Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1381
Title: เนื้อหาและอนุภาคในนิทานพื้นบ้านชนเผ่าว้า มณฑลยูนนานสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่แปลเป็นภาษาไทย
Other Titles: Contents and motifs of folktale translated into Thai of the Wa Tribe in Yunnan province people's republic of China
Authors: จันทร์สุดา,ไชยประเสริฐ
Lu, Yongping
Keywords: นิทานพื้นเมือง
Folklore
ว้า
Wa (Asian people)
นิทานปรัมปรา
Legends
Mythology
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิเคราะห์เนื้อหาและอนุภาคในนิทานพื้นบ้านชนเผ่าว้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาและอนุภาคที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านชนเผ่าว้า โดยวิเคราะห์ตัวบทนิทานพื้นบ้านชนเผ่าว้าจากหนังสือรวมนิทานพื้นบ้านชนเผ่าว้าซึ่งรวบรวมโดยกองบรรณาธิการวรรณกรรมพื้นบ้านมณฑลยูนนาน จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ชนชาติยูนนาน ในปี พ.ศ. 2533 จำนวน 143 เรื่อง โดยผู้วิจัยเป็นผู้แปลนิทานจากภาษาจีนเป็นภาษาไทยผลการวิจัยพบว่า นิทานพื้นบ้านชนเผ่าว้าสามารถแบ่งเนื้อหาได้เป็น 9 ประเภท ได้แก่ 1) นิทานอธิบายเหตุ มีเนื้อหาอธิบายที่มาของสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติและลักษณะของสัตว์ พืช และที่มาของเทศกาล ประเพณี 2) นิทานมุขตลก มีเนื้อหาเกี่ยวกับความฉลาด โง่ เกียจคร้านและคนพิการ 3) นิทานสัตว์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเสือและสัตว์ทั่วไป 4) นิทานมหัศจรรย์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเทพเจ้า ผู้มีอิทธิฤทธิ์ มังกร และนางฟ้า 5) นิทานปรัมปรา มีเนื้อหาเกี่ยวกับการอธิบายกำเนิดโลกและมนุษย์ และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ 6) นิทานประจำถิ่น มีเนื้อหาเกี่ยวกับที่มาของสถานที่ สิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นและบุคคลในประวัติศาสตร์ 7) นิทานศาสนา มีเนื้อหาเกี่ยวกับเทพเจ้าและการเผยแพร่ศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ 8) นิทานชีวิต มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักและชีวิตครอบครัว 9) นิทานคติ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการได้ผลกรรมจากการกระทำต่าง ๆ ของตัวละครด้านอนุภาคที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านชนเผ่าว้าแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่ 1) อนุภาคตัวละคร ประกอบด้วยอนุภาคตัวละครเป็นมนุษย์ธรรมดา อนุภาคตัวละครเป็นผู้วิเศษ และอนุภาคตัวละครเป็นสัตว์ 2) อนุภาควัตถุสิ่งของ ประกอบด้วยอนุภาควัตถุสิ่งของที่ได้มาจากมนุษย์ธรรมดา ได้มาจากผู้วิเศษ ได้มาจากสัตว์ และได้มาจากธรรมชาติ และ 3) อนุภาคเหตุการณ์ มีหลายเหตุการณ์ ได้แก่ อนุภาคการสร้างโลก อนุภาคการต่อสู้ อนุภาคการแปลงร่าง อนุภาคที่เกี่ยวกับครอบครัว อนุภาคการทดสอบ อนุภาคการลงโทษ และอนุภาคการตัดศีรษะ เนื้อหาและอนุภาคดังกล่าวล้วนทำให้เห็นลักษณะสังคมเผ่าว้าในด้านวิถีชีวิตที่อยู่ใกล้ธรรมชาติ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่ราบบนภูเขาและหุบเขา กลุ่มชาวว้าเป็นผู้ยึดมั่นในคุณธรรม โดยเฉพาะความกล้าหาญ ความแข็งแกร่ง ความกตัญญู ความเสียสละ การทำดี ยกย่องความฉลาดมีไหวพริบและความรักที่แท้จริงข้ามชาติข้ามสายพันธุ์ นอกจากนี้ นิทานยังสะท้อนให้เห็นปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวระหว่างแม่เลี้ยงกับลูกเลี้ยงและข้อห้ามในการแต่งงานระหว่างผู้มีนามสกุลเดียวกันและการล่วงประเวณี ในด้านความเชื่อ ชาวว้าเชื่อในเทพเจ้า มังกร นางฟ้า ผู้มีอิทธิฤทธิ์ การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว การนับถือวีรบุรุษและสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ การดูดวงกระดูกไก่ การทำนาย และเชื่อเรื่องพลังลึกลับที่อยู่ในธรรมชาติสามารถสร้างคุณประโยชน์แก่ชีวิตได้ และในด้านประเพณี ชาวว้ามีประเพณีการต้อนรับแขก ประเพณีการบูชากลองไม้ เทศกาลไฟใหม่ เทศกาลข้าวใหม่ และมีภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ผลผลิตพิเศษในท้องถิ่น เช่น เหล้าหมัก ส่าเหล้า
This study of folktales of the Wa Tribe aims to analyze contents and motifs shown in Anthology of Wa Folktales compiled by the folktales editorial office of Yunnan Province and published by Yunnan Tribe Publishing House in 1990 A.D. The 143 Chinese folktales studied were translated into Thai by the researcher. The study finds that contents of the Wa folktales studied could be sorted into nine categories, including 1) Pourquoi or “why” Tales, explaining how things existed in the nature and characteristics of animals; plants; and origins of festival and culture. 2) Humorous Tales, telling about the clever; the stupid; the lazy; and the disabled. 3) Beast Tales, relating to tigers and other animals. 4) Magic Tales, concerning gods; sorcerers; dragons; fairies. 5) Myths, explaining creations of the earth; human being; natural phenomena. 6) Legends, telling the history of places; things; and persons. 7) Religious Tales, about gods; the spread of Buddhism and Christianity. 8) Realistic Tales, concerning loves and family lives. 9) Moral Tales, relating to karma of and its subsequences on the characters. For motifs, three types are observed, including 1) Motif of characters, showing ordinary humans; magicians; and beasts. 2) Motif of objects, from different sources of humans; magicians; animals; and the nature. 3) Motif of events, relating to the creation; fighting; transformation; family; testing; punishment; and beheading.All contents and motifs reflect the nature-related way of life of the Wa people who mainly reside on the high plain and in the valley. They are moralists, honoring bravery; fortitude; gratitude; sacrifice; good conduct; praising intelligence; and true borderless love. Besides, the studied folktales also show family conflicts, between stepmothers and stepchildren; marriage and sexual taboos, between family members. Relating to beliefs of the Wa, they are faithful in gods; dragons; fairies; magicians; rules of good and bad conducts; heroes; sacred animals; fortune telling by chicken bones; prophecy; and mysterious power in the nature, beneficial for human lives. For culture, many traditions are noted including custom of welcoming guests; drum worshipping; new fire festival; new rice festival; and local wisdom of liqueur fermentation.
Description: วิทยานิพนธ์(ศศ.ม.)(การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉลียวเฉลิมพระเกียรติ, 2566
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1381
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lu-Yongping.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.