารจัดการงานประกันคุณภาพการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยต่างกัน มีทัศนคติต่อการประกันคุณภาพการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ในส่วนของผู้บริหาร ได้เสนอว่าปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้แก่ 1) การสร้างความเข้าใจในตัวบ่งชี้คุณภาพให้บุคลากรได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ 2) การวางแผนการทำงานอย่างละเอียดและกระจายงานอย่างเหมาะสม 3) บุคลากรและการสนับสนุนขององค์กรเป็นปัจจัยความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 4) การวางแผนพัฒนางานให้ตรงตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษาของ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 5) การทำความเข้าใจให้ตรงกันในความหมายและการปฏิบัติตามตัวบ่งชี้คุณภาพและเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษา 6) การวางระบบงานรองรับการประกันคุณภาพควบคู่กับการทำให้บุคลากรเข้าใจการประกันคุณภาพด้วยรูปแบบ/กิจกรรมที่หลากหลาย This research was to study knowledge, understanding and attitude for educational quality assurance (QA) system of academic staffs, supporting staffs and students of Huachiew Chalermprakiet University. Factors affecting these knowledge, understanding and attitude for QA, such as common characteristics, roles and participation in QA were also studied. Our respondents were 89 academic staffs,133 supporting staffs, 1,477 students and 20 administrators. Research tool was questionnaire with Cronbach’s alpha coefficient of 0.97 for reliability and approved by experts for validity. The data was statistically analyzed and presented as percentage, mean and standard deviation. Mean differences was tested by T-test analysis. Our First group of respondents were academic staffs, mostly female aged 31-40 years, holding Master’s degree, with more than 5-year working experience and training experience of QA during the past year. Most of them participated in QA committee of their faculties within 5 years and some served in QA committee at the university’s level. Most of them were also explained about their roles in QA. The second group of our respondents were supporting staffs, mostly female aged ≥ 41 years, holding bachelor’s degree with more than 5-year working experience but no training experience of QA during the past year. Most of them participated in QA committee of their faculties. Some served in QA committee at the university’s level within 5 years. They also learned about their roles in QA. Another group of our respondents were students, mostly female aged 21-25 years and studying in third year. Some of them used to participate in QA committee at their faculties’ level and/or at the university’s level for not more than 1 year. However, some had neither been trained nor thoroughly explained about QA. Our study showed that difference in sex, internal and external training experience of QA and level of agreement with issues about participation in QA process significantly affected knowledge and understanding of QA in supporting staff group and student group. Academic staffs and students from different faculties had different knowledge and understanding of QA. Age was also a factor affecting knowledge and understanding of QA in academic and supporting staff groups. We also found that supporting staffs with different experience as members of QA committee either at the faculties’ level or university’s level and different level of agreement with issues about QA performance of administrators of each faculties had different knowledge and understanding of QA. Differences in either experience as members of QA committee or roles and responsibilities in QA also significantly affected knowledge and understanding of QA in student group. For factors affecting the attitude towards QA, our study showed that supporting staffs and students with different internal and/or external training experience of QA had different attitude towards QA. Students with roles and responsibilities in QA had different attitude from those who had no roles and responsibilities. Level of agreement with issues about participation in QA process also affected the attitude of academic staffs, supporting staffs and students towards QA. Both academic staffs and supporting staffs with different level of agreement with issues about QA performance of administrators of each faculties and QA management by the university had significantly different attitude towards QA. In-depth interview of the university administrators revealed that factors promoting success of QA performance were; 1. Making all staffs understand each quality assurance index, 2.Thoroughly planning of QA procedures and appropriately distribution of QA work, 3. Encouraging by the organization and collaboration of all staffs. 4. Planning for improvement of each office’s work guided by index and standard evaluation of educational quality by the Office of the Higher Education Commission and the Office for National Education Standard and Quality Assessment, 5. Clarification in meaning and performance of QA according to index and standard evaluation of educational quality and 6. Setting system supporting QA task together with creating various activities to enhance realization of all staffs the importance of QA. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1287 |
Appears in Collections: | Planning and Development Department -Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suwanee-Mongkhonrungreang.pdf | 4.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.