Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/130
Title: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง ในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Health Literacy Health Behavior and Cardiovascular Disease Risk among Patients with Diabetes and Hypertension in Bang Phi District Samut Prakan Province
Authors: นพนัฐ จำปาเทศ
กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม
ศิริพร ชุนฉาย
Keywords: เบาหวาน -- ผู้ป่วย -- การดูแล
เบาหวาน -- ผู้ป่วย -- ไทย -- สมุทรปราการ
น้ำตาลในเลือด -- การควบคุม
เบาหวาน -- การรักษา
พฤติกรรมสุขภาพ
Blood glucose -- Control
Diabetes -- Treatment
Health behavior
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 150 ราย ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยโปรแกรม Thai CV risk score ในการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. โดยมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามระหว่าง .72-.87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Spearman’s Rho correlation และ Likelihood ratioผลวิจัยพบว่า ระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงมีระดับต่ำและปานกลางรวมกัน ร้อยละ 65.4 ความรอบรู้ด้านสุขภาพตามพฤติกรรม 3อ. 2ส. โดยรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 56.0 และความรอบรู้ด้านสุขภาพรายด้าน พบว่า ความรู้ ความเข้าใจทางสุขภาพอยู่ในระดับถูกต้องที่สุด ร้อยละ 45.3 การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การจัดการตนเอง การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 65.3, 51.3, 70.7 และ 78.0 ตามลำดับ ส่วนการสื่อสารสุขภาพส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 56.0 สำหรับพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ. 2ส. ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 49.3 ความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3อ. 2ส. โดยรวมการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสารสุขภาพ ด้านการจัดการตนเองและด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.263, p=.001, r=.227, p=.005, r=.233, p=.004, r=.242, p=.003, r=.292, p<.001 ตามลำดับ) ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพตามพฤติกรรม 3อ. 2ส. ด้านการสื่อสารสุขภาพสัมพันธ์กับระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (LR=18.025, p=.035) จากผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการดูแลหรือโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้ความรอบรูด้านสุขภาพ โดยเฉพาะด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสารสุขภาพ การจัดการตนเอง และการตัดสินใจเลือกการปฏิบัติที่ถูกต้อง
This aim of this descriptive study was to investigate the association between health literacy, health behavior and cardiovascular risk in patients with diabetes and hypertension. The sample consisted of diabetes patients with hypertension treated at Bang Chalong Sub district Health Promoting Hospital Bang Phi District, Samut Prakan Province, with 150 cases obtained by cluster sampling. The research instruments consisted of the Thai CV risk score program to assess cardiovascular risk and the 3E. 2S. health literacy and health behavior questionnaire with a reliability range of .72 - .87. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, Spearman’s Rho correlation and Likelihood ratio.The results showed that the risk level for cardiovascular disease in diabetic and hypertensive patients was at low and moderate levels, 65.4%. Most of the participants had health behaviors according to 3E. 2S. is at a very good level, 49.3%. The overall 3E. 2S. health literacy of the sample was at a good level, 56.0%. Health literacy in each skill found that cognition level was at the most accurate 45.3%, access to information and health services, self-management, media literacy, decisions-making to take the right action skill were at a very good level, 65.3%, 51.3%, 70.7% and 78.0%, respectively, while health communication skill was at a fair of 56.0%. The overall 3E. 2S. health literacy, access to information and health services, health communication, self-management and decisions-making to take the right action skill were statistically significantly positively correlated with the 3E. 2S. health behaviors (r=.263, p=.001, r=.227, p=.005, r=.233, p=.004, r=.242, p=.003, r=.292, p<.001, respectively). Health communication skill in which of health literacy was statistically significantly associated with cardiovascular risk (LR=18.025, P= .035).The result of this study can be used as a basis for developing a health behavior modification programs using health literacy, particularly in access to information and health services health communication, self-management, and decision-making to the right action.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2564
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/130
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SIRIPORN-CHUCHAI.pdf4.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.