Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1357
Title: การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ ฉบับ พ.ศ. 2552 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: Evaluation of Master of Nursing Science Program in Adult Nursing 2009, Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakiet University
Authors: อรพินท์ สีขาว
กนกพร นทีธนสมบัติ
สุจิตรา ชัยกิตติศิลป์
ฉวีวรรณ ตั้งอมตะกุล
พรศิริ พันธสี
สุพร พริ้งเพริศ
นภาพร แก้วนิมิตชัย
Orapin Sikaow
Kanokporn Nateetanasombat
Suchitra Chaikittisilp
Chaveewan Tangamatakul
Pornsiri Pantasri
Suporn Pringpurd
Napaporn Kaewnimitchai
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
การพยาบาลผู้ใหญ่ -- การศึกษาและการสอน
Adult Nursing -- Study and teaching
การพยาบาลผู้ใหญ่ -- หลักสูตร
Adult Nursing -- Curricula
Issue Date: 2014
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ ฉบับปี พ.ศ. 2552 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้แบบจำลองชิป (CIPP Model) ประเมินด้านบริบท ได้แก่ วัตถุประสงค์หลักสูตร โครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร ด้านปัจจัยเบื้องต้น ได้แก่ ความเหมาะสมของกระบวนการเรียนการสอน เนื้อหาวิชา แหล่งวิทยาการ อาคารสถานที่ ความพร้อมของบุคลากร คุณภาพการสอนของอาจารย์ ด้านกระบวนการ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนการสอน คุณภาพของอาจารย์ที่ปรึกษา การวัดและประเมินผล และด้านผลผลิต ได้แก่ คุณภาพ บัณฑิตประกอบด้วยคุณลักษณะทั่วไป สมรรถนะตามวัตถุประสงค์หลักสูตร ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน 6 คน ผู้สำเร็จการศึกษา 8 คน ผู้บังคับบัญชา 8 คน รวมทั้งหมด 22 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้สำเร็จการศึกษาทั้งหมดเป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่ อายุ 26-44 ปี ผู้บังคับบัญชาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 36-65 ปี มีประสบการณ์การทำงานเป็นระยะเวลา 10-35 ปี สำหรับอาจารย์ผู้สอน เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-55 ปี มีประสบการณ์การสอนในระดับปริญญาโท เป็นระยะเวลา 6-8 ปี มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก 4 ท่าน มีตำแหน่งทางวิชาการ 3 ท่าน 2. ด้านบริบท วัตถุประสงค์ของหลักสูตรสอดคล้องกับปรัชญาหลักสูตร มีความชัดเจนและความสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในทุกๆ ด้านของวัตถุประสงค์หลักสูตร โดยวัตถุประสงค์หลักสูตรข้อ 1,5,6 สอดคล้องกันทุกส่วนกับปรัชญาหลักสูตร สอดคล้องกันน้อยที่สุดในข้อ 2 โครงสร้างของหลักสูตรในแต่ละรายวิชามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรทั้ง 6 ข้อ โดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 มากที่สุด รองลงมาคือ ข้อ 2 การประเมินหลักสูตรด้านโครงสร้างหลักสูตร 3. ด้านปัจจัยเบื้องต้น ความเหมาะสมของกระบวนการเรียนการสอน เนื้อหาวิชา แหล่งวิทยาการ อาคารสถานที่ ความพร้อมของบุคลากร คุณภาพการสอนของอาจารย์ ผู้สำเร็จการศึกษา ประเมินว่ามีความเหมาะสมระดับมากและมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.28) และมีค่าเฉลี่ยด้านคุณภาพในการสอนของอาจารย์ ระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.03) ความเหมาะสมของวิธีการจัดการเรียนการสอนการวัดและการประเมินผล (ค่าเ)ลี่ย 4.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51) 4. ด้านกระบวนการ: อาจารย์ที่ปรึกษาทั่วไปและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ มีค่าเฉลี่ยด้านคุณภาพในการสอนของอาจารย์ ระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47) 5. ด้านผลผลิต: การประเมินตนเองของผู้สำเร็จการศึกษาเกี่ยวกับการบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ประโยชน์ต่อตนเองและหน่วยงาน ความภาคภูมิใจในหลักสูตร การเป็นที่ยอมรับในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54) โดยมีค่าเฉลี่ยด้านประโยชน์ของหลักสูตรมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50) ความสามารถในการปฏิบัติงาน ผู้สำเร็จการศึกษาประเมินตนเองอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.29 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.68) ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาขั้นต้นต่อคุณสมบัติของผู้สำเร็จการศึกษา มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.39 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.68) โดยผู้บังคับบัญชามีความพึงพอใจด้านความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (ค่าเฉลี่ย 4.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.60) เมื่อเปรียบเทียบผู้สำเร็จการศึกษาจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติกับสถาบันอื่น พบว่าดีกว่า เป็นส่วนมาก (ค่าเฉลี่ย 4.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75) โดยด้านเจตคติมีคะแนนสูงกว่าด้านอื่นๆ (ค่าเฉลี่ย 4.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.72) ส่วนด้านความสามารถในการทำวิจัย มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าด้านอื่นๆ (ค่าเฉลี่ย 3.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.99) ข้อเสนอแนะ: ควรปรับกระบวนการของการจัดการศึกษาให้เกิดการบูรณาการความรู้และสร้างประสบการณ์การพยาบาลผู้ใหญ่ให้ชัดเจน พัฒนาการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ การใช้คอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ และอาจารย์ได้รับการอบรมระยะสั้นในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง
