Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1304
Title: | โครงการวิจัย การยกระดับโซ่คุณค่าของห่วงโซ่อุปทานปลาสลิดแปรรูป จังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Value Chain Elevation of Snakeskin Gourami (Trichogaster Pectorolls) Processing Supply Chain in Samut Prakarn Province รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย การยกระดับโซ่คุณค่าของห่วงโซ่อุปทานปลาสลิดแปรรูป จังหวัดสมุทรปราการ การยกระดับโซ่คุณค่าของห่วงโซ่อุปทานปลาสลิดแปรรูปจังหวัดสมุทรปราการ |
Authors: | ชุติระ ระบอบ ชีรวิทย์ สุรีรัตนันท์ บรรเจิดศักดิ์ สัณหภักดี ชณิชา หมอยาดี มรกต กำแพงเพชร กันต์ติกมาฐ รัตนปริญญานุกูล Chutira Rabob Cheerawit Sureerattanan Benjertsak Sannhapuckdee Chanicha Moryadee Morakhot Kamphaengphet Kantikamart Rattanaparinyanukune Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Suan Sunandha Rajabhat University. College of Logistics and Supply Chain Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | ปลาสลิด -- ไทย -- สมุทรปราการ Snakeskin gourami -- Thailand -- Samut Prakarn มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ Economic value added การบริหารงานโลจิสติกส์ Business logistics ปลาสลิดแปรรูป Processed Snakeskin gourami |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากระบวนการโซ่อุปทานปลาสลิดแปรรูปตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคปลาสลิดของผู้บริโภคเพื่อนำมาวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ปลาสลิดแปรรูป ที่มีมูลค่าสูงเพื่อยกโซ่คุณค่าในโซ่อุปทานปลาสลิด และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้คงความเป็นอัตลักษณ์และสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจงและตามความสะดวก ประกอบด้วยผู้จัดหา/ผู้ขายหรือจำหน่ายพันธุ์ปลาสลิด ผู้จำหน่ายอาหารปลาสลิด เครื่องมืออุปกรณ์ ผู้เลี้ยงปลาสลิดในโครงการเกษตรแปลงใหญ่ ผู้เลี้ยงหรือเจ้าของบ่อเลี้ยงปลาสลิดทั่วไป ผู้แปรรูปหาปลา ผู้รับซื้อ/คนกลาง ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค ส่วนราชการภาครัฐ/เอกชน สถาบันการเงิน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น/ตัวแทนชุมชนในพื้นที่ รวม 547 ราย โดยใช้แบบสอบถาม การสังเกต การสัมภาษณ์ และการประชุม/สนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรควรใช้วิธีการเลี้ยงแบบดั้งเดิมเสริมหญาเนเปียร์ เนื่องจากมีสัดส่วนผลตอบแทนสูงที่สุด คือ 1:2.19 การขายปลีกปลาสลิดแดดเดียวจะมีสัดส่วนผลตอบแทนสูงที่สุด คือ 1:1.15 จากผลการสำรวจไม่ปรากฏว่ามีการจำหน่ายปลาสลิดหอมในตลาด ส่วนใหญ่จะผลิตตามคำสั่งซื้อ การขายปลีกปลาสลิดหอมมีสัดส่วนต้นทุนต่อรายได้สูงที่สุด คือ 1: 1.20 การแปรรูปปลาสลิดกรอบ พบว่า ผู้แปรรูปปลาสลิดกรอบที่เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ขาย ผลตอบแทนคิดเป็นสัดส่วน 1:1.06 ของเหลือ ปลาสลิดที่ได้รับผลตอบแทนมากที่สุด ได้แก่ ก้างปลาสลิดกรอบ ผลตอบแทนคิดเป็นสัดส่วน 1:2.29 การจำหน่ายปลาสลิดกรอบผ่านห้องสรรพสินค้าจะมีต้นทุนค่าขนส่ง และค่าฝากขายร้อยละ 25-30 จากราคาขาย การขายปลาสลิดผ่านทางออนไลน์ ผู้ขายจะรวมค่าขนส่งเข้ากับราคาสินค้า ผลการสำรวจพฤติกรรมจากผู้บริโภคพบว่า ตลาดสดที่มีการจำหน่ายปลาสลิด จำนวน 25 ตลาด คิดเป็นร้อยละ 78.13 ผู้ขายปลาสลิดส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้เลี้ยง ราคาขายส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่างราคา 150-250 บาท ต่อกิโลกรัม จำนวนที่ขายต่อวันอยู่ระหว่าง 10-20 กิโลกรัม ผู้บริโภคจะซื้อปลาสลิดแดดเดียวมาบริโภคมากที่สุด เหตุผลที่นิยมบริโภค คือ รสชาติอร่อย สถานที่ที่ซื้อบ่อยครั้งมากที่สุด คือ ตลาดสดทั่วไป เหตุผลในการตัดสินใจเลือกซื้อมากที่สุด คือ รูปลักษณ์ของปลาสลิด รองลงมาคือ ราคาถูก ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับปลาสลิดมีทั้งจากสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน การยกระดับโซ่คุณค่าปลาสลิดที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ ปลาสลิดแดดเดียว นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ปลาสลิดอบกรอบที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เนื่องจากนำปลาสลิดขนาดเล็กที่มีมูลค่าต่ำสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง