Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1366
Title: การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Authors: วรนุช ปลีหจินดา
สุวรรณา เมธีภัทรางกูล
ยุวธิดา ชิวปรีชา
วรรณา พฤกษ์ประเสริฐ
นฤดี บูรณะจรรยากุล
ธนาวุฒิ ประกอบผล
เปรมรัตน์ พูลสวัสดิ์
สุปัญญา อภิวงศ์โสภณ
พรชัย พันธุ์วิเศษ
จริยา ประณิธาน
Woranuch Pleehachinda
Suwanna Metheepattarakul
Yuwathida Chiwpreechar
Naruedee Buranajanyakul
Tanawut Prakobpol
Premrat Poolsawad
Supanya Aphiwongsophon
Pornchai Phanwised
Jariya Pranitan
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Keywords: การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
วิทยาการคอมพิวเตอร์ -- การศึกษาและการสอน
Computer science -- Study and teaching
วิทยาการคอมพิวเตอร์ -- หลักสูตร
Computer science -- Curricula
Issue Date: 2010
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2549) โดยเนื้อหาครอบคลุม 4 ประเด็นหลัก คือ 1) ด้านบริบทและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 2) ด้านเนื้อหาของหลักสูตรและผลการใช้หลักสูตร 3) ด้านปัจจัยพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร และ 4) ด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 5 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ/หรือที่เกี่ยวข้องที่เป็นบุคคลภายนอก จำนวน 12 คน 2) บัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีการศึกษา 2551 จำนวน 33 คน 3) ผู้ว่าจ้างหรือผู้บังคับบัญชาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีการศึกษา 2551 จำนวน 17 คน 4) อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 8 คน และ 5) นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 รูปแบบ คือ 1) การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยยึดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (Thai Qualification Framework: TQF) เป็นหลักสำคัญ 2) การวิจัยภาคสนาม โดยแจกแบบสอบถามเพื่อเก็บและวิเคราะหำข้อมูลจากนักศึกษาและอาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 3) การวิพากย์หลักสูตร โดยกลุ่มอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์จากบริษัทชั้นนำ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการทางสถิติ โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ได้ผลการประเมิน ดังนี้1. ด้านบริบทและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร พบว่าผลจากการประเมินจากนักศึกษาและอาจารย์สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีความพึงพอใจในระดับมาก ส่วนการวิพากย์หลักสูตรมีความเห็นตรงกันว่าควรปรับเนื้อหาในส่วนของ ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร 5 ด้าน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2552 ได้แก่ ด้านคุณธรรม/จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ2. ด้านเนื้อหาของหลักสูตรและผลการใช้หลักสูตร ผลจากการประเมินด้านเนื้อหาของหลักสูตรและผลการใช้หลักสูตรจากนักศึกษาและอาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ พบว่ามีความพึงพอใจในระดับมาก ส่วนผลการประเมินของบัณฑิตที่มีความคิดเห็นต่อตนเองด้านวิชาการและความสามารถพื้นฐานในการทำงานโดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ผลการประเมินผู้ใช้บัณฑิตที่ความคาดหวังต่อความพึงพอใจที่มีต่อบัณฑิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยรายข้อที่ระดับคะแนนของความคาดหวังสูงกว่าความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิต คือความรู้ความสามารถด้านวิชาการ1) การนำความรู้มาใช้ในการวางแผนการทำงานได้2) นำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานและการแก้ปัญหาระหว่างปฏิบัติงานได้3) มีความเข้าใจในการใช้คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงได้บุคลิกภาพของบัณฑิตความกล้าเพื่อตัดสินใจแก้ปัญหาในงานที่รับผิดชอบความสามารถพื้นฐานในการทำงานของบัณฑิต : ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษ (ฟัง พูด อ่าน เขียน) ส่วนรายข้อที่ระดับคะแนนของความคาดหวังต่ำกว่าความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิต คือ บัณฑิตมีทักษะในการทำงานเมื่อแรกเข้าปฏิบัติงาน ซึ่งจากผลการประเมินพบว่า สิ่งที่บัณฑิตกังวลและคิดว่าตนเองปฏิบัติได้ไม่ดี คือ การมีทักษะในการทำงานเมื่อแรกเข้าปฏิบัติงานสำหรับการวิพากย์หลักสูตร โดยพิจารณาเนื้อหาของรายวิชาในหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2549) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (Thai Qualification Framework: TQF) สาขาคอมพิวเตอร์เป็นหลัก สรุปรายละเอียด ได้ดังนี้หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ให้เลือกรายวิชาจากโครงสร้างหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยมีหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ ประกอบด้วยรายวิชาเดิมในหลักสูตร พ.