This study was to evaluate the quality in management of master of nursing science program in Adult Nursing 2009, Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakiet University by using CIPP Model. There were four aspects of evaluation. First was contextual evaluation, which consisted of objectives of the curriculum, structure and content of curriculum. Second was foundation factors, which consisted of appropriateness of teaching and learning process, content of all courses, resources, place, readiness of personnel, teaching quality of the instructors. Third was the process, which consisted of teaching and learning activities, quality of advisors, measurement and evaluation. Finally, productivity consisted of quality of graduates, in terms of general characteristics, competency, knowledge and abitity in the practices, commanders' satisfaction. Twenty two samples were six currisulum administrators and inshuctors, eight graduates, eight commanders. There were five-scale instrument for the questionnaire. Descriptive statistics and content analysis were used as data analysis. The findings were as following: 1. All graduates were female, which aged were twenty six to forty four year olds. Most commanders were female, which aged were thirty six to sixty five year olds and have working experience from ten to thirty five years. The instructors were also female with forty four year olds to fifty five year olds and having teaching experience in master degree about six to eight years. There were four doctoral degree instructors, four master degree instructors. Three instructs had academic position. 2. For Contextual evaluation, the objectives of the curriculum were congruent with the philosophy of the curriculum. They had a clarity and applicability to do in the practice. The objective number one, five and six were congruent with the philosophy of the curriculum. The objective number two was the least congruent with the philosophy of the curriculum. The structures of curriculum in each course were congruent with all six objectives of the curriculum, which the first objective of the curriculum was congruent most. The second congruence would be the evaluation of curriculum in terms ofstructure. 3. For foundation factors, appropriateness of teaching and learning process, content of all courses, resources, place, readiness of personnel, teaching quatity of the instructors were evaluated in high and the highest levels (average 4.31, S.D. 0.28). Teaching quality of the instructors had the highest level (average 4.67, S.D. 0.03). The appropriateness of teaching and learning process and the measurement and evaluation had also the highest level (average 4.55, S.D. 0.51) 4. For the process, the academic advisors and thesis advisors received the highest level in terms of teaching quality ofthe instructors (average 4.70, S.D. 0.47) 5. For productivity, the graduates evaluated themselves on achieving objectives of the curriculum, beneficial for themselves and their workplace, proud on their curriculum, accepted from their workplace were in high level (average 4.38, S.D. 0.54). the beneficial ofthe curriculum was the highest level (average 4.50, S.D. 0.50). The capability on their practice of graduates was in high level (average 4.29, S.D. 0.68). The primary commanders' satisfaction on the characteristics was in high level (average 4.39, S.D. 0.68), which the commanders had satisfaction on capability of working with others (average 4.54, S.D. 0.60). Comparing graduates from Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakiet University and others, it was found that the graduates from Huachiew Chalermprakiet university were better mostly (average 4.34, S.D. 0.75), which attitude had been higher score than others (average 4.47, S.D. 0.72). Whereas the capability on the research had received the lower score than others (average 3.88, S.D. 0.99). Suggestions: The findings suggested that there should be adjusted the process of teaching and learning in terms of integrating knowledge and experience in adult nursing more clear, developing communication Thai and English, applying computer and information system, and developing instructors to training short courses in related fields.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1357
Appears in Collections:Nursing - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orapin-Sikaow.pdf27.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.