Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1378
Title: การประเมินรูปแบบบริการที่จัดให้ผู้สูงอายุในชุมชน : เน้นการให้บริการของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
Authors: ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
Older people -- Care
ผู้สูงอายุ -- การดูแล
การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ
Old age assistance
Issue Date: 1999
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยเรื่อง การประเมินรูปแบบบริการที่จัดให้ผู้สูงอายุในชุมชน : เน้นการให้บริการของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพสังคมและบริการสังคมที่มีอยู่ในชุมชนที่ผู้สูงอายุได้รับ โดยเน้นการให้บริการของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ทั้งด้านปริมาณของบริการและคุณภาพ การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ปัญหา และความต้องการ รวมไปถึงความสัมพันธ์ของความเข้มแข็งของชุมชนกับคุณภาพการให้บริการของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ความพึงพอใจในชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผู้สูงอายุ และเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์พูดคุยเจาะลึกและการสังเกตสภาพความเป็นอยู่ ความใกล้ชิด การดูแลจากลูกหลาน และลักษณะของชุมชนและสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูล มีทั้งผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน ผู้แทนของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ชาวบ้านทั่วไปทั้งผู้ใหญ่และหนุ่มสาว จาก 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ตาก หนองบัวลำภู นครราชสีม พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ตราด นครศรีธรรมราช และสตูล ผลการวิจัยสรุปเป็นประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้ 1. ผลการสำรวจและประเมินบริการสวัสดิการที่จัดในชุมชน 1.1 บริการสวัสดิการสังคมที่จัดในชุมชนที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ คือ บริการด้านสาธารณสุข ทั้งสถานพยาบาล โรงพยาบาล หรือการแจกบัตรผู้สูงอายุ ที่ผู้สูงอายุได้ใช้บริการก่อนข้างมาก พิจารณาทั้งจากสัดส่วนการได้รับบริการ ทั้งบริการสังคมทั่วไปและการได้รับปัจจัย 4 1.2 การได้รับบริการจากผู้นำชุมชนมีสัดส่วนค่อนข้างสูง แต่เนื้อหาของบริการยังเป็นการช่วยเหลือเฉพาะหน้า เช่น แจกผ้าห่ม เสื้อผ้า ข้าวสาร ฯลฯ 1.3 บริการจากกลุ่มสังคมในชุมชนที่ได้รับความนิยม คือ ฌาปนกิจสงเคราะห์ โดยเฉพาะแบบไม่จดทะเบียน ซึ่งเป็นการรวมตัวของชาวชุมชนตามธรรมชาติ เป็นสวัสดิการที่สร้างความมั่นใจและอบอุ่นใจให้แก่ชาวบ้านได้เป็นอย่างดี 2. ผลการประเมินการให้บริการของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ซึ่งโดยวัตถุประสงค์ของการตั้งศูนย์ คือ หน่วยงานที่จะช่วยประชาชนให้พ้นทุกข์ได้ไม่มากก็น้อย หรือไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ยังไม่มีการดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว 3. ผลการศึกษาความเข้มแข็งของชุมชน และคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจของผู้สูงอายุ ชุมชนที่เข้มแข็ง ชาวบ้านมีความร่วมมือกันให้การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีระดับหนึ่ง การมีครอบครัวที่เข้มแข็ง ลูกหลานยังอาศัยอยู่ร่วมกัน ดูแลผู้สูงอายุได้ดีที่สุด และหากมีองค์กรที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ โดยตรงต่อสุขทุกข์ของประชาชน ทำหน้าที่ตนเองอย่างเต็มที่ เข้าถึงปัญหา รู้วิธีการช่วยเหลือ ผู้สูงอายุกลุ่มด้อยโอกาสจะมีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้มากพอสมควร จากผลการวิจัยทั้งหมด มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ข้อเสนอแนะระดับนโยบาย 1.1 การกำหนดนโยบายสังคมที่จะส่งผลไปถึงการจัดการสังคมระดับรากหญ้า ควรเป็นนโยบายที่ผ่านการกลั่นกรองมาอย่างรอบคอบ มีการพิจารณาถึงผลดี ผลเสีย ผลประโยชน์ และผลกระทบอย่างถี่ถ้วน จึงประกาศเป็นนโยบายที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ 1.2 นโยบายสังคมที่กำหนดควรเป็นแนวทางการปฏิบัติกว้างๆ เพื่อให้แต่ละพื้นที่สรรหารูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่ของตนตามลักษณะของวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของชาวชุมชน การกำหนดรูปแบบตายตัวแบบเดียวให้ปฏิบัติหรือใช้กันทั่วประเทศ ทำให้ผลที่เกิดขึ้นเป็นเพียงรูปแบบ แต่ไม่มีการดำเนินงาน เนื่องจากความพร้อมของแต่ละชุมชนไม่เท่าเทียมกัน หรือมีปัจจัยที่เอื้อให้เกิดความสำเร็จที่ต่างกัน 1.3 ทบทวนนโยบายการจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการทำงานของศูนย์ฯ ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อประโยชน์ในการกำหนดนโยบายสังคมต่อไปในอนาคต 2. ข้อเสนอแนะระดับการปฏิบัติ 2.1 ข้อเสนอแนะสำหรับการจัดการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ควรหาทิศทางการทำงานที่ชัดเจนให้แก่ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ปรับการคัดเลือกคณะกรรมการที่จะบริหารศูนย์ให้ความรู้ความเข้าใจ อบรม สัมมนา ให้เพียงพอที่ผู้รับผิดชอบจะสามารถทำงานสงเคราะห์ราษฎรได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ 2.2 ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานราชการด้านสังคมสงเคราะห์ในพื้นที่ เช่น ประชาสงเคราะห์จังหวัดและประชาสงเคราะห์อำเภอ นักสังคมสงเคราะห์ประจำจังหวัดและอำเภอ ควรได้รับการส่งเสริมให้ได้ทำงานตามหน้าที่อย่างเต็มที่ ให้มีกำลังใจในการทำงาน ให้ได้รับสวัสดิการที่ดี ได้รับโอกาสในการพัฒนาตนเอง และได้รับการพิจารณาความดีความชอบอย่างเหมาะสม กลุ่มบุคคลเพียงไม่กี่คนในแต่ละจังหวัด ก็จะสามารถไปยกระดับคุณภาพชีวิตของคนอื่นๆ ในจังหวัดนั้นๆ ได้อีกมากมาย
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1378
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tunya-2542.pdf37.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.