ศ. 2549 จำนวน 5 รายวิชา และควรเพิ่มรายวิชาใหม่ให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ และสมาคมคอมพิวเตอร์ IEEE และ ACM จำนวน 3 รายวิชา ได้แก่ แคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ โครงสร้างไม่ต่อเนื่อง คณิตศาสตร์ดิสครีต และสถิติและวิธีการเชิงวิจัยสำหรับคอมพิวเตอร์ IEEE และ ACM จำนวน 1 รายวิชา ได้แก่ การโต้ตอบระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ พร้อมกับเพิ่มรายวิชาเกี่ยวกับการฝึกงาานและสหกิจเข้าไปกลุ่มวิชาเอกเลือก ประกอบด้วยรายวิชาเดิมของหลักสูตร พ.ศ. 2549 จำนวน 20 รายวิชา โดยปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ และสมาคมคอมพิวเตอร์ IEEE และ ACM3. ด้านปัจจัยพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ คุณสมบัติของนักศึกษา และสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน ซึ่งผลการประเมินคุณสมบัติของนักศึกษาทั้งที่ประเมินโดยนักศึกษาและอาจารย์ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก และให้ความเห็นสอดคล้องกันว่า การมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยน้อยสุดผลประเมินสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนของนักศึกษาทั้งที่ประเมินโดยนักศึกษาในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ซึ่งรายการที่เกี่ยวข้องกับความสะดวกในการใช้บริการนอกเวลาเรียนและตำราเรียนอยู่ในระดับปานกลาง โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือ มีความสะดวกในการใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบการเรียนในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์นอกเวลาเรียน ส่วนของอาจารย์ผลประเมินโดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับปานกลาง รายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดเป็นเรื่องเกี่ยวกับจำนวนตำรา ความทันสมัยของตำรา ความสะดวกในการยืมคืน ระยะเวลาในการยืมคืน และความเหมาะสมของขนาดห้องบรรยายเมื่อเทียบกับผู้เรียน 4. ด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การบริหารจัดการทั่วไป และกระบวนการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ โดยผลประเมินการบริหารจัดการทั่วไปของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก รายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากัน 2 รายการ คือ 1) การจัดตารางสอบ และ 2) การประชาสัมพันธ์หลักสูตร ส่วนผลประเมินของอาจารย์อยู่ในระดับปานกลาง รายการที่มีระดับคะแนนน้อย คือ วิธีการคัดเลือกนักศึกษาผลการประเมินกระบวนการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ โดยนักศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนผลประเมินของอาจารย์ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยทั้งนักศึกษาและอาจารย์ประเมินให้รายการที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีกิจกรรมส่งเสริมความรู้และทักษะนอกชั้นเรียนผลการประเมินกิจกรรมเสริมประสบการณ์นักศึกษา ทั้งสวนของนักศึกษาและอาจารย์โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือ การส่งเสริมด้านวิชาการ ผลการประเมินระบบดูแลช่วยเหลือนักศึกษา โดยนักศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนผลประเมินของอาจารย์ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งรายการที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การมีทุนการศึกษาของคณะ
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1366
Appears in Collections:Science and Technology - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Science-Evaluation.pdf26.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.