Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1320
Title: | โครงการวิจัย การสร้างความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการปลาสลิดบางบ่อในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยแผนธุรกิจเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ปลาสลิดแปรรูปตามความต้องการของผู้บริโภค : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Other Titles: | ฺBuilding Competitiveness of Bangbo Snakeskin Gourami Entrepreneur in Thailand 4.0 Era with a Business Plan Providing the Value Added of Processed Products Responding to Consumer รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การสร้างความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการปลาสลิดบางบ่อในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยแผนธุรกิจเพื่อมูลค่าผลิตภัณฑ์ปลาสลิดแปรรูปตามความต้องการของผู้บริโภค การสร้างความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการปลาสลิดบางบ่อในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยแผนธุรกิจเพื่อมูลค่าผลิตภัณฑ์ปลาสลิดแปรรูปตามความต้องการของผู้บริโภค |
Authors: | พรรณราย แสงวิเชียร ชุติระ ระบอบ พิมสิริ ภู่ตระกูล แววมยุรา คำสุข มรกต กำแพงเพชร บรรเจิดศักดิ์ สัณหภักดี สุเมษ เลิศจริยพร เมธี รัชตะวิศาล สุพิศพรรณ วัจนเทพินทร์ นิรมล เจริญสวรรค์ ชรินพร งามกมล กันต์ติกมาฐ รัตนปริญญานุกูล ณภัทร ศรีนวล Pannarai Saengwichian Chutira Rabob Pimsiri Pootrakul Wawmayura Chamsuk Morakhot Kamphaengphet Benjertsak Sannhapuckdee Sumet Lurdjariyaporn Methee Ratchatavisarn Niramon Japoensawan Charinporn Gjamkamon Kantikamart Rattanaparinyanukune Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | ปลาสลิด -- ไทย -- สมุทรปราการ Snakeskin Gourami -- Thailand -- Samut Prakarn สินค้าเกษตร Agricultural production การแข่งขันทางการค้า Competition ผู้บริโภค Consumers -- Thailand |
Issue Date: | 2018 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคปลาสลิดในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่ใกล้เคียง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One sample T-test และ Factor Analysis ผลการศึกษาพบว่าผู้บริโภคมีการรับรู้ ความรู้ ความเข้าใจในอัตลักษณ์ของปลาสลิดบางบ่อในระดับดี ที่ค่าเฉลี่ย 3.74 และปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อปลาสลิดบางบ่อประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านการสื่อสารแบบบูรณาการและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบด้วยการรับรู้ ความเข้าใจในเอกลักษณ์ของปลาสลิดบางบ่อ องค์ประกอบด้านความสะอาดและองค์ประกอบด้านราคา โดยทั้ง 4 องค์ประกอบนี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนของกลุ่มตัวแปรได้ร้อยละ 43.57 การวิจัยเชิงสำรวจเพื่อพัฒนาเกณฑ์ประเมินตัวชี้วัดคุณสมบัติ และหาแนวทางการพัฒนาเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิดไปสู่ผู้ประกอบการ 4.0 ประชากร กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิดที่อยู่ในรายชื่อชมรมอนุรักษ์ปลาสลิดบางบ่อ สำนักงานประมงอำเภอบางบ่อ และเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิดทั่วไปจำนวน 30 ราย เครื่องมือคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสำรวจ การสัมมนาและอภิปรายกลุ่มย่อย พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิด กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุอยู่ระหว่าง 51-60 ปี เหตุผลสำคัญที่เลี้ยงปลาสลิดคือสืบทอดการทำธุรกิจตามบรรพบุรุษ เป็นการเลี้ยงปลาสลิดเป็นหลัก มีระยะเวลาเกินกว่า 30 ปีขึ้นไป เงินลงทุนเบื้องต้นจำนวน 150,000-200,000 บาท ลักษณะของกิจการเป็นการเลี้ยงในที่ดินของตนเองหรือครอบครัว ที่เหลือเป็นลักษณะของการเช่า ส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจในลักษณะครอบครัว ใช้แรงงานในครอบครัว บางรายใช้แรงงานจากภายนอก เกษตรกรผู้เลี้ยงส่วนใหญ่มีความมุ่งมั่นที่จะประกอบอาชีพเลี้ยงปลาสลิด โดยรักษาอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษ ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ คือ ปัญหาคุณภาพน้ำ การเพาะพันธุ์ลูกปลา การพัฒนาตัวชี้วัดโดยใช้ตัวแบบเกษตร 4.0 เป็นแนวทางในการพัฒนาสู่ผู้ประกอบการเลี้ยงปลาสลิด 4.0 พบว่า องค์ประกอบ 7 ด้าน ได้แก่ ความรู้ในเรื่องที่ทำอยู่ มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ มีการบริหารจัดการผลผลิตและตลาด มีความตระหนักถึงคุณภาพของสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความภูมิใจในความเป็นผู้เลี้ยงปลาสลิด และเครือข่าย รวมจำนวน 28 ตัวชี้วัด โดยจำแนกเกษตร ระดับที่ 4.0-1.0 พบว่า ไม่มีเกษตรกรรายใดมีตัวชี้วัดระดับ 4.0 ในทุกด้าน การพัฒนาเกษตรกรตามตัวชี้วัดในแต่ละด้าน จากระดับที่ 3.0 เป็นระดับที่ 4.0 จำนวน 5 ราย และระดับ 2.0 เป็นระดับ 3.0 จำนวน 10 ราย เป็นตัวอย่างเกษตรกรรายอื่นต่อไป การวิเคราะห์สรุปอุปนัย และการวิเคราะห์เปรียบเทียบกลุ่มสมาชิกเกษตรกรผู้เลี้ยงและผู้ประกอบการแปรรูปปลาสลิดก่อนเข้าโครงการและหลังเข้าโครงการ เพื่อถอดบทเรียนสิ่งที่ค้นพบเพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้ในกระบกวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีศักยภาพในด้านการผลิตปลาสลิดหอมที่เกิดจากภูมิปัญญา