Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1318
Title: การสำรวจปัญหาการใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพรของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา : ชุมชนศีรษะจรเข้น้อย จ.สมุทรปราการ
Other Titles: The Survey of Medicine, Food Supplement and Herbal Products-Used Problems among Elderly Case Study : the Community of Tumbon Srisa Chorakhe Noi, Samut Prakan Province
Authors: ปิยะวัน วงษ์บุญหนัก
ปวีณา ว่องตระกูล
หรรษา มหามงคล
วรัญญา เนียมขำ
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะเภสัชศาสตร์
Keywords: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
Dietary supplements
ผู้สูงอายุ -- การใช้ยา
Older people -- Drug utilization
ผู้สูงอายุ
Older people
ชุมชนศีรษะจรเข้น้อย
Srisa Chorakhe Noi Community
Issue Date: 2016
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การสำรวจปัญหาและพฤติกรรมการใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพรของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนศีรษะจรเข้น้อย จ. สมุทรปราการ เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและพฤติกรรมการใช้ยา และศึกษาทัศนคติของผู้สูงอายุในชุมชนศีรษจรเข้น้อยที่มีต่อยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพร โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปอาศัยในตำบลศีรษะจรเข้น้อย กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาได้รับการสุ่มตัวอย่างแบบ convenient sampling จำนวน 325 คน ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยและแกนนำในชุมชนร่วมกันสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์เก็บเข้อมูล ผู้สูงอายุที่ทำการสำรวจมีจำนวนทั้งสิ้น 325 คน เป็นเพศหญิง 243 คน หรือร้อยละ 74.8 เพศชาย 82 คน หรือร้อยละ 25.2 อายุของผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 60-69 ปี ผู้สูงอายุในชุมชนมีระดับการศึกษาประถมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ ผู้สูงอายุร้อยละ 35.1 อาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวจำนวน 4 คน ในขณะที่พบผู้สูงอายุอยู่เพียงลำพังเพียงร้อยละ 2.8 ผู้สูงอายุร้อยละ 59.3 มีรายได้เป็นของตนเองประมาณ 1,000-5,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่ร้อยละ 40.3 มีรายได้รวมของครอบครัวประมาณ 5,000-9,999 บาทต่อเดือน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาพยาบาลโดยใช้สิทธิ์บัตรทองจากนโยบายประกันคุณภาพถ้วนหน้าคิดเป็้นร้อยละ 74.5 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ (ร้อยละ 75.1) มีโรคประจำตัว โดยร้อยละ 57.4 ของผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว 1 โรค โรคที่พบบ่อยในชุมชนศีรษะจรเข้น้อย 3 อันดับแรก คือ ความดัน เบาหวานและไขมันในเลือด ผู้สูงอายุร้อยละ 81.1 ประเมินตนเองว่าสามารถควบคุมอาการของโรคได้ดี กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 22.5 มียาเหลือใช้จำนวนมากเมื่อถึงกำหนดการพบแพทย์ และจำนวนร้อยละ 56.4 ระบุสาเหตุของการมียาเหลือใช้ว่าเกิดจากแพทย์สั่งจ่ายยาให้เกินจำนวนที่ต้องใช้ ผู้สูงอายุร้อยละ 18.2 ระบุว่าเกิดจากการลืมรับประทานยา ด้านพฤติกรรมการใช้ยาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 63.1 จัดยาด้วยตนเอง ยังพบปัญหาการใช้ยา เช่น การลืมรับประทานยา (ร้อยละ 35.7) การซื้อยาเพิ่มเอง (ร้อยละ 21.2) การปรับขนาดยาด้วยตนเอง (ร้อยละ 9.6) และการแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้ (ร้อยละ 13.2) ผู้สูงอายุร้อยละ 19.1 และร้อยละ 14.2 ใช้ยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามลำดับ โดยผู้แนะนำให้ใช้ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ เช่น คนในครอบครัว เพื่อนบ้าน คนรู้จักและส่วนใหญ่ไม่แจ้งให้แพทย์ที่รักษาทราบว่ามีการใช้ยา แผนปัจจุบันร่วมกับแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผู้สูงอายุร้อยละ 31.4 ปลูกสมุนไพรในบริเวณบ้าน ในขณะที่มีการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาโรคมากถึงร้อยละ 62.2 ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อนามัยและพยาบาล กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในชุมชนศีรษะจรเข้น้อยมีทัศนคติเชิงบวกต่อผลิตภัณฑ์สุขภาพ เมื่อทำการทดสอบสมมุติฐานที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า เพศ ระดับการศึกษา สิทธิการรักษาพยาบาล อายุและระดับรายได้ ไม่มีผลต่อทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่พบว่าอายุและระดับรายได้ของผู้สูงอายุมีผลต่อทัศนคติต่อสมุนไพร สรุปจากผลการสำรวจพบปัญหาการใช้ยาในด้านพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุ เช่น การลืมรับประทานยา การสะสมยา และปัญหาการจัดการกับยาเหลือใช้ของผู้สูงอายุในชุมชนศีรษะจรเข้น้อยรวมถึงการใช้ยาทางเลือกโดยขาดความรู้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่พบได้เช่นกันในงานวิจัยปัญหา การใช้ยาของผู้สูงอายุที่ทำการศึกษาในชุมชนอื่นๆ ในประเทศไทย อย่างไรก็ตามเนื่องจากปัญหาการใช้ยาเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ทำให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ต่อระบบสุขภาพ การสำรวจเพื่อประเมินระดับปัญหา จะทำให้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาและส่งเสริมการจัดการด้านสุขภาวะในชุมชนที่ตรงกับความต้องการของชุมชน
