Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1399
Title: การศึกษาสภาพการจ้างงานของแรงงานในอุตสาหกรรมผลิตรองเท้า
Authors: ภุชงค์ เสนานุช
บังอร ศิริสัญลักษณ์
Puchong Senanuch
Bangon Sirisunyaluck
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Mae Fah Luang University. Faculty of Liberal Arts
Keywords: แรงงานสัมพันธ์
Labour relations
การจ้างงาน -- ไทย
Employment -- Thailand
อุตสาหกรรมรองเท้า
Shoe industry
Issue Date: 2000
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: รายงานวิจัยเรื่อง "การศึกษาสภาพการจ้างแรงงานของแรงงานในอุตสาหกรรมผลิตรองเท้า" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของการจ้างงาน และสวัสดิการตลอดจนปัญหาที่คนงานในอุตสาหกรรมผลิตรองเท้าได้รับ นอกจากนี้ การวิจัยครั้งนี้ยังครอบคลุมถึงความคิดเห็นที่คนงานที่ต่อสถานประกอบการอีกด้วย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยได้ทำการศึกษาคนงานในอุตสาหกรรมรองเท้าในเครือบริษัทวงศ์ไพทูรย์ฟุตแวร์ จำกัดและเครือบริษัทบางกอกรับเบอร์ จำกัด ด้วยการสัมภาษณ์ คนงานตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 231 คน โดยเป็นคนงานจากโรงงานเครือบริษัทวงศ์ไพทูรย์ฟุตแวร์ จำกัด 103 คน เครือบริษัทบางกอกรับเบอร์ จำกัด 128 คน ผลการวิจัยปรากฎว่าโรงงานทั้งสองเครือบริษัททำสัญญาจ้างคนงานทั่วไปในลักษณะเป็นรายวัน โดยคนงานจะได้รับค่าจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด คนงานในเครือบริษัทวงศ์ไพทูรย์ฟุตแวร์ จะได้รับค่าล่วงเวลาและเบี้ยขยันนอกเหนือจากค่าจ้าง ส่วนคนงานจากเครือบางกอกรับเบอร์จำกัด จะได้ค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายกำหนดเช่นกัน แต่จะได้ค่าเป้าหมายเพิ่มหากคนงานสามารถทำงานได้ตามเป้าหมายที่โรงงานมอบหายให้ทำ คนงานจากทั้งสองเครือบริษัทมีวันหยุดประจำสัปดาห์ คือว้นอาทิตย์ และมีวันหยุดตามประเพณีตามปฏิทิน และสามารถลาป่วยได้ตามใบรับรองแพทย์ นอกจากนี้คนงานที่ผ่านการทดลองงานแล้วสามารถลาพักผ่อนได้ คนงานหญิงสามารถลาคลอดได้ไม่เกิน 90 วัน แต่จะได้รับเงินเดือนเพียง 45-60 วันเท่านั้น ส่วนการขึ้นค่าจ้างบริษัทจะมีการปรับตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น สวัสดิการด้านเศรษฐกิจเครือบริษัทวงศ์ไพทูรย์ฟุตแวร์ จำกัด มีบริการช่วยเหลือลูกจ้างที่ประสบอุบัติเหตุหรืออันตรายจากการทำงาน เงินเพิ่มเบี้ยขยัน และการขายอาหารราคาถูก ส่วนโรงงานในเครือบริษัทบางกอกรับเบอร์ จำกัด มีบริการเช่นเดียวกันและเคยมีการจ่ายเงินค่าโบนัส และการแจกชุดทำงานให้คนงานเพิ่มเข้ามา สวัสดิการด้านสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย โรงงานทั้งสองเครือบริษัทจัดให้มีบริการพื้นฐาน เช่น การระบายอากาศ น้ำและสิ่งโสโครก การจัดให้มีห้องน้ำห้องส้วม บริการน้ำดื่ม เครื่องมือปฐมพยาบาล พยาบาล และแพทย์ ตลอดจนรถรับส่งคนเจ็บ ส่วนอุปกรณ์ความปลอดภัยก็เช่นเดียวกัน คนงานทั้งสองเครือบริษัทต่างเห็นว่าการทำงานมีผลต่อสุขภาพร่างกาย และคนงานมีอาการผิดปกติคล้ายคลึงกัน