Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1297
Title: การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: The Evaluation of Medical Science Curriculum : Bachelor’s Degree Programme (Revised Edition 2018), Faculty of Science and Technology, Huachiew Chalermprakiet University
Authors: บังอร ฉางทรัพย์
จันเพ็ญ บางสำรวจ
อัญชลี ชุ่มบัวทอง
ภาสินี สงวนสิทธิ์
ระพีพันธุ์ ศิริเดช
Bangon Changsap
Janpen Bangsumruaj
Anchalee Choombuathong
Pasinee Sanguansit
Rapipan Siridet
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Keywords: วิทยาศาสตร์การแพทย์ -- หลักสูตร
Medical sciences -- Curricula
การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
วิทยาศาสตร์การแพทย์ -- การศึกษาและการสอน
Medical sciences -- Study and teaching
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพและหาแนวทางการปรับปรุงการจัดการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการบริหารหลักสูตร และด้านผลผลิตของหลักสูตร ตามแบบจำลองซิบป์(CIPP Model) ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย อาจารย์ นักศึกษา บัณฑิต ผู้บังคับบัญชา/ผู้ใช้บัณฑิต และผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 126 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรทุกด้านอยูาในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของหลักสูตร 3 ด้าน ได้แก่ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์หลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร และเนื้อหาของหลักสูตรในรายวิชาต่าง ๆ พบว่าในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.38 ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ลดรายวิชาและหน่วยกิตที่ไม่จำเป็นออก และควรเพิ่มรายวิชากลุ่มวิชาชีพเน้นทักษะการปฏิบัติด้านภาษา และด้านการแก้ปัญหาให้แก่นักศึกษามากขึ้น รวมทั้งจัดรูปแบบการเรียนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. การประเมินปัจจัยนำเข้าหลักสูตร 3 ด้าน ได้แก่ คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา คุณสมบัติของอาจารย์และปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนการสอน พบว่าภาพรวมกลุ่มตัวอย่างประเมินในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.55 โดยปัจจัยด้านคุณสมบัติของอาจารย์และผู้เข้าศึกษา มีการประเมินในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.79 และ 4.66 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนการสอน พบว่าระดับการประเมินน้อยกว่าด้านอื่น ๆ โดยมีระดับการประเมินในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวม 4.19 นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเพิ่มเติมให้จัดหาปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนการสอนให้เพียงพอและทันสมัย รวมทั้งควรมีการปรับคุณสมบัติผู้เข้าศึกษาโดยให้โอกาสมากขึ้นสำหรับผู้สนใจเรียนในหลักสูตร 3. การประเมินกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ประกอบดวยการจัดการเรียนการสอน และการวัด และประเมินผล พบว่าอาจารย์ในหลักสูตรประเมินในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.80 โดยกลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่น่าสนใจ รวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาอาจารย์และมีการวัดประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ 4. การประเมินด้านผลผลิตหลักสูตรหรือบัณฑิตของหลักสูตร พบว่าผู้บังคับบัญชา/ผู้ใช้บัณฑิตมีการประเมินบัณฑิตทุกด้านในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.07 โดยมีความคิดว่าโดยภาพรวมบัณฑิตของหลักสูตร เป็นผู้มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม มีความขยัน อดทน และมีพฤติกรรมทีดีในด้านต่าง ๆ โดยมีข้อเสนอแนะในการเพิ่มเติมกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้บัณฑิตมีทักษะในด้านภาษา ด้านการแก้ปัญหา และทักษะการใช้เครื่องมือทางวิชาชีพมากขึ้น จากผลการวิจัยข้างต้น คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) ตามผลการประเมินโดยการปรับลดรายวิชาที่ไม่จำเป็นสำหรับวิชาชีพ โดยควรเพิ่มหรือปรับปรุงรายวิชาที่เพิ่มทักษะด้านการปฏิบัติการ ด้านภาษา และทักษะการแก้ปัญหา และควรปรับปรุงการเพิ่มจุดเด่นให้แก่บัณฑิตของหลักสูตรที่ชัดเจนขึ้น
The objectives of this research were to assess the quality and to find ways to improve educational management in the Bachelor’s Degree in Medical Science Curriculum (Revised Edition 2018), Faculty of Science and Technology, Huachiew Chalermprakiet University. The CIPP Model was used to evaluate the program in four aspects 1 ) context 2) input 3) process and 4) product . The specific samples were 126 persons consisted of students, graduates, instructors, employers, and curriculum experts. The quality questionnaire were developed to evaluate the curriculum. Quantitative data were analyzed statical values of frequency, percentage, mean, and standard deviation but qualitative section by content analysis. The results revealed that participants evaluated the appropriateness of the curriculum at the high and the highest level. The details are as follows : 1. Contextual assessment of three curriculums: The sample groups assessed the appropriateness of the curriculum objectives, number of credits and course contents at the high level with an average score of 4.38. The sample group had additional opinions to reduce unnecessary courses and credits. It should add courses in professional groups focusing on practical language skills and create learning styles to optimize learning outcomes effectively. 2. Input assessment of three curriculums: The sample groups assessed the student requirements , instructor qualifications and supportive factors that conducive to teaching at the high level with an average score of 4.55. Factors relating to the qualifications of teachers and students is assessed at the highest level with a total mean of 4.79 and 4.66, respectively. The factors contributing to teaching and learning found that the assessment level was lower than other aspects with a high level of assessment with a total mean of 4.19. In addition, the sample group had additional opinions to provide sufficient and up-to-date factors that facilitate teaching and learning. In addition, applicant qualifications should be adjusted to provide more opportunities for those interested in studying in the program 3. Assessment of curriculum management include teaching, measurement and evaluation : It was found that the teachers in the courses were assessed at the highest level. with an average of 4.80. All of the sample groups expressed their opinions and suggestions on organizing interesting teaching and learning activities and student development activities. In addition, teachers should be encouraged to develop and have effective assessments. 4. Graduation assessment of the curriculum. It was found that supervisors/graduates users had a high level of evaluating graduates in all aspects. with a total mean of 4.07. They assessed that, overall, the graduates of the program were knowledgeable, moral, ethical, diligent, patient, and had good behavior in various fields. There were suggestions for additional teaching and learning activities for graduates to have language skills. problem solving and skills in using professional tools more. According on the results, the researcher suggested to improve the Bachelor of Science program, Medical Sciences (Course revised B.E. 2522) according to the results of the assessment by reducing the courses that are not necessary for the profession. Courses should be added or improved to increase operational skills, language skills, and problem-solving skills. and should improve to add more distinctive features to the graduates of the course.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1297
Appears in Collections:Science and Technology - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bang-on.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.