Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1333
Title: โครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์ แผนกลยุทธ์การสื่อสารปลาสลิดบางบ่อ โดยกระบวนการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงและผู้ประกอบการแปรรูปปลาสลิด : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
Other Titles: Participatory Communication within a Group of Farmers and a Group of Food Processing Entrepreneur for Developing Packaging, Branding and Strategic Communication Planning of Dried Snakeskin Gourami at Bangbor District
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์ แผนกลยุทธ์การสื่อสารปลาสลิดบางบ่อโดยกระบวนการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงและผู้ประกอบการแปรรูปปลาสลิด
การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์ แผนกลยุทธ์การสื่อสารปลาสลิดบางบ่อโดยกระบวนการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงและผู้ประกอบการแปรรูปปลาสลิด
Authors: ศรัญญ์ทิตา ชนะชัยภูวพัฒน์
นัฐพล สง่าแสง
Sarunthita Chanachaiphuwapat
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Communication Arts
Prakit Advertising Company Limited
Keywords: ปลาสลิด
Snakeskin gourami
บรรจุภัณฑ์อาหาร -- การออกแบบ
Food containers -- Design
ตราสัญลักษณ์
การสื่อสารทางการตลาด
Communication in marketing
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยเรื่อง "การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์ แผนกลยุทธ์การสื่อสารปลาสลิดบางบ่อ โดยกระบวนการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงและผู้ประกอบการแปรรูปปลาสลิด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการสร้างอัตลักษณ์ปลาสลิดบางบ่อ รวมทั้งพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์ แผนกลยุทธ์การสื่อสาร และสื่อโฆษณาที่มีประสิทธิภาพให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นของเกษตรกรและผู้ประกอบการปลาสลิด 4 แบรนด์ ที่เข้าร่วมโครงการได้แก่ แบรนด์อ้ายธี แบรนด์น้องแมน แบรนด์พรทิพย์ และแบรนด์แม่นิตยา ของหมู่ 11 ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ดำเนินการภายใต้โครงการสร้างแนวคิดการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมกับนักเทคโนโลยีทางอาหาร นักวิชาการด้านออกแบบบรรจุภัณฑ์ นักสื่อสารแบรนด์ ผู้แทนภาครัฐ นักออกแบบ และนักวิจัย นำไปสู่แนวทางการพัฒนาตามหลักทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัย 4 วิธีได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์กลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการ และกิจกรรมการถอดบทเรียน ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรและผู้ประกอบการไม่มีพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างอัตลักษณ์ และไม่ได้ให้ความสำคัญประเด็นนี้ ภาพรวมบรรจุภัณฑ์ที่ใช้จึงไม่น่าสนใจเท่าที่ควร อีกทั้งผู้ประกอบการรายย่อยไม่มีทุนเพียงพอที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน มีความสวยงาม น่าเชื่อถือ แม้ว่าภาครัฐมีนโยบายการอบรมและพัฒนาบรรจุภัณฑ์หรือกิจกรรมต่างๆ แต่บางครั้งอาจจะไม่มีความต่อเนื่องและไม่ตรงจุดประสงค์ของผู้ประกอบการ จึงยังคงดำเนินการด้วยวิถีเดิม ส่วนแนวทางการสร้างอัตลักษณ์ ผู้ประกอบการทั้ง 4 แบรนด์มีโอกาสได้เรียนรู้และเข้าใจในอัตลักษณ์ท้องถิ่น/อัตลักษณ์ชุมชนที่เป็นจุดเด่นด้านการเลี้ยงปลาสลิด ตระหนักในความสำคัญของการสร้างอัตลักษณ์ โดยผลการศึกษาพบว่าอัตลักษณ์ด้านรูปธรรมของปลาสลิด คือ "ทรงตัวปลาสลิดที่ไม่มีหัว" ซึ่งเป็น "ภาพจำ" ของคนทั่วไปที่รับรู้ในภาพของปลาสลิด ส่วนอัตลักษณ์ของปลาสลิดบางบ่อ คือ ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากปลาสลิดแหล่งอื่น ลำตัวสีเข้ม ดำ เนื้อแน่น เหนียว ขาว ใส มีไขมันแทรกพอเหมาะ ส่งผลให้รสชาติดีเพราะเป็นการเลี้ยงแบบอินทรีย์ ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ที่มีคุณค่าควรแก่การนำไปสื่อสารหรือโฆษณา นอกจากนี้ ผู้ประกอบการทั้ง 4 แบรนด์ ได้ร่วมเรียนรู้หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์ตราสัญลักษณ์ในขั้นพื้นฐาน พร้อมทั้งได้ผลลัพธ์จากการออกแบบเป็น Model บรรจุภัณฑ์ตราสัญลักษณ์อันทรงคุณค่าผ่านแนวคิดหลัก (Core Concept) วิธีการเล่าเรื่อง (Story telling) ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากบรรจุภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์ สื่อโฆษณาที่นำมาซึ่งความน่าเชื่อถือทั้ง 4 แบรนด์และโอกาสแห่งการพัฒนาสู่มาตรฐาน
The study of "Packaging Development Branding Communication Strategy Planning for Bang-Bor's plaslid (Trichogaster pectoralis) managed by the process of participatory communication of farmers and food processing entrepreneur's is covered objectives as 1. to study problems obstacles and the creative of Bang-Bor's plaslid identity 2. to identify the packaging develpment branding communication strategy planning and the efficiency advertising media which be covered their target groups. The 4 brands of entrepreneurs who joined this project were Aai-tee, Nongman, Pornthip and Mae Nittaya. All of them lives in Moo11 Thumbon Klingon-dann Amphur Bang-Bor Samutprakarn Province. They were joined under umbrella of participatory communication structures to work with Food Technologist Packaging Designers Brand Communication Expert Government Agency Designer and Researchers for improving their products. However, that groups working were leaded by the Communication for Development Theory. This study found that farmers and food processing entrepreneurs have no idea how to create identity also not gives priority to their products identity. That's why their existing package are not interesting. Moreover small manufacturing entrepreneurs have not enough captal for their Packaging Development in terms of standards exquisite and credible. Even though the packaging development training course including various activities were supported by government sector but they still maintain their previous perceptual concepts. However, 4 brands of entrepreneur have a good chance to learn/understand the local/community identity and give priorities to create products identity which be established their products advantages. The results of this study found that the physical identity of plaslid is "No heal body" which is recognized by the peopel. Anyway, the physical identity of Bang-Bor plaslid is differed from the other sources. Its dark body, tights, sticky, white and clear meat, have appropriate fat inserted are Bang-Bor plaslid's identity because they grown up in the organic farming. Its well-known are caused of good taste. Bang-Bor plaslid's identity have valuable for communication and advertising to public. The 4 brands of entrepreneurs gains a lot of benefits from those. They also were acknowledged how to develop package, basic signage which was finally they can design their packageing, signage identity, brand communication planning, and advertising media throughout core concept, story telling. Finally, they able to create their standard products.
Description: ชุดโครงการนวัตกรรมพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มมูลค่าของห่วงโซ่เศรษฐกิจปลาสลิดบางบ่อตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมสินค้าเกษตรปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จังหวัดสมุทรปราการ
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1333
Appears in Collections:Communication Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saruntita.pdf26.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.