Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1403
Title: การศึกษาความยืดหยุ่นของเอ็นรอบข้อและความตึงของกล้ามเนื้อที่มีส่วนสัมพันธ์กับการบาดเจ็บของขาในนักกีฬาเซปักตะกร้อทีมชาติไทย
Other Titles: The Study of the Correlation of Ligamentous Laxity and Lower Extremity Muscle Tightnees to Lower Extremity Injuries in Thai Sepak Takraw Athletes
Authors: พรรัชนี วีระพงศ์
ลลิดา โรจนธรรมณี
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะกายภาพบำบัด
Keywords: นักกีฬาเซปักตะกร้อ
Sepak Takraw players
ความยืดหยุ่น
Elasticity
ขา -- บาดแผลและบาดเจ็บ
Leg -- Wounds and injuries
กล้ามเนื้อ
Muscles
เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ
Ligaments -- Wounds and injuries
Issue Date: 1999
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความยืดหยุ่นของเอ็นรอบข้อและความตึงของกล้ามเนื้อกับการบาดเจ็บของขาในนักกีฬา และศึกษาถึงการบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมของนักกีฬา โดยศึกษาในนักกีฬาเซปักตะกร้อทีมชาติไทย เป็นหญิง จำนวน 25 คน จำนวน 16 คน นักกีฬาทั้งหมดอยู่ในชุดเตรียมเอเซียนเกมส์ ซึ่งได้ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าสู่โปรแกรมการเก็บตัวฝึกซ้อมในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน และมีการคัดตัวออกเป็นระยะ เพื่อให้เหลือนักกีฬาตัวจริงเพื่อลงแข่งขันกีฬาเอเซียนเกมส์ครั้งที่ 13 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2541 ในแต่ละเดือนได้ทำการตรวจวัดความยืดหยุ่นของเอ็นรอบข้อ โดยใช้ Beighton ligamentous score และตรวจวัดความตึงตังของกล้ามเนื้อขา 5 มัดได้แก่ iliopsoas, iliotibial band, hamstrings, rectus femoris และ gastrosoleus รวมไปถึงการตรวจเพื่อประเมินและบันทึกอาการบาดเจ็บ ให้การรักษาทางกายภาพบำบัดและให้คำแนะนำในการดูแลการบาดเจ็บ ผลการทดลองสรุปได้ว่าค่าเฉลี่ยของความยืดหยุ่นของเอ็นรอบข้อของนักกีฬาหญิงในช่วงเดือนมิถุนายน เดือนกรกฎาคม เดือนสิงหาคม และเดือนตุลาคม มีค่า 3.89 +- 0.42, 3.22 +- 0.62, 4.0+- 0.55 และ 4.89 +- 0.42 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยของความยืดหยุ่นของเอ็นรอบข้อของนักกีฬาชายในช่วงเดือนสิงหาคม เดือนกันยายน และเดือนตุลาคม มีค่า 3.11 +- 0.54, 3.00 +- 0.53, 2.33 +- 0.69 ตามลำดับ ค่าความตึงของกล้ามเนื้อของนักกีฬาหญิงในช่วงเดือนมิถุนายน เดือนกรกฎาคม เดือนสิงหาคม และเดือนตุลาคม มีค่า 1.78 +- 0.62, 1.22 +- 0.32, 1.78 +- 0.62 และ 0.89 +- 0.42 ตามลำดับ ค่าความตึงของกล้ามเนื้อของนักกีฬาชายในช่วงสิงหาคม เดือนกันยายน และเดือนตุลาคม มีค่า 2.00 +-0.62, 0.78+- 0.36, 0.11 +-0.11 ตามลำดับ ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างความยืดหยุ่นของเอ็นรอบข้อและความถึงของกล้ามเนื้อทั้งของนักกีฬาหยิงและชายในทุกเดือนที่เก็บข้อมูล การบาดเจ็บในนักกีฬาหญิงพบมากที่ข้อเข่า (31.58%-42.86%) ในขณะที่การบาดเจ็บในนักกีฬาชายพบมากที่สะโพก (16.67%-30.00%) และหลัง (8.33%-30.00%) จากผลการทดลองสรุปได้ว่า โปรแกรมการฝึกช่วงการเก็บตัวฝึกซ้อมของนักกีฬาเซปักตะกร้อทีมชาติไทยสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นของเอ็นรอบข้อได้ในนักกีฬาหญิงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และสามารถลดความตึงของกล้ามเนื้อในนักกีฬาชายได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราการบาดเจ็บของนักกีฬาทั้งหญิงและชายลดลงทุกครั้งที่เก็บข้อมูล ซึ่งอาจเป็นผลจากความยืนหยุ่นของเอ็นรอบข้อที่เพิ่มขึ้นหรือความตึงของกล้ามเนื้อลดลง ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถหาความสัมพันธ์ได้อย่างชัดเจน หรืออาจเกิดจากการที่นักกีฬาได้รับคำแนะนำจนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาตนเองเบื้องต้นอย่างถูกวิธี หรือเกิดจากนักกีฬามีความชำนาญในการเล่นมากขึ้นจนไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ
The purpose of this study was 1) to study the correlation of ligamentous laxity and lower extremity muscle tightness to lower extremity injuries and 2) to evaluate the incidence and distribution of musculoskeletal injuries in Thai national athletes. Twenty-five female and sixteen male Sepak Takraw players, the pre-Asian game teams, were selected into the training program between June to November, 1998. All of them will be selected again in order to get in to the 13th Asian Games. The players were tested monthly for ligamentous laxity with the Beighton scale and for muscle tightness of the iliopsoas, iliotibial band, hamstrings, rectus femoris, and gastrosoleus. The injuries incurred during practice were examined, recorded and treated by physical therapist. The mean of the ligamentous laxity score of female player was 3.89 +- 0.42, 3.22 +- 0.62, 4.0+- 0.55 and 4.89 +- 0.42, in June, July, August and October, respectively. The mean of the ligamentous laxity score of male players was 3.11 +- 0.54, 3.00 +- 0.53, 2.33 +- 0.69 in August, September and October, respectively. The mean of the muscle tightness score of female players was 1.78 +- 0.62, 1.22 +- 0.32, 1.78 +- 0.62 and 0.89 +- 0.42 in June, July, August and October, respectively. The mean of the muscle tightness score of male players was 2.00 +-0.62, 0.78+- 0.36 and 0.11 +-0.11 in August, September and October, respectively. The correlation of ligamentous laxity and lower extremities tightness was not significant. The most common sites of injury of the female players were the knee (31.50%-42.86%), whereas the male players were the hip (16.67%-30.00%) and back (8.33%-30.00%). The results of this study show that the training program can increase the ligamentous laxity score in female players and decrease muscle tightness score in male players significantly (p<0.05). Interestingly, we found that the rate of injuries was decrease every exam. It may be resulted from the increasing of ligamentous laxity score or the decreasing of the muscle tightness score, even though the relation was still unclear. As well as, the athlete's improving of basic knowledge of self-care after injury or the improving of the technical skill were also the factor of lower risk for musculoskeletal injuries.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1403
Appears in Collections:Physical Therapy - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf320.86 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontent.pdf123.79 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf199.57 kBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf498.44 kBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf128 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf744.6 kBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf396.43 kBAdobe PDFView/Open
Reference.pdf621.32 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.