Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1354
Title: | การประเมินหลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Other Titles: | An Evaluation of the Bachelor of Accountancy Degree's Curriculum for Academic Year 2006 Huachiew Chalermprakiet University |
Authors: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะกรรมการประเมินหลักสูตร สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะบริหารธุรกิจ |
Keywords: | การประเมินหลักสูตร Curriculum evaluation การบัญชี -- หลักสูตร Accounting -- Curricula การบัญชี -- การศึกษาและการสอน Accounting -- Study and teaching |
Issue Date: | 2013 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุงปี พ.ศ. 2549 ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินชิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ได้แก่ วัตถุประสงค์หลักสูตร โครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน และ สื่อการเรียนการสอน ด้านกระบวนการ (Process) ได้แก่ กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผลการเรียน และการบริหารหลักสูตร และด้านผลผลิต (Product) ได้แก่ คุณภาพบัณฑิต โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอน 8 คน นักศึกษา 50 คน บัณฑิต 50 คน และผู้บังคับบัญชาบัณฑิต 50 คน รวม 158 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 3 ระดับ และ 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการทางสถิติ โดยการคำนวณคะแนนเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ได้ผลการประเมิน ดังนี้ 1. การประเมินบริบท วัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความเหมาะสมกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย เนื้อหาโดยรวมของหลักสูตรมีความสอดคล้องกัน จำนวนหน่วยกิตรวมเหมาะสมมาก สำหรับหมวดวิชาศึกษาทั่วไปทุกกลุ่มวิชา วิชาเอกบังคับ เอกเลือกและหมวดวิชาเลือกเสรีมีความเหมาะสมปานกลาง รายวิชาส่วนใหญ่ของทุกหมวดวิชามีความเหมาะสมมากทั้งในด้านเนื้อหาวิชา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้และความทันสมัย สำหรับ GF 2232 GE1102 GE 1072 FN 1603 MG 1303 EC 1003 AC 4323 AC 4233 AC 4273 AC 4313 และ AC 4019 สหกิจศึกษา ควรจัดไว้เทอมสุดท้าย 2. การประเมินปัจจัยเบื้องต้น ผู้เรียน : คุณลักษณะของนักศึกษาในการเรียนโดยรวมเหมาะสมปานกลาง นักศึกษาเข้าเรียนสม่ำเสมอมาก แต่ให้ความเคารพและเชื่อฟังอาจารย์ มีพื้นฐานความรู้ระดับสามัญ มีความสนใจ ตั้งใจและให้ความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนการสอนและปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเหมาะสมปานกลาง และนักศึกษาอ่านหนังสือประกอบ / ค้นคว้าเพิ่มเติม ตามที่อาจารย์สั่งน้อย อาจารย์ผู้สอน : มีคุณวุฒิตรงตามสาขาที่สอน มีประสบการณ์การสอน 10 ปี ขึ้นไป แต่จำนวน คุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปรับปรุง คือ อาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก และอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ สื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอน: นวัตกรรมการเรียนการสอนและปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน ได้แก่ อุปกรณ์การเรียนการสอน สื่อการสอนสำเร็จรูป หนังสือในห้องสมุด เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ เหมาะสมปานกลางเท่านั้น 3. ประเมินกระบวนการ อาจารย์มีวิธีการสอนแบบผสมผสานหลายรูปแบบแต่ส่วนใหญ่ใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย โดยอาจารย์และบัณฑิตเห็นตรงกันในวิธีการเรียนที่เหมาะสม คือ การเรียนแบบร่วมมือ ส่วนนักศึกษาส่วนใหญ่เรียนแบบจำใจและพึ่งพา อาจารย์ประเมินพฤติกรรมการสอนของตนนเองว่ามีความเหมาะสมมากที่สุด โดยเฉพาะการเป็นผู้มีความรู้ในวิชาที่สอนเป็นคนดี รู้จักตนเอง มีความรอบคอบ ไตร่ตรองเหตุผลมีความรับผิดชอบและมีศีลธรรมมีความเหมาะสมมากที่สุด ในขณะที่นักศึกษามีความเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผล โดยรวมเหมาะสมมาก ยกเว้นทักษะในการถ่ายทอดความรู้ และการให้คำปรึกษาของอาจารย์เหมาะสมปานกลางเท่านั้น ส่วนการบริหารหลักสูตร อาจารย์มีความเห็นว่า การบริหารหลักสูตรเหมาะสมมาก โดยมีการบริหารหลักสูตรในรูปของคณะกรรมการ มีแผนการบริหารหลักสูตรชัดเจนและมีคณะกรรมการกำกับดูแลมาตรฐานการบริหารหลักสูตร 4. การประเมินผลผลิต บัณฑิตเห็นว่าตนเองมีความรู้เชิงทฤษฎีและทักษะการปฏิบัติงานและคุณลักษณะในการปฏิบัติงานโดยรวมเหมาะสมมาก สำหรับมีความรู้ทางธุรกิจระหว่างประเทศ ด้านการจัดการการผลิต ด้านการตลาด และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเหมาะสมปานกลาง ผู้บังคับบัญชา มีความเห็นว่า บัณฑิตมีความสามารถตามหลักวิชาชีพโดยรวมเหมาะสมมาก ยกเว้นการมีความรู้ทางด้านการบัญชี คอมพิวเตอร์ธุรกิจ พื้นฐานเชิงทฤษฎีทางการบริหารธุรกิจ การจัดการ การเงิน ความสามารถในการนำความรู้มาแก้ปัญหา ความสามารถในการนำเสนอความรู้ต่อผู้บริหารได้ถูกต้องและชัดเจน และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ มีความเหมาะสมปานกลางเท่านั้น คุณลักษณะที่เสริมการปฏิบัติงานของบัณฑิตโดยรวมเหมาะสมมาก ยกเว้นความสามารถในการพูดโน้มน้าว มีความเป็นผู้นำ มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศเหมาะสมปานกลางเท่านั้น ทั้งนี้ศักยภาพการทำงานของบัณฑิตโดยรวมเทียบเท่ากับบัณฑิตสถาบันอื่น ยกเว้น ความสามารถในการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ความสามารถในการเรียนรู้งาน ความมีระเบียบวินัยที่ผู้บังคับบัญชาเห็นว่าบัณฑิตของมหาวิทยาลัยมีศักยภาพมากกว่าสถาบันอื่น |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1354 |
Appears in Collections: | Business Administration - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Bachelor-Accountancy.pdf | 31.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.