Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1300
Title: แบบประเมินประสิทธิภาพการทำงานของแขน TEMPA ฉบับภาษาไทย : การแปลพร้อมกับศึกษาความน่าเชื่อถือของผู้ประเมินในผู้สูงอายุ
Other Titles: Upper Extremity Performance Test for the Elderly (TEMPA) in Thai version: Translation with Reliability Test in Elderly
Authors: น้ำผึ้ง ปุญญนิรันดร์
Numpung Punyanirun
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy
Keywords: แขน -- กายวิภาค
Arm
ผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย
Older people -- Health and hygiene
ความเชื่อถือได้
Reliability
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: วัตถุประสงค์ : เพื่อแปลแบบประเมินประสิทธิภาพการทำงานของแขน TEMPA เป็นภาษาไทย (TEMPA-Thai) และทดสอบความเที่ยงของผู้ประเมินในผู้สูงอายุ วิธีการ : นำแบบประเมิน TEMPA ต้นฉบับแปลเป็นภาษาไทยจำนวน 2 ฉบับโดยผู้แปล 2 คน (T1 และ T2) จากนั้นนำฉบับภาไทย ทั้ง 2 ฉบับมาวิเคราะห์ให้เป็นภาษาไทย 1 ฉบับ (T12) จากนั้นนำฉบับดังกล่าวแปลกลับเป็นภาษาอังกฤษโดยเจ้าของภาษาที่สามารถอ่านภาษาไทยได้ จำนวน 2 ฉบับ (BT1 และ BT2) จากนั้นนำทั้ง 2 ฉบับมาวิเคราะห์ โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน เพื่อวิเคราะห์ต้นฉบับภาษาไทยที่เหมาะสมที่สุด (TEMPA-Thai) จากนั้นผู้วิจัยนำแบบประเมินฉบับสมบูรณ์ มาทดสอบในผู้สูงอายุจำนวน 30 คน โดยการประเมินจะทำโดยนักกายภาพบำบัดและขณะทำการทดสอบจะบันทึก VDO หลังจากวันที่ทดสอบ 1 สัปดาห์ จะนำ VDO มาใช้ในการทดสอบซ้ำ เพื่อหาค่าความเที่ยงในการประเมิน การวิเคราะห์หาความเที่ยงในการวัดซ้ำ โดยใช้โปรแกรมทางสถิติ และใช้สถิติ Intra-class correlation coefficients (ICC(3,1)) ผลการวิจัย : แบบประเมิน TEMPA-Thai มีค่าความน่าเชื่อถือในการวัดซ้ำในระดับดีเยี่ยม ICC(3,1)= 0.956-1.00 นอกจากนี้ในงานวิจัยนี้ยังได้คำนวณค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัด (standard error of measurement; SEM) พบว่ามีค่าระหว่าง 0.00-3.75 และ แบบประเมิน TEMPA-Thai มีค่า MDC อยู่ระหว่าง 0.00-10.41 วินาที สรุปผลการวิจัย : แบบประเมิน TEMPA-thai เป็นแบบประเมินที่สามารถในการทำงานของรยางค์แขนในผู้สูงอายุ เนื่องจาก เป็นแบบประเมินมีค่าความน่าเชื่อถือในการวัดซ้ำในระดับดีเยี่ยม
Objective: This study aimed to translate TEMPA to the Thai version and to measure the intra-rater reliability in the elderly. Method: The original TEMPA was translated into Thai in two copies by two translators (T1 and T2). The researcher analyzed both Thai versions into one Thai version (T12) and then translated it back into English by two native speakers who can read the Thai language (BT1 and BT2). After that, three experts (the physical therapist) analyzed the final synthesis draft (TEMPA-Thai). Then, the researcher measures the intra-rater reliability of TEMPA-thai in thirty elderlies. The test is done by a rater who is a physical therapist and records the VDO while testing. After one week, the VDO will be tested again by the same rater. Intra-class correlation coefficients (ICC (3,1)) were used to measure the intra-rater reliability. Result: The TEMPA-thai had excellent reliability (ICC (3,1) = 0.956-1.00). In addition, in this study was calculated the standard error of measurement (SEM) was between 0.00-3.75. The TEMPA-thai had an MDC value between 0.00-10.41 seconds Conclusion: The TEMPA-Thai was a suitable assessment to measure the upper limb function in the elderly. TEMPA-thai had excellent reliability.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1300
Appears in Collections:Physical Therapy - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Numpung-Punyanirun.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.