กล่าวคือ รับซื้อปลาสลิดสด (ขนาดเล็ก) ที่รับซื้อจากเกษตรกรในราคากิโลกรัมละ 20 บาท (ประมาณ 15 ตัว) แต่เมื่อนำมาอบกรอบจำหน่ายในราคา 150 กรัม เท่ากับ 175 บาท ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ภาครัฐควรมีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรกรผู้เลี้ยง ผู้แปรรูป และผู้จำหน่ายปลาสลิดที่ชัดเจน ที่เกี่ยวกับการยกโซ่คุณค่าปลาสลิดแปรรูป และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายปลาสลิดโดยผ่านตลาดผู้ซื้อออนไลน์ มีการบริหารจัดการเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง และเน้นการให้บริการโดยใช้รูปแบบการส่งถืงมือลูกค้า (Delivery) ที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในปัจจุบัน This research aims to study process snakeskin gourami from updtream midstream and downstream, consumer bahavior study to analyze high value of products to the upper level of value chain and to develop products to maintain famous widely known. The samples were undertaken using the purposive and convenience method gain from 547 suppliers/distributors fish's species, fish food, instruments, large agricultural land plot farmers, fish pond owners, processing fish farmers, buyer/middleman, distributors, consumers, government/private sectors, financial institute, local government administration or community representatives. Data were collected using a questionnaire, observation, in-depth interview and meeting/focus group. Research reults show that farmer should chopped fresh napier farming because of the highness proportion of return 1:2.19. Retail dried sun gourami fish have highness proportion of return 1:1.15. Survey showed that there have not fragrant snakeskin gourami fish in fresh market, mostly make to order. The fragrant snakeskin gourami was the highness proportion of return 1:1.20. The Crispy gourami fish which were farmer fishing and seller was the highness proportion of return 1:1.06 and leftover gourami fish which have highness proportion was crispy fishbone 1:2.29. Cost of crispy gourami fish transportation to supermarket and consignment were 25-30 from the selling price and online sales shipping cost include the price of the product. Consumer's behaviors survey found that snakeskin gourami were sold in 25 fresh markets (78.13%) which seller were not fish farmers, selling price was between 150-250 baht per kilogram, 10-20 kilograms were amount sold per day. Dried sun gourami fish was consumer popularity for the reason of delicious taste, buy at fresh markets most often. The most reason for making purchase's decision was gourami fish looks and inferior cheap. Snakeskin gourami's problem were external and internal. The upper value chain of snakskin gourami was dried sun gourami fish besides there was cripy product which have highness proportion because it made from low value of small snakeskin gourami fish upper to high value product from 20 baht (15 fishes) from farmer to bake and sell 150 is equal to 175 baht. The policy suggestion, government sector should make clear in the strategic plan to develop farmers, processors and sellers related to upper snakeskin gourami's value and to promote channel distribution via online marketing, continuous administrative website, focus on delivery to customer that is gaining in popolarity. |
Description: | ชุดโครงการวิจัยการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจปลาสลิดจังหวัดสมุทรปราการ |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1304 |
Appears in Collections: | Business Administration - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pla-Slid-Bang-Bo-Supply-Chain.pdf | 11.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.