Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1330
Title: Reference Values of Exercise Level Attained for Lumbar Stabilization Exercises in Young Adults
Other Titles: ค่าอ้างอิงเพื่อบอกระดับความสามารถของบุคคลทั่วไปในการให้โปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่กระดูกสันหลังส่วนเอว
Authors: Sathaporn Thongjunjuca
สถาพร ทองจุนเจือ
Marut Wongprasertgan
มารุต ว่องประเสริฐการ
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy
Issue Date: 2011
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: ความสำคัญและปัญหาที่มาของงานวิจัย : การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่กระดูกสันหลัง เป็นการออกกำลังกายที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการเพิ่มความมั่นคงให้แก่กระดูกสันหลัง การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าอ้างอิงในการบอกระดับความสามารถของบุคคลทั่วไปในการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่กระดูกสันหลังส่วนเอวในคนสุขภาพดี วัสดุและวิธีการ: อาสาสมัครที่เข้าร่วมการวิจยในครั้งนี้จำนวน 137 คน (อายุ 19.61+-1.20 ปี) วิธีการศึกษาในครั้งนี้ได้ผ่านการพิจารณารับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ประเทศไทย โดยโปรแกรมที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบไปด้วยท่าออกกำลังกายจำนวน 6 ท่า ที่ค่อยๆ เพิ่มระดับความยากขึ้น ซึ่งจะต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อที่มากขึ้นในการเพิ่มความมั่นคงให้แก่กระดูกสันหลัง ในการทดสอบแต่ละครั้ง ผู้เข้าร่วมวิจัยจะถูกจัดให้อยู่ในท่านอนหงายชันเข่า 90 องศา และวาง Stabilizer ไว้ที่หลังส่วนล่างพร้อมกับเพิ่มความดันไปที่ 40 มิลลิเมตรปรอท ผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคนจะได้รับการทดสอบตั้งแต่ระดับความยากที่ 1 (ท่าที่ 1) จนถึงระดับความยกที่่ 6 (ท่าที่ 6) ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัยจะไม่ทราบว่าตนเองทำได้ที่ระดับใด จนกว่าจะทำการทดสอบเสร็จทั้ง 3 ครั้ง ระดับความยากสูงสุดที่เข้าร่วมวิจัยส่วนใหญ่ทำได้ จะใช้เป็นระดับอ้างอิงในการฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่กระดูกสันหลังส่วนเอวผลการศึกษา : ระดับความสามารถสูงสุดที่ผู้เข้าร่วมวิจัยทำได้ มีค่ามัธยฐานเท่ากับ 3 (2,3,5) ซึ่งแสดงว่าผู้เข้าร่วมวิจัยส่วนใหญ่ (38%) มีระดับความสามารถในการทำท่าออกกำลังกายอยู่ในระดับความยากที่ 3 สรุปผลการศึกษา: ค่ามัธยฐานของระดับความยากของท่าออกกำลังกายที่ผู้เข้าร่วมวิจัยทำได้มีค่าเท่ากับระดับความยากที่ 3 ซึ่งค่ามัธยฐานนี้สามารถที่จะใช้เป็นระดับอ้างอิงเพื่อประเมินความสามารถของบุคคลทั่วไปในการให้โปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่กระดูกสันหลังส่วนเอว ส่วนผู้ที่มีระดับความสามารถอยู่ต่ำกว่าระดับความยากที่ 3 อาจแสดงถึงการมีภาวะกล้ามเนื้อชั้นลึกที่ทำหน้าที่เพิ่มความมั่นคงให้แก่กระดูกสันหลังส่วนล่างอ่อนแรง และ/หรือมีภาวะขาดความมั่นคงของข้อต่อกระดูกสันหลัง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลังในอนาคตได้
Background and Objectives: Lumber stabilization exercises have been widely accepted as the most effective exercise for improving spinal stability. The aim of this study is to assess reference valued of exercise level attained for lumber stabilization exercise in young healthy adults. Material & Method: A sample of 137 healthy volunteers (age 19.61 +- 1.2) participated in this study. This study was approved by the human subjects ethics review board of the Huachiew Chalermprakiet University, Thailand. A series of six progressive exercise test was designed orderly by increasing levels of muscular control for stability of the lumber spine. For each exercise test, participants were asked to keep back stabilizer pressure at 40 mmHg in crook lying position. All participants were asked to perform level one to six, therefore, they did not know which level they could attain. The highest level that each participant could perform correctly was used as a reference valur of exercise level attained for lumber stabilization exercises program. Results: The results were expressed as media and interquartile range of 3(2,3,5) for exercise level attained. Majority of participants (38%) could perform lumbar stabilization exercises in level three. Conclusion: The median exercise level successfully performed by the participants was level three. The median value may by used as reference values of exercise level attained for lumbar stabilization exercises in healthy young adults. Levels lower than level three may indicate local muscle stabilizer weakness and/or spinal instabilit, which may be a predisposing factor of low back pain in the future.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1330
Appears in Collections:Physical Therapy - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf117.23 kBAdobe PDFView/Open
TableofContents.pdf59.85 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf47.51 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf117.52 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf826.18 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf124.05 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf33.26 kBAdobe PDFView/Open
Chapter6.pdf23.7 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf857.31 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.