คือ อาการปวดเอว ชาตามตัว ปวดศีรษะเรื้อรัง หูอื้อ และปวดขา ปวดหลัง สำหรับการส่งเสริมสุขภาพคนงานและการรณรงค์ให้คนงานตระหนักถึงความปลอดภัย ทั้งสองเครือบริษัทจัดให้มีการให้ความรู้คำแนะนำ และการอบรม ตลอดจนมีการติดประกาศ และจัดนิทรรศการเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน โรงงานในเครือวงศ์ไพทูรย์ฟุตแวร์ จำกัด เท่านั้น ที่มีการจัดที่พักอาศัยไว้ให้คนงานเช่าอยู่ ส่วนรถรับส่งมีในบางโรงงานในทั้งสองเครือบริษัท ส่วนบริการนันทนาการนั้น ทั้งสองเครือบริษัทยังขาดแคลนอยู่มาก โดยเฉพาะสถานที่พักผ่อนระหว่างการหยุดพัก อุปกรณ์กีฬา สถานที่เล่นกีฬาและสโมสรลูกจ้าง ในทั้งสองเครือบริษัทไม่มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานแต่อย่างใด ซึ่งคนงานกว่าครึ่งเห็นว่าสหภาพแรงงานของลูกจ้างมีความจำเป็นอย่างมาก คนงานมีความต้องการให้จัดตั้งและต้องการเข้าเป็นสมาชิกเหมือนกัน คนงานส่วนใหญ่ทั้งสองเครือบริษัทรู้สึกมีความมั่นคงในการทำงาน ในกรณีคนงานรู้สึกไม่มั่นคงนั้น เป็นเพราะการทำงานหนักและค่าจ้างต่ำ คนงานส่วนใหญ่เห็นว่าโรงงานให้ความเป็นธรรมในทุกด้าน และสาเหตุการเลิกจ้างที่คนงานในสองบริษัทพบเห็นบ่อย คือ การลงโทษคนกระทำความผิด คนงานส่วนใหญ่ของทั้งสองเครือบริษัทไม่รู้สึกว่านายจ้างเอารัดเอาเปรียบ แต่จะรู้สึกไม่พอใจโรงงานในเรื่องค่าจ้าง ปริมาณงาน และสภาพการทำงาน โดยคนงานต้องการให้โรงงานปรับอัตราค่าจ้างเพิ่มขึ้น ปรับลดเป้าหมายหรือปริมาณงานให้มีความเหมาะสมและปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานให้ดีขึ้น จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าทั้งสองเครือบริษัทมีความคล้ายคลึงกัน ในลักษณะการจ้างงานสวัสดิการ ตลอดจนปัญหาความต้องการของคนงาน รวมทั้งความคิดเห็นของคนงานต่อสถานประกอบการ ผู้วิจัยได้เสนอข้อความพิจารณาเกี่ยวกับการปรับอัตราค่าจ้างตามอายุการทำงาน ตลอดจนระบบการตั้งเป้าหมาย ทางด้านสวัสดิการต่างๆ ก็ควรมีเพิ่มมากขึ้น เกี่ยวกับด้านสุขภาพและความปลอดภัยควรให้ความรู้ และเพิ่มมาตรการในการให้คนงานให้ความร่วมมือช่วยกันในการดูแลสุขภาพและความปลอดภัย การจัดตั้งสหภาพแรงงานควรได้รับการส่งเสริมเพราะคนงานมีความต้องการ และเนื่องจากคนงานส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในสิทธิและหน้าที่ ตลอดจนประโยชน์ที่พึงจะได้รับตามกฎหมายแรงงาน จึงควรมีการเพิ่มความรู้ให้กับคนงานในประเด็นดังกล่าว ผู้วิจัยเห็นว่า ควรมีการทำวิจัยต่อเนื่องในรูปของการวิจัยเชิงคุณภาพ หรือการทำวิจัยเช่นนี้ในอุตสาหกรรมชนิดอื่น นอกจากนี้ควรมีการศึกษาถึงความรู้ในสิทธิหน้าที่ของคนงานเพื่อเพิ่มเติมส่วนที่ยังขาดอยู่ ตลอดจนการศึกษาการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติโดยบริษัท (Corporate Codes of Conduct) ของสินค้าตามชนิดของเครื่องหมายการค้าต่างๆ ด้วย
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1399
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Puchong.pdf4.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.