The objective of this survey study was to investigate the medicine, food supplement, and herbal product usage problem and attitude toward these products among elderly subjects age over 60 years old in Tumbon Srisa Chorahke Noi. Convenient randomized sampling was performed to obtain 325 subjects. Questionnaire questions were created by researchers and community leaders to use as interview data collecting tool. Total elder subjects were 325 people. Two hundred and forty three subjects were females (74.8 percent) and 82 subjects were males (25.2 percent). Most subjects were 60-69 years old. Priority of them was primary school graduates. Elders 35.1 percent lived with family with 4 members. Nine people live by their own (2.8%). Subjects 59.3% had salary 1,000-5,000 Baht per month, while 40.3% had 5,000-9,000 Baht for monthly household income. Most of them, 74.5 percent, had joined Thailand's Universal Health Coverage Scheme. Most of the subjects, 75.1 percent, had chronic health conditions. Subjects 57.4% percent had one chronic health condition. The three most common diseases in Srisa Chorakhe Noi community were hypertension, diabetes, and dyslipidemias. The health condition is under control in 81.2 percent of subjects. Subjects 22.5 percent have a lot of leftover medicines on the day of next doctor visit. Subjects 56.4 percent indicated that the main reason of the leftovers medicines was the physicians over prescribed the medicines. While other 18.2 percent had told that they forgot to take medicines. In medicine use behavior aspect, the results showed that most of the elders, 63.1 percent manage their own medicines. Medication-related problems was found, for example, forgetting to take medicines (35.7 percent), refilling medicines by themselves (21.2%), self-adjusting of dose (9.6%), and sharing medicines with others (13.2%). Subjects 19.1% percent used traditional medicines and 14.2 percent used food supplements by an advice of non-helath team member, such as, family member, neighbors, acquaintances. Most of them failed to inform their physicians about using traditional medicine and food supplement together with modern medicine. Subjects 31.4 percent grew medicinal plants at home, but had never processed medicinal plants to other products. In contrast, medicinal plants were used for health treatment (62.2 percent) as suggested by health center officers and nurse. Elderly subjects in Srisa Chorakhe Noi community had positive attitude toward health products. The hypothesis was test at statistically significant level of 0.05 and found that differences in gender, education level, and health benefit gave no difference in attitude toward modern medicine, traditional medicine, food supplement, and herbal products. In conclusion, this research had shown medication related problem, such as forgetting to take medicine, home medicine overstock, and medicine leftover management problems, including lack of knowledge in using alternative medicines was found as much as in other community in Thailand. However, medication related problem affected elder's health benefit, economical cost in health care system. The evaluation of degree of the problem in this study could lead to a proper solving to promote suitable health care management in this community in the future.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1318
Appears in Collections:Pharmaceutical Sciences - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyawan-Wongboonnak.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.