Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1373
Title: รายงานวิจัย คุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ปีการศึกษา 2562
Other Titles: Characteristics of Graduates According to Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF: HED) Faculty of Social Work and Social Welfare, Academic Year 2019
คุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ปีการศึกษา 2562
Authors: ศิริพร เกื้อกูลนุรักษ์
Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม – บัณฑิต -- การจ้างงาน
College graduates -- Employment
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare -- College students -- Employment
การสำรวจทัศนคติของนายจ้าง
Employer attitude surveys
บัณฑิต -- การจ้างงาน
การมีงานทำ
สังคมสงเคราะห์
Social welfare
Issue Date: 2020
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยเรื่อง คุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ปีการศึกษา 2562 มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะการมีงานทำและการศึกษาต่อของบัณฑิตระดับปริญญาตรี คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2561 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างที่มีต่อคุณลักษณะของบัณฑิต ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ โดยทำการสำรวจจากกลุ่มประชากรจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ บัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2561 และเข้ารับปริญญาบัตร จำนวน 81 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 81 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 และผู้บังคับบัญชา/นายจ้างของบัณฑิต จำนวน 66 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 72.72 ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ภาวะการมีงานทำและการศึกษาต่อของบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม กลุ่มตัวอย่างบัณฑิต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 86.42) อายุ 23 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 45.68) มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมากที่สุด (ร้อยละ 30.86) บัณฑิตสามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาของหลักสูตร 4 ปี (ร้อยละ 79.01) บัณฑิตส่วนใหญ่มีงานทำแล้ว (ร้อยละ 81.48) ไม่ได้ศึกษาต่อ (ร้อยละ 98.77) ด้านความต้องการศึกษาต่อ พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ต้องการศึกษาต่อ (ร้อยละ 58.02) บัณฑิตได้งานทำครั้งแรกภายหลังสำเร็จการศึกษา 1-3 เดือน (ร้อยละ 44.44) ด้านการเปลี่ยนงานภายในระยะเวลา 1 ปี พบว่า ส่วนใหญ่ไม่เคยเปลี่ยนงานหลังจากได้งานทำครั้งแรกแล้ว (ร้อยละ 69.14) บัณฑิตทำงานในหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 40.91) เท่ากับ ทำงานในบริษัทเอกชน (ร้อยละ 40.91) รองลงมาคือ ธุรกิจส่วนตัว/ธุรกิจครอบครัว องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) (ร้อยละ 4.55) เมื่อพิจารณาหน่วยงานภาคราชการที่รับบัณฑิตเข้าทำงาน พบว่า บัณฑิตส่วนใหญ่ทำงานในสังกัดสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 37.04) รองลงมาคือ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ร้อยละ 29.63) กระทรวงสาธารณสุข (ร้อยละ 14.81) ที่ตั้งของหน่วยงานอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ร้อยละ (75.76) รองลงมา คือ ภาคตะวันออก (ร้อยละ 9.09) และภาคใต้ (ร้อยละ 7.58) ส่วนใหญ่ทำงานในตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์/ผู้ช่วยนักสังคมสงเคราะห์ (ร้อยละ 18.97) รองลงมาคือ พนักงานช่วยด้านสังคมสงเคราะห์ (ร้อยละ 15.52) ได้รับเงินเดือน 14,001-16,000 บาท (ร้อยละ 51.52) บัณฑิตส่วนใหญ่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับสังคมสงเคราะห์/สวัสดิการสังคม (ร้อยละ 53.45) เมื่อพิจารณาถึงความพึงพอใจกับงานที่ทำ พบว่า บัณฑิตส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมาก (ร้อยละ 51.52) รองลงมาคือ รู้สึกเฉยๆ (ร้อยละ 46.97) บัณฑิตได้นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้มาก (ร้อยละ 46.97) บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะและความสามารถในกาทำงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก (x̄ = 3.87) โดยคุณลักษณะที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าด้านอื่น คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม (x̄=4.16) ส่วนที่ได้รับการประเมินค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (x̄=3.64) บัณฑิตประเมินความสามารถในการทำงานด้านคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมอยู่ในระดับมาก (x̄=4.06) โดยคุณลักษณะย่อยที่อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด คือ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (x̄=4.30) บัณฑิตประเมินคุณลักษณะที่เป็นจุดเด่น/จุดแข็ง ได้แก่ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (ร้อยละ 43.21) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (ร้อยละ 34.57) และด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ (ร้อยละ 17.28) ส่วนคุณลักษณะที่ควรปรับปรุงของบัณฑิต คือ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ร้อยละ 50.62) 2. ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างที่มีต่อคุณลักษณะของบัณฑิต ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างที่ทำการประเมินบัณฑิต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 75.00) ตำแหน่งงานเป็นผู้บริหารระดับกลาง/ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่าย (ร้อยละ 79.92) ทำงานในหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 54.17) และมีระยะเวลาที่ได้ร่วมงานกับบัณฑิตมากกว่า 6-9 เดือน (ร้อยละ 60.42) ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะของบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualification Framework for Higher Education) ในภาพรวมทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (x̄=3.95) โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม (x̄=4.18) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (x̄=4.16) ด้านทักษะการปฏิบัติวิชาชีพ (x̄=4.09) ด้านความรู้ (x̄=4.02) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (x̄=3.65) และด้านทักษะทางปัญญา (x̄=3.61) ผลการพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม พบว่า ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (x̄=4.46) 2) มีความพร้อมในการทำงานได้ทันทีหลังสำเร็จการศึกษา (x̄=4.42) มีจิตอาสา (x̄=4.33) และมีความรับผิดชอบต่อสังคม (x̄=4.21) นอกจากนี้ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างของบัณฑิตประเมินว่า บัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มีคุณลักษณะที่เป็นจุดเด่น/จุดแข็ง คือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (ร้อยละ 50.00) รองลงมา คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม (ร้อยละ 22.92) ส่วนคุณลักษณะที่ควรปรับปรุงมากที่สุด ได้แก่ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ร้อยละ 27.08)
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1373
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriporn-2562.pdf31.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.