มีแหล่งปลาสลิดบางบ่อที่มีอัตลักษณ์และชื่อเสียงมายาวนาน แต่ขาดความเข้าใจด้านการตลาด ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดการของเลือกจากการแปรรูป และช่องทางจัดจำหน่าย ความรู้ในการทำแผนธุรกิจและพัฒนาผลิตภัณฑ์ กลุ่มเป้าหมายได้รับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ มีคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรม 2.80 และคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรม 3.44 เมื่อใช้สถิติทดสอบที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน พบว่า ความรู้ในการทำแผนธุรกิจและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป้าหมายก่อน/หลังการอบรม ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับที่ 0.05 และผลิตภัณฑ์ต้นแบบทองม้วนก้างปลาสลิดไฮแคลเซียม จากการเพิ่มพูนมูลค่าจากของเหลือในกระบวนการผลิต Judgment sampling is used to obtain 400 consumers who have had Sankeskin Gourami fish from Bang Bo and from other provinces. The sample size of this research is 400 consumers in Bangkok and bearby provinces who had Taken Snakeskin Gourami fish. Statistics used in this research are descriptive statistic, one sample t-test and factor analysis. The research result sound that consumers have good knowledge and understanding about Snakeskin Gourami fish from Bang Bo with good perception. The four key factors of consumer buying decision are the integrated communications and product development factor, perception and understanding factor, cleaning factor, and price factor, respectively. All the four factors have 43.572 percentage of variance. This research is to develop the Snakeskin Gourami Entrepreneur 4.0 indicators and to find guidelines for enhancing farmers to the higher level of indicator. The target group is 30 snakeskin gourami farmers in from the list of provincial fisheries office, Snakeskin Gourami Bangbo District Association and others. The data collection is from the document, participatory observation, questionnaire, interview, seminar and focus group. The results found that most of the farmer are female, aged between 51-60 years old who follows traditional ancestral career more than 30 years. The initiative investment is finance 150,000-200,000 baht. mostly they have their own land or family's others are tenant using family labors. They are career commitment to be Snakeskin Gourami farmers following their ancestors. The main problems in their fishing are water quality and fish breeding. This research developed indicators from the farmer 4.0 Model as guidelines to enhance farmer to be entrepreneur 4.0. The research results found that the indicators comprise of 7 factors; knowledge in career, decision information, market and production management, quality and consumer safety of goods awareness, social responsibility, proud of Snakeskin Gourami farmers and networks all comprese of 28 indicators. After classifying each farmer into level from 1.0-0.4 and found that there is no farmer at the live of 4.0 for every indicators. This study have developed the farmers recording to the indicators and can upgrade 5 entrepreneurs from 3.0 to 4.0 level and 10 entrepreneurs from 2.0 to 3.0 level and to be the prototype of another Snakeskin Gourami. The induction analysis and the comparative analysis are used with the target group before and after joining the project to draw the conclusion from the lesson learned, the body of knowledge for the product developing process. The research finding is that the target group has the potentials in processing the scented Snakeskin Gourami from the local wisdom and it has its own identity with long-time well known as Bang Bo Snakeskin Gourami but they are lock of understanding in marketing, product development, waste management from scraps of the products, and the channel of distribution. The knowledge of the target group before and after the business plan training program are scoring 2.80 and 3.44 respectively. The t-test depending finding the knowledge of the target group for the training is significantly different by 0.05 and came up with the business plan of developing the prototype for Tong-muan products with Snakeskin Gourami bones scraps, the high calcium value-added product from the scraps. |
Description: | ชุดโครงการวิจัยนวัตกรรมพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มมูลค่าของห่วงโซ่เศรษฐกิจปลาสลิดบางบ่อตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมสินค้าเกษตรปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จังหวัดสมุทรปราการ |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1320 |
Appears in Collections: | Business Administration - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pannarai.pdf | 3.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.