Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1301
Title: การรับรู้ความเครียด กลยุทธ์การเผชิญความเครียด และภาวะหมดไฟของบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง สังกัดกรุงเทพมหานคร ระหว่างการระบาดของโรคโควิด 19
Other Titles: Perceived Stress, Coping Stress Strategies, and Burnout among Healthcare Workers of The Hospital under The Jurisdiction of Bangkok during COVID-19 Outbreak
Authors: ภัทรพร ยุบลพันธ์
เจษฎา คุณโน
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
Keywords: ความเครียด (จิตวิทยา)
Stress (Psychology)
การบริหารความเครียด
Stress management
บุคลากรทางการแพทย์
Medical personnel
โควิด-19 ‪(โรค)‬
COVID-19 (Disease)
การระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020-
COVID-19 Pandemic, 2020-
ความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา)
Burnout, Professional
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การระบาดของโรคโควิด-19 สามารถส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์เกิดความเครียด และต้องมีวิธีการจัดการที่เหมาะสม รวมถึงเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ความเครียด การใช้กลยุทธ์การเผชิญความเครียด ภาวะหมดไฟในงาน รวมถึงศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการศึกษาเชิงปริมาณแบบภาคตัดขวาง ระหว่างเดือนมิถุนายน- กรกฎาคม พ.ศ.2564 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม คือ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 517 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม โดยดำเนินการเก็บข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน เพื่อระบุปัจจัยทำนายการรับรู้ความเครียด การใช้กลยุทธ์เผชิญความเครียด และภาวะหมดไฟในการทำงาน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.05 ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้ความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง (Mean= 1.96, S.D.= 0.48) มีคะแนนการใช้กลยุทธ์เผชิญความเครียดในภาพรวมในระดับปานกลาง (Mean= 2.53, S.D.= 0.35) ในรายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างใช้กลยุทธ์การแก้ปัญหามากที่สุด (Mean= 3.25, S.D.= 0.60) กลุ่มตัวอย่างมีภาวะหมดไฟในงานภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีภาวะหมดไฟด้านความเหนื่อยล้าจากผู้รับบริการ/สถานการณ์การระบาดมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (Mean= 1.61, S.D.= 0.71) ปัจจัยที่สามารถทำนายการรับรู้ความเครียด ได้แก่ จำนวนเพื่อนร่วมงาน (p-value < 0.001) ระดับการศึกษา (p-value < 0.001) และการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว (p-value = 0.005) ส่วนการใช้กลยุทธ์การเผชิญความเครียดพบว่ามีเพียงปัจจัยการมีบุตร (p-value < 0.001) สามารถทำนายได้ และปัจจัยที่ทำนายภาวะหมดไฟในงาน ได้แก่ ชั่วโมงการนอนหลับ (p-value < 0.008) เพศหญิง (p-value < 0.036) และจำนวนชั่วโมงการทำงาน (p-value < 0.036)การศึกษานี้เสนอแนะว่า การได้รับแรงสนับสนุนจากสถานที่ปฏิบัติงานในการปฏิบัติงานช่วงการระบาดเป็นสิ่งที่จำเป็น โรงพยาบาลควรจัดกิจกรรมส่งต่อความห่วงใย ผ่านการจัดเวทีให้บุคลากรใช้เป็นพื้นที่ส่งต่อกำลังใจ แลกเปลี่ยนวิธีการเผชิญความเครียดซึ่งกันและกัน การสร้างบอร์ด stress-free หรือ กิจกรรม Buddy-Budder เพื่อให้เกิดความผ่อนคลายจากสถานการณ์
COVID-19 outbreak affects to healthcare workers (HCWs) in terms of stress which needed strategies to deal with and burnout. This study aimed to explore perceived stress, coping strategies, and burnout in HCWs and examined factors associated with these issues. A quantitative cross-sectional study was conducted in June-July 2022. The participants were gained by cluster sampling. They were healthcare workers at a hospital under the jurisdiction of Bangkok. 517 HCWs self-reported for the online survey. Statistical analysis including descriptive statistics and a multiple linear regression - stepwise method was used to determine predictive factors for perceived stress, coping strategies, and burnout. The statistical significance was defined at p-value < .05. The result showed that overall, participants perceived stress at a moderate level (Mean= 1.96, S.D.= 0.48). They used coping strategies at a moderate level (Mean= 2.53, S.D.= 0.35). Most strategies used in problem-solving strategy (Mean= 3.25, S.D.= 0.60). Burnout level was determined at a low level. There was a highest burnout score in dimension of patient/situation (Mean= 1.61, S.D.= 0.71). The factors that can predict perceived stress were a number of coworker (p-value < 0.001), education level (p-value < 0.001), and family illness (p-value = 0.005). Having a child was the only factor associated with using coping strategies (p-value < 0.001). Burnout predictive factors were sleeping hours (p-value < 0.008), female (p-value < 0.036), and work hours (p-value < 0.036). This study suggested that support from the workplace is needed during an outbreak situation. There are some activities that hospitals can make the area or stage for giving caring, empowering, and sharing with each other. Creating stress-free boards or the Buddy-Budder program which can help healthcare workers get to relax.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1301
Appears in Collections:Public and Environmental Health - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pataraporn-Yubonpunt.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.